Tag Archives: Krom Luang Naradhiwas Rajanagarinda Learning Centre

KU-SALL เยี่ยมศูนย์การเรียนรู้ฯ

หัวหน้าคณะ KU-SALL มอบของที่ระลึกขอบคุณแด่ น.ส.แจ่มจันทร์ นพบุตรกานต์
หัวหน้าคณะ KU-SALL มอบของที่ระลึกขอบคุณแด่ น.ส.แจ่มจันทร์ นพบุตรกานต์

วันที่ 22 พฤษภาคม 2558 คณะบุคลากรจากศูนย์พัฒนาภาษาด้วยตนเอง (KU-SALL) ภาควิชาภาษาต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เยี่ยมชมการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มธ.ศูนย์รังสิต เพื่อเป็นแนวทางการในการพัฒนาและปรับปรุงศูนย์ฯ ในอนาคต

แนะนำศูนย์การเรียนรู้
แนะนำศูนย์การเรียนรู้

ทั้งนี้ น.ส.แจ่มจันทร์ นพบุตรกานต์ หัวหน้าหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ และหัวหน้าศูนย์การเรียนรู้ฯ เป็นผู้นำชม และอธิบายเกี่ยวกับการบริหารจัดการต่างๆ ภายในอาคาร  ซึ่งทีมจาก KU-SALL ให้ความสนใจและชื่มชมการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ฯ โดยเฉพาะการออกแบบอาคารที่สวยทันสมัย การจัดพื้นที่บริการและการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ

บริการห้องชมภาพยนตร์ แบบ bean bags
บริการห้องชมภาพยนตร์ แบบ bean bags

ม.เทคโนโลยีสุรนารีเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ฯ มธ.ศูนย์รังสิต

คณะบุคลากร จาก ม.เทคโนโลยีสุรนารี เยี่ยมชมหอสมุดป๋วยฯ และศูนย์การเรียนรู้
คณะบุคลากร จาก ม.เทคโนโลยีสุรนารี เยี่ยมชมหอสมุดป๋วยฯ และศูนย์การเรียนรู้

วันที่ 15 พฤษภาคม 2558 น.ส.แจ่มจันทร์ นพบุตรกานต์ หัวหน้าหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ และศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มธ.ศูนย์รังสิต พร้อมด้วย นางปทุมทิพย์ ลิ้มพงศานุรักษ์ บรรณารักษ์ ประจำหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารและบุคลากร จากศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พร้อมนำชมการบริหารจัดการและการให้บริการของหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ และศูนย์การเรียนรู้ฯ

ทั้งนี้ คณะศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีให้การชื่นชมในการดำเนินงานและการออกแบบอาคารศูนย์การเรียนรู้ฯ ที่ทันสมัย

แนะนำศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มธ.ศูนย์รังสิต

ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มธ.ศูนย์รังสิต

สำนักหอสมุดได้จัดทำคลิปวิดีโอแนะนำศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มธ.ศูนย์รังสิต เพื่อบอกเล่าที่มาของการก่อสร้างและการออกแบบอาคารเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยก่อสร้างอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นห้องสมุดที่ไม่มีหนังสือ เน้นอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกสบายเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตอบสนองนโยบายสำคัญของมหาวิทยาลัยเพื่อการเป็นผู้นำแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

เวลาเปิด-ปิดบริการ

วันจันทร์-ศุกร์  เวลา 8.00 น. – 24.00 น. (เที่ยงคืน)

วันเสาร์-อาทิตย์  เวลา 10.00 น. – 24.00 น. (เที่ยงคืน)

ปิดให้บริการในวันหยุดนักขัตฤกษ์

WorldShare Interlibrary Loan (WorldShare ILL)

WorldShare Interlibrary Loan (WorldShare ILL) เป็น 1 ใน 9 นิทรรศการที่นำเสนอในวันเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม 2558

WorldShare Interlibrary Loan (WorldShare ILL) เป็นระบบการยืมทรัพยากรสารสนเทศระหว่างห้องสมุดสมาชิกในเครือข่าย OCLC (Online Computer Library Center) ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในระดับนานาชาติ

201500111-WorldCat

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสมาชิกของเครือข่าย OCLC ให้บริการสืบค้นข้อมูลจาก WorldCat Local ซึ่งเป็นฐานข้อมูล Global Union Catalog (ประกอบด้วยห้องสมุดสมาชิกว่า ๗ หมื่นกว่าแห่งทั่วโลก) และถ้าไม่พบหนังสือที่ต้องการในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่มีให้บริการที่ห้องสมุดอื่นๆ สามารถติดต่อขอยืมหนังสือดังกล่าวผ่านบริการ WorldShare ILL

20141223-WorldSahreILL-Pic (1)

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มเปิดบริการ WorldShare ILL เมื่อเดือนมิถุนายน 2557   และนับตั้งแต่เปิดบริการ สำนักหอสมุดฯ ได้รับคำขอจากห้องสมุดทั่วโลกรวมแล้วกว่า 100 รายการ

20141223-WorldSahreILL-Pic (2)

20141223-WorldSahreILL-Pic (3)

การจัดการความรู้ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การจัดการความรู้ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็น 1 ใน 9 นิทรรศการที่นำเสนอในวันเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม 2558

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำบริการ ส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยสารสนเทศและเทคโนโลยีนำสมัย สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในระดับนานาชาติ  จึงใช้กลยุทธ์การจัดการความรู้ของบุคลากรในสำนักหอสมุดฯ เป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการ เพื่อให้บรรลุถึงวิสัยทัศน์ข้างต้น ดังนี้

  • การใช้ Blog ในการนำเสนอบทความด้วยการเล่าเรื่องทางวิชาการ การปฏิบัติงาน ประสบการณ์ต่างๆ แนวปฏิบัติที่ดี  เป็นต้น ผ่านการจัดหมวดหมู่และการทำดัชนี เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึง และยังได้เผยแพร่ความรู้เหล่านั้น สู่สาธารณะเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ห้องสมุด และบุคคลทั่วไปในวงกว้างต่อไปทาง http://main.library.tu.ac.th/km/
  • การสร้างชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) ได้แก่ Training the trainers และ Digital literacy  เพื่อฝึกทักษะให้กับบุคลากรจากผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่าในการเป็นวิทยากรที่ดีในการให้บริการและส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศต่อไป
  • การสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีในการส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ รวมทั้งการอบรมจากวิทยากรภายนอก เช่น การนำเสนออย่างทรงพลัง  Smart Click คลิกทันสื่อ เป็นต้น20141216-Presentation4
    การอบรมวิทยากรจากภายนอก
     

    คลิก Knowledge Management เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์  KM
    คลิก Knowledge Management เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ KM

    คลิก  Knowledge Management ที่หน้าเว็บไซต์สำนักหอสมุดฯ (http:// library.tu.ac.th/) หรือ http://main.library.tu.ac.th/km/  จะเข้าสู่เว็บไซต์การจัดการความรู้ของสำนักหอสมุดฯ

    ตัวอย่างผลงานบทความที่เผยแพร่

  • GUIDE TO WRITING ACADEMIC ARTICLES เป็นชุดเผยแพร่การเขียนทางวิชาการ
  • PATHFINDER เส้นทางการหาสารสนเทศ
  • PLAGIARISM AND HOW TO AVOID IT
  • OVERVIEW OF INFORMATION LITERACY RESOURCES WORLDWIDE
  • แหล่งสารสนเทศวิทยานิพนธ์
  • ALTMETRIC 100 อันดับแรกของผลงานทางวิชาการ ของปี 2014
  • การแนะนำการใช้ฐานข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ที่นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร ควรทราบเพื่อ การเรียน การสอน การศึกษา ค้นคว้า วิจัย
  • ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ปัจจุบัน มีบทความเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้สารสนเทศ มากกว่า 200 บทความ และมีจำนวนยอดผู้ชมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การจัดทำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การจัดทำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็น 1 ใน 9 นิทรรศการที่เสนอในวันเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม2558

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดทำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่างๆ ขึ้น เพื่อให้นักศึกษาใช้ในการศึกษาค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง  โดยได้มีการดำเนินการดังนี้

  1. จัดทำระบบบริหารการเรียนการสอน (Learning Management System : LMS) แบบ online เพื่อให้อาจารย์ผู้สอนในวิชาต่างๆ ใช้ในการจัดการเรียนการสอนบนระบบเครือข่าย Internet อันจะทำให้อาจารย์และนักศึกษามีช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน  เช่น การถาม-ตอบ  รับ-ส่งการบ้าน และ download เอกสารประกอบการสอนต่างๆ เป็นต้น  ปัจจุบันมีวิชาที่ใช้งานผ่านระบบ Moodle จำนวน 168 วิชา
  2. จัดทำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งสิ้น จำนวน 172 วิชา จำแนกเป็น

    2.1 บทเรียนแบบ Video Streaming ซึ่งเป็นการบันทึกภาพการสอนในห้องเรียนพร้อมแทรก รูปภาพ/ PowerPoint   ปัจจุบันมีการจัดทำบทเรียนแบบ Video Streaming จำนวน 58 วิชา  และได้มีการจัดทำ Video สรุปเนื้อหาสำคัญของวิชาต่างๆ ภายใต้โครงการ “ธรรมศาสตร์ตลาดวิชา” จำนวน 9 วิชา  โดยในจำนวนนี้ มีการทำ Video Streaming สำหรับวิชา CS 365 ระบบปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นการทำ Video Streaming เพื่อช่วยสนับสนุนการเรียนของนักศึกษาพิการทางการได้ยินทำให้นักศึกษาพิการสามารถใช้ทบทวนบทเรียนได้

    2.2 บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) แบบที่ใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) จำนวน 94 วิชา
    2.3 บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่  (me-Learning) เป็นการจัดทำ i-Book และ e-Book เพื่อให้รองรับการใช้งานทั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) และอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ (mobile device) ต่างๆ  เช่น tablet PC หรือ smart phone ซึ่งนักศึกษาสามารถ download i-Book และe-Book ผ่าน application “TU eStore”  ได้ทั้งบน App Store และ Google Play Store ปัจจุบันมีบทเรียนแบบ me-Learning จำนวน 11 วิชา และอยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำอีก 12 วิชา

TULIB App

TULIB App เป็น 1 ใน 9 นิทรรศการที่นำเสนอในวันเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม 2558

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Application) ภายใต้ชื่อว่า “TULIB App” ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นที่รวมบริการต่างๆ ของสำนักหอสมุดฯ เช่น

• สืบค้นหนังสือจากห้องสมุดทั้ง 11 แห่งใน 4 วิทยาเขตของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Koha library catalog)
• บริการยืมต่อ (Renew)
• บริการจอง (Hold)
• บริการแจ้งเตือน (Alerts) ได้แก่ การเตือนใกล้วันกำหนดส่ง (Near due date) ค่าปรับหนังสือ (Fines) หนังสือจอง (Items on hold)
• บริการ Virtual tour ซึ่งเป็นการนำชมห้องสมุดในรูปแบบเสมือนจริงของหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ และศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
• เชื่อมโยงข้อมูลไปยังบริการออนไลน์ต่างๆ ของหอสมุดฯ เช่น e-Books, e-Journal, e-Thesis, One Search, WorldShare ILL, MyCat เป็นต้น

20150110-TULIB-APP

 

TULIB App รองรับระบบปฏิบัติการ Android version 4.1 และ iOS 4 ขึ้นไป ใช้ได้ทั้ง Smart Devices เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต ไอพอด ใช้งานได้ทั้ง online ผ่าน Wi-Fi และ Cellular ทุกเครือข่าย สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีจาก Apple Store และ Google Play Store

ระบบบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ (MyCat)

ระบบบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ (MyCat) เป็น 1 ใน 9 นิทรรศการที่นำเสนอในวันเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม 2558

MyCat (Management System for Copyright, Academic Work and Thesis) คือระบบบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ เป็นระบบที่ช่วยให้กระบวนการจัดการวิทยานิพนธ์เป็นไปอย่างครบวงจร โดยเริ่มตั้งแต่การจัดส่งร่างวิทยานิพนธ์ การตรวจสอบลิขสิทธิ์โดยใช้โปรแกรม CopyCat (Copyright, Academic Work and Thesis Checking System)  และการจัดเก็บรูปเล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ เมื่อนักศึกษาส่งวิทยานิพนธ์เข้าสู่ระบบ MyCat ระบบจะทำการตรวจสอบลิขสิทธิ์โดยเปรียบเทียบไฟล์วิทยานิพนธ์ที่ส่งกับคลังข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในระบบ ซึ่งเอกสารที่จัดเก็บในคลังข้อมูลดังกล่าวมีหลากหลายประเภท เช่น วิทยานิพนธ์ บทความวิชาการ เอกสารจากอินเทอร์เน็ต หากพบการคัดลอก ระบบจะส่งผลลัพธ์การตรวจ พร้อมทั้งเปอร์เซ็นต์ความคล้ายให้อาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อพิจารณาตรวจสอบและส่งให้นักศึกษาปรับแก้ไข หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการส่งวิทยานิพนธ์แล้ว ระบบจะทำการจัดเก็บรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ไว้ในคลังข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

แสดงภาพรวมการทำงานของระบบ MyCat
แสดงภาพรวมการทำงานของระบบ MyCat

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำระบบบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ (MyCat) ซึ่งพัฒนาโดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเสียง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)  มาใช้ ทำให้กระบวนการจัดการวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สะดวก รวดเร็ว ลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ สามารถติดตามงานของนักศึกษา และเป็นการตรวจสอบการคัดลอกและลอกเลียนผลงานวิชาการ

Koha โปรแกรมเปิดเผยรหัสสำหรับห้องสมุด

Koha โปรแกรมเปิดเผยรหัสสำหรับห้องสมุด เป็น 1 ใน 9 นิทรรศการที่นำเสนอในวันเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม 2558

Koha เป็นซอฟต์แวร์เปิดเผยรหัสสำหรับการจัดการทรัพยากรในห้องสมุด หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปในวงการห้องสมุดว่า ระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบบูรณาการ (Integrated Library Systems : ILS) Koha ได้รับการพัฒนาขึ้นด้วยความร่วมมือของกลุ่มนักพัฒนาซอฟต์แวร์และบรรณารักษ์ทั่วโลก ทำให้ Koha กลายเป็นซอฟต์แวร์ที่มีฟังก์ชันงานต่างๆ ที่ครบถ้วนสมบูรณ์บนพื้นฐานความต้องการที่แท้จริงของบรรณารักษ์ นอกจากนี้ การพัฒนาระบบด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆ โดยกลุ่มนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ทำให้ Koha เป็นซอฟต์แวร์ห้องสมุดที่มีความทันสมัย ใช้งานง่ายและคงทน

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่แห่งแรกของประเทศไทยที่นำซอฟต์แวร์ Koha มาใช้แทนที่ระบบห้องสมุดเดิมซึ่งเป็นระบบห้องสมุดเชิงพาณิชย์จากต่างประเทศ (Commercial Software) ด้วยความเชื่อมั่นในความครบถ้วนสมบูรณ์ของฟังก์ชันการทำงาน ความได้เปรียบของซอฟต์แวร์เปิดเผยรหัสที่ผู้ใช้งานสามารถพัฒนาและปรับแต่งระบบเพิ่มเติมได้ด้วยตัวเองตามความต้องการ การพัฒนาอย่างต่อเนื่องของซอฟต์แวร์ และการรวมกลุ่มของผู้ใช้งานระบบเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่สามารถให้ช่วยเหลือและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันได้อย่างไม่จำกัดเวลาและสถานที่

นอกจากการนำไปประยุกต์ใช้งานกับหน่วยงานการศึกษา และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในลักษณะของระบบเดี่ยว หรือ Stand alone แล้ว จุดเด่นของ Koha คือ ความสามารถในการรองรับห้องสมุดสาขาที่ทำงานร่วมกันในลักษณะของเครือข่ายหรือ Consortium ดังเช่น สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งมีห้องสมุดจำนวนทั้งสิ้น 11 สาขา การประยุกต์ใช้ระบบในลักษณะนี้ทำให้ห้องสมุดที่มีมากกว่าหนึ่งสาขาและต้องการใช้งานทรัพยากรร่วมกัน สามารถใช้งานฐานข้อมูลร่วมกันเพื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลและสามารถแลกเปลี่ยนทรัพยากรต่างๆ ระหว่างห้องสมุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การนำซอฟต์แวร์เปิดเผยรหัสมาใช้งานในประเทศไทย นอกจากจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายในส่วนของลิขสิทธิ์แล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ พร้อมทั้งการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ในกลุ่มบรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน และนักพัฒนาระบบทั้งในระดับประเทศและระดับสากล นอกจากนี้ ประเทศไทยยังสามารถนำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ ไปบอกเล่าและแบ่งปันแก่ห้องสมุดในประเทศเพื่อนบ้านและประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาร่วมกันที่ยั่งยืนและยาวนาน

ศูนย์ทดสอบสมรรถนะแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat Competency Test Center)

ศูนย์ทดสอบสมรรถนะแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็น 1 ใน 9 นิทรรศการที่นำเสนอในการเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม 2558

ศูนย์ทดสอบสมรรถนะแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นศูนย์ทดสอบสมรรถนะภาษาไทย และภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดตั้งอยู่ที่ชั้น 4 ศูนย์การเรียนรู้นราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เป็นหน่วยงานทำหน้าที่วัดความรู้ความสามารถด้านภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ที่ครอบคลุม 4 ทักษะ ด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และการคิด ของนักศึกษามธ. จัดตั้งตามนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัยในศตวรรษที่ 21 (TU’s GOALS 2020) 5 มิติ คือ สร้างโลกทัศน์ (Global Mindset) คิดค้นต้นแบบ (Orginality) เคร่งครัดในจรรยาบรรณ และความรับผิดชอบ(Accountability) ล้ำหน้าอย่างผู้นำ(Leadership) ยึดมั่นจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ (Spirit of Thammasaat) จากทิศทางนี้ทำให้ต้องพัฒนาหลักสูตรศึกษาทั่วไป โดยปรับปรุงให้มีวิชาภายใต้ 3 เสาหลักที่เชื่อมกับนโยบายดังกล่าว ซึ่งส่งผลให้เกิดแนวคิดในการจัดทำแบบทดสอบมาตรฐาน เพื่อวัดความรู้ด้านภาษา ซึ่งแต่เดิมวิชาในหมวดภาษามหาวิทยาลัยกำหนดให้ต้องเรียนวิชาภาษาไทย 1 วิชา 3 หน่วยกิต และวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 2 วิชา 6 หน่วยกิต จากระดับคะแนน O-NET อีกทั้งยังจัดชั้นเรียนให้กับนักศึกษาที่มีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ เพื่อปูพื้นฐานความรู้ภาษาอังกฤษก่อนเรียนวิชาที่กำหนด โดยไม่นับหน่วยกิต

การสร้างแบบทดสอบมาตรฐานหมวดภาษาที่ได้ผ่านการคัดเลือก แก้ไข กลั่นกรองเรื่องการออกแบบทดสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิและอาจารย์ผู้สอน กรณีแบบทดสอบภาษาอังกฤษสร้างแบบทดสอบความสามารถทางภาษาที่เทียบเคียงกับมาตรฐาน TOEFL และ IELTS เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
การทดสอบสมรรถนะทางภาษามีรายละเอียดดังนี้

  1. นักศึกษาทุกคนจะต้องผ่านการทดสอบสมรรถนะทางภาษาเพื่อประเมินศักยภาพแต่ละปัจเจกบุคคล
  2. ผลการทดสอบสมรรถนะจะบ่งชี้ถึงความสามารถในด้านภาษา โดยแบ่งระดับสำหรับผู้ผ่านการทดสอบคือ

2.1 ทักษะดีเลิศ (Exempt) ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเรียนวิชาที่กำหนด

2.2 ทักษะเพียงพอสำหรับการพัฒนาต่อยอด (Sufficient) จัดชั้นเรียนในกลุ่มที่มีระดับทักษะใกล้เคียงกัน

2.3 ทักษะไม่เพียงพอ (Insufficient) ให้เรียนวิชาปรับพื้นฐานโดยไม่นับหน่วยกิตและต้องสอบให้ผ่านวิชาปรับพื้นฐานก่อนเรียนวิชาที่กำหนดในกลุ่มที่มีระดับทักษะใกล้เคียงกัน

การทดสอบสมรรถนะภาษาตามแนวใหม่นี้ ผลการทดสอบจะเป็นตัวบ่งชี้ว่านักศึกษายังขาดการพัฒนาการเรียนภาษาในด้านใด โดยจะจัดชั้นเรียนให้สอดคล้องกับทักษะของนักศึกษาอันจะส่งผลดีต่อการปรับทักษะพื้นฐานทางด้านภาษาที่เหมาะสมกับนักศึกษาแต่ละปัจเจกบุคคล นักศึกษาจะได้รับการพัฒนา ต่อยอดความรู้ซึ่งแตกต่างจากการออกแบบวิชาภาษาชุดเดียวสำหรับนักศึกษาที่มีพื้นฐานความรู้และความสามารถที่แตกต่างกัน