กาลานุกรม การก่อสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

 

ช่วงเวลา เหตุการณ์
มิ.ย. ๒๕๕๒ เริ่มโครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วยการจัดทำตั้งคณะทำงานเตรียมความพร้อมการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ความร่วมมือของกองแผนงานและสำนักหอสมุด
๙ มิ.ย. ๒๕๕๒ ประชุมคณะทำงานเตรียมความพร้อมการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นครั้งแรก
๒๓ มิ.ย. ๒๕๕๒ คณะทำงานฯดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑ ส.ค. ๒๕๕๒ คณะทำงานฯ สรุปรายงานผลการศึกษาต่ออธิการบดี โดยร้อยละ ๙๑ จากการสำรวจทั้งหมด ๗๙๒ คน เห็นว่าควรดำเนินการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ แนวคิดเบื้องต้น
พื้นที่ก่อสร้าง: จะต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๘,๕๕๘ ตร.ม. รวมพื้นที่เจ้าหน้าที่และพื้นที่ธุรกิจแล้ว คิดเป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๑๐,๔๘๔ ตร.ม.
แนวทางการบริหารงาน: มหาวิทยาลัยจะเป็นเจ้าของพื้นที่อาคารทั้งหมด โดยมอบหมายให้สำนักหอสมุดเป็นผู้ดูแลเฉพาะพื้นที่ในส่วนของศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองฯ โดยจะผลักดันในเรื่องการเรียนรู้ภาษานานาชาติ ในรูปคณะกรรมการร่วมกับคณาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาจากคณะศิลปศาสตร์
สถานที่ตั้ง: บริเวณพื้นที่จอดรถด้านหลังหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งอยู่ติดถนนปรีดี พนมยงค์และอยู่ตรงข้ามห้องสมุดศูนย์รังสิต พื้นที่ว่าง ๒ ไร่ ๒ งาน ๑๒ ตารางวา และมีพื้นที่ใกล้เคียงจำนวน ๓ ไร่-งาน ๘๖ ตร.วา
แนวคิดการให้บริการ: จะให้บริการด้วยระบบอัตโนมัติ เป็นอุทยานการเรียนรู้ของนักศึกษา ให้นักศึกษาได้รู้จักตนเองและรู้จักพัฒนาตนเองให้ทันสังคมในระดับนานาชาติ ภายในศูนย์ฯ จะมีส่วนธุรกิจที่อำนวยความสะดวกต่างๆ ด้วย
การแบ่งพื้นที่การใช้ภายในอาคาร :
Concept Design : Green Building งานก่อสร้างและออกแบบ จะเน้นประหยัดพลังงานและตัวอาคารเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ภายนอก: มีลานโล่งภายนอก โดยออกแบบให้มีความสวยงาม ทันสมัย มีลักษณะโปร่งแสง ประหยัดพลังงานไฟฟ้า การวางตำแหน่งอาคาร คำนึงถึงแสงแดด และทิศทางลม การเลือกใช้วัสดุลดความร้อน และการใช้ฉนวนกันความร้อน การจัด Landscape พื้นที่สีเขียวอย่างเหมาะสม
ภายในอาคาร : การเลือกใช้เทคโนโลยีประหยัดพลังงาน การจัดฟังก์ชั่นการใช้งานอย่างเหมาะสม ออกแบบตกแต่งภายในจะต้องไม่เลือกใช้อะไรมากเกินไป แพงเกินไป และเลือก technology ที่ทันสมัย การออกแบบภายในเพื่อนักศึกษาวัยรุ่น มีระบบ safety ตามกฎหมายควบคุมอาคาร
๒๕ ส.ค. ๒๕๕๒ มีข้อกำหนดการออกแบบก่อสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และรายละเอียดอาคารศูนย์การเรียนรู้ฯ
ก.ย. ๒๕๕๒ สรุปการจัดสรรพื้นที่ภายในอาคาร รวมทั้งรับฟังการนำเสนอข้อมูล/ผลงานของบริษัทผู้ออกแบบและผลงานการออกแบบเบื้องต้น ของบริษัท ๔ บริษัท ได้แก่ บริษัท แปลน สตูดิโอ จำกัด บริษัท สถาปนิกหนึ่งร้อยสิบ จำกัด บริษัท ดี จี แอนด์ ซี จำกัด และบริษัท แปลน โมทิฟ จำกัด
๒๗ ต.ค. ๒๕๕๒ พิจารณาผลงานการออกแบบของบริษัทผู้ออกแบบ ๓ ราย โดยบริษัทที่ได้คะแนนสูงสุด คือ บริษัท สถาปนิกหนึ่งร้อยสิบ จำกัด
๑ ก.ค. ๒๕๕๓ บริษัท สถาปนิกหนึ่งร้อยสิบ จำกัด จัดทำแบบแปลนอาคาร โครงการออกแบบ อาคารศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครุภัณฑ์ ๑ หลัง เพื่อนำเสนอ
สรุปพื้นที่ใช้สอยและประมาณราคาค่าก่อสร้าง
กำหนดระยะเวลาดำเนินการ
ดำเนินการประกวดราคา ตุลาคม ๒๕๕๓
สำนักงบประมาณ อนุมัติงบฯ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
เซ็นสัญญาโครงการ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๓
เริ่มก่อสร้าง ๑ ธันวาคม ๒๕๕๓
๒๑ มิ.ย. ๒๕๕๓ ขออนุมัติดำเนินการจ้างเอกชนเป็นผู้ออกแบบก่อสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมครุภัณฑ์ ๑ หลังโดยวิธีตกลงราคา
๑๘ ส.ค. ๒๕๕๓ เริ่มสัญญาจ้างออกแบบก่อสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พร้อมครุภัณฑ์ ๑ หลัง ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ บริษัท สถาปนิกหนึ่งร้อยสิบ จำกัด
๒๙ ก.ย. ๒๕๕๓ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนพัฒนาและเทคโนโลยี มธ. เห็นชอบในหลักการและให้ข้อสังเกตในการก่อสร้าง ๕ ข้อได้แก่ ๑.การขอพระราชทานพระนามสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นชื่อของอาคาร และขอให้ผู้ออกแบบจัดเตรียมพื้นที่บริเวณด้านหน้าโถงทางเข้าของอาคารไว้สำหรับจัดนิทรรศการถาวรที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
๒.ในชั้นดาดฟ้าควรมีความชัดเจนในเรื่องของกิจกรรมและให้ปรับพื้นที่ให้สอดคล้องกับกิจกรรมตามความต้องการของผู้ใช้งาน
๓.สีภายนอกอาคารควรเน้นความยั่งยืน คงทน และสอดคล้องกับบริบทของอาคารโดยรอบ
๔.ควรเพิ่มระบบป้องกันปลวกเพื่อให้ง่ายต่อการดูแลรักษาอาคาร และขอให้ใช้ระบบกันซึมที่มีคุณภาพ เนื่องจากอาคารภายในศูนย์รังสิตจะมีปัญหาในเรื่องดังกล่าวค่อนข้างมาก
๕.ควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก โดยต้องมีระบบป้องกันอัคคีภัย โดยเฉพาะป้ายบอกทางหนีไฟต่างๆ อย่างครบถ้วนถูกต้องตามมาตรฐานความปลอดภัยด้วย
การเลือกใช้ต้นไม้ ให้พิจารณาเลือกใช้พันธุ์ไม้ที่หลากหลาย เช่น ยางนา ตะเคียน เป็นต้น ในการใช้เป็น Canopy Trees ภายในศูนย์รังสิต และให้นำงานวิจัยดังกล่าวไปเป็นข้อมูลในการทำงานด้านกำกับและควบคุมการพัฒนามหาวิทยาลัยด้านกายภาพของมหาวิทยาลัยต่อไป
๑๔ มิ.ย. ๒๕๕๔ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกหนังสือ ที่ ศธ ๐๕๑๖/๙๕๔  ถึง สำนักราชเลขาธิการ เรื่อง ขอพระบรมราชานุญาตขอพระราชทานนามศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า ศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”
๒๐ ก.ย. ๒๕๕๔ เริ่มสัญญาการก่อสร้างอาคาร โดยมีบริษัท แคนดู คอนสตรั๊คชั้น จำกัด เป็นผู้ดำเนินงานก่อสร้าง และบริษัท แปลน คอนซัลแตนท์ส จำกัด เป็นบริษัทที่ปรึกษาควบคุมงาน
๑๒ ต.ค. ๒๕๕๔ บริษัทผู้รับผิดชอบงานก่อสร้างเข้าปรับพื้นที่บริเวณด้านหลังอาคารหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ เพื่อเริ่มงานก่อสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
๒๒ ต.ค. ๒๕๕๔ น้ำท่วมพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ทำให้ต้องชะลอการก่อสร้างศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ธ.ค. ๒๕๕๔ บริษัทผู้รับผิดชอบงานก่อสร้างเข้าสำรวจความเสียหายและปรับสภาพพื้นที่การก่อสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์หลังน้ำลด
๑ ม.ค. ๒๕๕๕ เริ่มงานก่อสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงราชนครินทร์อีกครั้งหลังน้ำลด
๙ ม.ค. ๒๕๕๕ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกหนังสือ เลขที่ ศธ ๐๕๑๖/๑๕ ถึงสำนักราชเลขาธิการ เรื่องขอนำส่งข้อมูลเพิ่มเติมในการขอพระบรมราชานุญาตขอพระราชทานนามศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า “ศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”
๒๔ เม.ย. ๒๕๕๕ บริษัท สถาปนิกหนึ่งร้อยสิบ จำกัด ปรับปรุงและนำเสนอแบบอาคาร โครงการอาคารศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมครุภัณฑ์ ๑ หลัง มหาวิทยาลัยศาสตร์ ศูนย์รังสิต
๔ มี.ค. ๒๕๕๖ สำนักราชเลขาธิการ มีหนังสือแจ้งเรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า “ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์” ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖
๙ ก.ย. ๒๕๕๖ ขยายเวลางานก่อสร้างครั้งที่ ๑  ๑๘๐ วัน (๙ กันยายน ๒๕๕๖-๗ มีนาคม ๒๕๕๗) ตามมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยปี ๒๕๕๔
๘ มี.ค. ๒๕๕๗ ขยายเวลางานก่อสร้างครั้งที่ ๒  ๑๘๐ วัน (๘ มีนาคม ๒๕๕๗- ๔ สิงหาคม ๒๕๕๗) ตามมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงานอันเนื่องจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น ๓๐๐ บาท ต่อ วัน
๑๙ พ.ค. ๒๕๕๗ สำนักราชเลขาธิการ มีหนังสือถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แจ้ง ชื่อภาษาอังกฤษของ “ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์” ว่า Krom Luang Naradhiwas Rajanagarindra Learning Centre
พ.ค. ๒๕๕๗ งานก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์
๒๕ ก.ค. ๒๕๕๗ ตรวจรับมอบอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
๒๘-๓๐ ก.ค. ๒๕๕๗ เปิดให้นักศึกษาใหม่ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๗ เข้าเยี่ยมชมอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ในกิจกรรมวันแห่งการเรียนรู้เป็นครั้งแรก
๑ ก.ย. ๒๕๕๗ เปิดให้บริการอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
๕ ก.ย. ๒๕๕๗ อธิการดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นประธานในพิธีเปิดการใช้งานอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
๔-๑๔ ต.ค. ๒๕๕๗ นำร่องเปิดให้บริการศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ๒๔ ชั่วโมงครั้งแรก
๑๒ ม.ค. ๒๕๕๘ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์อย่างเป็นทางการ