All posts by นางปรีดารัตน์ อินทสุวรรณ

สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น : ตำนานอันลือเลื่อง

หรับผู้คนวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยใสใกล้เกษียณในแวดวงของนักอ่าน นับแต่ช่วง ปี พ.ศ. 2475 – ปัจจุบัน ไม่มีใครที่ไม่รู้จักเวิ้งนครเขษมซึ่งเป็นแหล่งรวมของสำนักพิมพ์ต่างๆ โดยแต่ละสำนักพิมพ์มีหน้าร้านเพื่อจัดจำหน่ายหนังสือที่ตนเองดำเนินการจัดพิมพ์ เพราะในสมัยนั้นยังไมมีศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้าทีมีร้านหนังสือตั้งอย่างแพร่หลายเหมือนปัจจุบัน และร้านหนังสือที่มีชื่อเสียงหรือเป็นบรรษัทข้ามชาติที่เข้ามาในประเทศไทยในยุคนี้ ร้านหนังสือหรือสำนักพิมพ์ที่ว่า เช่น อมรินทร์ มติชน เอเชียบุ๊คส์ Kinokuniya

ดังนั้นจึงขอกล่าวถึงสำนักพิมพ์ที่เป็นตำนานและชื่นชอบเป็นการส่วนตัว ได้แก่ สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น ที่มีหนังสือแพร่หลายในท้องตลาดและมีแฟน (หนังสือ) ประจำรอคอยอ่านอย่างตั้งใจ Continue reading สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น : ตำนานอันลือเลื่อง

อนุสรณ์งานศพ : หนังสือร่วมสมัย

จากการสนทนาวิชาการหนังสือเก่าชาวสยาม ครั้งที่ 5 เรื่อง “เสน่ห์หนังสืออนุสรณ์ผู้วายชนม์” ณ วันที่ 27 กันยายน 2556 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) มีผู้เข้าร่วมเสนทนาหลายท่าน ช่วงการสนทนาเรื่อง “หนังสืออนุสรณ์ผู้วายชนม์ : ด้วยรักและหลงใหล” คุณโกศล ช่อผกา เจ้าของร้านหนังสือเก่าสยามบรรณาคม หนึ่งในผู้เข้าร่วมกล่าวว่า “หนังสืออนุสรณ์งานศพเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย” เพราะไม่มีประเทศไหนในโลกพิมพ์อย่างเป็นทางการ และมีลักษณะพิเศษเฉพาะ หลากหลายประเภท เช่น หนังสือหายาก (Rare books) หนังสือโบราณ หนังสือธรรมะ หนังสือสุขภาพ ซึ่งหนังสือเหล่านี้มีคุณค่าในตัวเองทั้งสิ้น

ในบทความนี้ขอใช้คำว่าร่วมสมัย หมายถึง หนังอนุสรณ์งานศพของบุคคลสำคัญต่าง ๆที่ร่วมยุคในปัจจุบัน ที่มีการบอกเล่า บรรยาย บันทึกเหตุการณ์ สถานการณ์ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ทางการเมือง หรือมีความสำคัญในช่วงเวลาใด ช่วงเวลาหนึ่ง เช่น บุคคลทื่เกี่ยวข้อง กับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 หรือ 6 ตุลาคม 2519 เป็นต้น

หนังสืออนุสรณ์งานศพเหล่านี้ได้ทำการขอจากเจ้าภาพ (หรือผู้รับผิดชอบ) โดยจดหมายราชการ เช่น พลตำรวจเอก วิฑูรย์ ยะสวัสดิ์ เจ้าของรหัสลับนาม “เทพ 333” ที่ท่านเล่าถึงเหตุการณ์ที่ท่านเข้าร่วมรบในประเทศเพื่อนบ้านยุคสงครามเวียตนาม และหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก กมล ทัพพะรังสี ท่านเป็นเลขานุการของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น ซึ่งท่านดำเนินนโยบายต่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอินโดจีน เป็นการเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า Continue reading อนุสรณ์งานศพ : หนังสือร่วมสมัย

ลี กวน ยู : พิธีอำลาอาลัย

IMG_9467
ภาพด้านหน้าพิพิธภัณฑ์สิงคโปร์

หลังพิธีฌาปนกิจอย่างเป็นทางการในวันที่ 29 มีนาคม 2558 ของ ลี กวน ยู หรือที่คนพื้นเมืองสิงคโปร์เรียกขานกันว่า แฮรี ลี

อดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ ได้มีพิธีไว้อาลัยแก่ท่านเป็นนิทรรศการชั่วคราวในชื่อ In memoriam : Lee Kuan Yew ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสิงคโปร์ ( National Museum of Singapore ) ระหว่างวันที่ 25 มีนาคม 2558 – 26 เมษายน 2558 และมีหนังสือที่ระลึก เป็น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษามาเลย์ ภาษาทมิฬ ซึ่งเป็นภาษาราชการของประเทศสิงคโปร์ เป็นที่ระลึกสำหรับผู้ร่วมงาน Continue reading ลี กวน ยู : พิธีอำลาอาลัย

เล่มหนึ่งก็ซึ้งใจ

การขอหนังสือบริจาคเป็นงานอีกส่วนหนึ่งของห้องสมุดโดยทั่วไป ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งในการจัดหาหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ เข้ามาในห้องสมุด นอกจากการจัดซื้อ

หนังสือที่ขอรับบริจาคเป็นหนังสือที่มีลักษณะเฉพาะ ไมมีการซื้อ-ขาย และมีคุณค่าในตัวเอง สำหรับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ในส่วนที่ทำการขอรับบริจาค แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

1. สิ่งพิมพ์ ของกระทรวงทั้งหมด 20 กระทรวง รวมถึง มูลนิธิ สมาคม องค์กรเอกชน ต่าง ๆ สิ่งพิมพ์ที่ทำการขอได้แก่ สิ่งพิมพ์รัฐบาล งานวิจัย
2. ที่ระลึกครบรอบปีของหน่วยงาน และสิ่งพิมพ์ในวาระพิเศษต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือที่ระลึกในอนุสรณ์งานศพ หนังสือที่ระลึกส่วนบุคคล เช่น ครบรอบ 80 ปี 100 ปี ของบุคคลที่มีคณูปการแก่ประเทศชาติ เช่น 100 ปี ดร. ถนัด คอมันตร์ ในชื่อที่ว่า ”แต่พ่อที่รักของลูก” และหนังสือวาระพิเศษของหน่วยงาน เช่น เพาะช่าง 100 ปี

ทักษะต่าง ๆ ทีใช้ในการขอรับบริจาคหนังสือ Continue reading เล่มหนึ่งก็ซึ้งใจ

พระราชวังฟงแตนโบล

ฉกพระมหาพิชัยมงกุฎจำลอง จากพิพิธภัณฑ์ในฝรั่งเศส

ภาพจาก  คมชัดลึก

เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีข่าว จาก นสพ คม-ชัด-ลึก วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2558 ภายใต้หัวข้อข่าว “ ใบสั่ง!จารกรรม ‘พระมหามงกุฎ’ร.4 “ กล่าวว่า “วีระ โรจน์พจนรัตน์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า จากข้อมูลวันที่ 2 มีนาคม รัฐบาลฝรั่งเศสรายงานมาว่า โบราณวัตถุจำนวน 15 ชิ้นถูกขโมยไปจากพระราชวังฟงแตนโบล โดย “พระมหามงกุฎ” เป็น 1 ใน 15 ชิ้นที่หายไป จากนั้นผ่านไปเพียง 2 วัน เจ้าหน้าที่ดูแลห้อง “พิพิธภัณฑ์จีน” ซึ่งใช้เก็บโบราณวัตถุล้ำค่าข้างต้น แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมว่า แก๊งโจรไม่ได้ ฉกพระมหามงกุฎเท่านั้น แต่ยังเอาเครื่องมงคลราชบรรณาการอีกจำนวน 5 ชิ้นด้วย ได้แก่ พระแสงดาบญี่ปุ่น, พระคนโท, พาน และพระแสงกรรไกร 2 ชิ้น Continue reading พระราชวังฟงแตนโบล