Tag Archives: อาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ระบบจองห้อง Tutoring ในศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ระบบจองห้อง Tutoring ในศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มธ.ศูนย์รังสิต เป็นหนึ่งในการพัฒนานวัตกรรมการบริการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษาในการเข้าใช้บริการห้อง Tutoring  โดยสามารถจองล่วงหน้าก่อนเข้าใช้งานจริง  ทำให้สามารถบริหารเวลาและหมุนเวียนการใช้งานห้อง Tutoring ได้ดียิ่งขึ้น Continue reading ระบบจองห้อง Tutoring ในศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ทำไมนักศึกษายุคใหม่? ถึงชอบศูนย์การเรียนรู้

                  

421137152_1
ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราช นครินทร์

จากการสุ่มสอบถามความคิดเห็นนักศึกษาบางส่วนที่มาใช้บริการ ณ ศูนย์การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในระหว่างวันที่  1 -30 กันยายน 2558 มีดังนี้

  • ดีเพราะเงียบดี  ดูใหม่  น่าใช้ คนน้อย แอร์เย็น วิวดี
  • ห้อง Tutoring Room ใหญ่  มีกระดานที่เขียนใหญ่ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ปลั๊กไฟ  อินเทอร์เน็ตแรง และสภาพแวดล้อมมีความเป็นส่วนตัว
  • โซฟาใหญ่มากน่านอน         
  • พื้นที่สะอาด เสียงไม่ดัง มีคอมพิวเตอร์มาก และ iPad  และชอบเครื่อง MAC
  • สะดวก ใช้เป็นสถานที่นัดพบ
  • โรงหนังมีเบาะ  มีหนังให้ดู
  • ตึกสวย มีที่จอดจักยาน พร้อมร้านกาแฟ           
  • ดูสบายตาดี

    นี่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ศูนย์การเรียนรู้เป็นที่รู้จักในกลุ่มนักศึกษายุคใหม่  และบอกต่อๆ กันว่าที่ศูนย์การเรียนรู้ มีอะไรดีๆ นักศึกษาถึงชอบมาทำกิจกรรมรวมกัน และเชื่อว่าสิ่งดีๆ เหล่านี้จะมีการพัฒานาให้ดียิ่งๆขึ้น
    ผู้จัดทำขอขอบคุณนักศึกษาทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามเป็นอย่างดีและหวังว่าในโอกาสหน้าจะได้รับความอนุเคราะห์ในครั้งต่อไป

คณะบรรณารักษ์จากประเทศกัมพูชา เยี่ยมชมหอสมุดปรีดี พนมยงค์ และอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชครินทร์

 

1434847104905                  IMG_6807

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน 2558 นางสาวจุฑาทิพย์ โอสนานนท์ รองผู้อำนวยการสายบริการและส่งเสริมการเรียนรู้และบรรณารักษ์ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาห้องสมุด ให้การต้อนรับ และพาเยี่ยมชมหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ แก่ Ms. Mao Kolap Vice President Cambodian Librarians and Documentalists Association (CLDA) และ Library Director Pannasastra University of Cambodia และคณะ  รวมทั้งให้การบรรยายการใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha โดย ดร.พงศ์ธวัช ชีพพิมลชัย และนางสาวนีลวัสน์ อินทรักษา จากบริษัทปันสารเอเชีย  นอกจากนี้นางสาวกนกวรรณ บัวงามให้การต้อนรับและพาเยี่ยมชมหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์  และอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชครินทร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตในวันเดียวกันด้วย

20150615_171404

พลขับลิฟต์

อาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จและมีการเปิดให้บริการโดย มีการเปิดอาคารอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 มกราคม 2558 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิด สำนักหอสมุดได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพจัดงานในครั้งนี้ ทุกคนมีการเตรียมงานกันอย่างแข็งขัน มีการประชุมตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ในการดำเนินงานการรับเสด็จและในครั้งนี้ ดิฉันได้รับหน้าที่เป็นพลขับลิฟต์ถวายสมเด็จพระเทพฯเพื่อพระราชดำเนินขึ้นไปยังชั้น 2 ของอาคาร

penlib

หน้าที่พลขับลิฟต์ทำอย่างไรหนอ ดิฉันครุ่นคิดอยู่จนนอนไม่หลับเพราะตื่นเต้นที่จะได้ถวายงานใกล้ชิดพระองค์ท่านแม้จะเป็นเพียงพลขับลิฟต์ ซึ่งใช้เวลาไม่นานมากนักจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดความผิดพลาด จึงได้มีการประสานงานกับฝ่ายช่างประจำอาคารให้สอนวิธีการใช้ลิฟต์อย่างถูกต้องและปลอดภัยที่สุดเมื่อทราบถึงวิธีการล็อคลิฟต์ ระหว่างรอรับเสด็จแล้ว ก็ต้องซ้อมเพื่อให้มีความชำนาญจะได้ไม่ประหม่ามากนัก เมื่อปฏิบัติงานจริง แต่ก็ยังมีความกังวลว่าจะต้องยืนตรงไหน ทำอย่างไรบ้างเมื่อพระองค์มาถึงลิฟต์เล่นเอานอนไม่หลับซะหลายคืนเลยทีเดียว

วันที่รอคอยมาถึง 12 มกราคม 2558 จัดเตรียมแต่งตัวสวยงามด้วยชุดข้าราชการปกติขาว ซึ่งได้ใส่ชุดนี้แบบเต็มยศเป็นครั้งแรก แอบภูมิใจนิดๆ ว่าเราก็เท่เหมือนกันแฮะ ตอนเช้าก็แอบไปซ้อมที่ลิฟต์อีกครั้ง และในตอนสายๆ เจ้าหน้าที่ทางสำนักพระราชวังเข้ามาเพื่อดูความเรียบร้อยจึงได้สอบถามว่าพลขับลิฟต์ควรทำอย่างไรบ้าง ซึ่งเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังก็ให้คำแนะนำเป็นอย่างดี และกล่าวว่าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระทัยดีไม่ต้องกลัว ดิฉันยืนเฝ้าหน้าลิฟต์ จนถึงเวลาที่พระองค์เสด็จมาถึง และพระราชดำเนินเข้าลิฟต์ที่ดิฉันได้เปิดรอไว้อยู่แล้ว ดิฉันยืนอยู่ชิดประตูลิฟต์ โค้งคำนับพระองค์ และผู้ติดตามจนเดินเข้ามาจนครบทุกคนจึงทำการปิดลิฟต์ และเมื่อลิฟต์หยุดที่ชั้น 2 กดเปิดลิฟต์ โค้งคำนับอีกครั้ง พระองค์ทรงพระราชดำเนินออกจากลิฟต์พร้อมผู้ติดตาม เป็นอันเสร็จหน้าที่ในรอบนี้ ดิฉันออกไปยืนอยู่หน้าลิฟต์ เพื่อรอส่งเสด็จเมื่อพิธีการเสร็จสิ้น
pen1

หลังจากพิธีการเปิดอาคารเสร็จสมเด็จพระเทพฯ ทรงพระราชดำเนินทอดพระเนตร นิทรรศการที่สำนักหอสมุดจัดขึ้นพระองค์ทรงสนพระทัยเป็นอย่างมาก และได้มีปฏิสันถารกับอธิการบดีอย่างต่อเนื่อง เมื่อเสร็จสิ้นพิธีการทุกอย่างพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมายังลิฟต์เพื่อลงไปยังชั้น 1 ดิฉันเปิดลิฟต์รออยู่ก่อนแล้ว และในขาลงนี้มีผู้ติดตามจำนวนมากเนื่องจากพระองค์ยังมีปฏิสันถารกับอธิการบดีอย่างต่อเนื่องยังไม่เสร็จจึงเข้าลิฟต์ลงมาพร้อมกัน  องค์รักษ์ประจำพระองค์เข้าลิฟต์มาเป็นคนสุดท้ายและยืนจนติดประตูเพราะมีผู้ติดตามมากกว่าขาขึ้น เมื่อดิฉันกดปิดประตูลิฟต์ ทำให้ไปโดนรองเท้าขององค์รักษ์ประตูลิฟท์จึงเด้งเปิดออกไม่ยอมปิด องค์รักษ์จึงถอยหลังให้พ้นประตูลิฟต์จึงปิดลิฟต์ได้ เหตุการณ์นี้แม้ไม่ใช่ความผิดของพลขับลิฟต์มือใหม่อย่างดิฉัน แต่ก็ทำให้หน้าร้อนผ่าวไปเหมือนกัน เมื่อลิฟต์มาถึงชั้น 1 ดิฉันกดล็อคลิฟต์เพื่อให้พระองค์และผู้ติดตามออกจากลิฟต์ เป็นอันเสร็จหน้าที่ของดิฉันในการปฏิบัติหน้าที่รับเสด็จในครั้งนี้

ความประทับใจที่ได้ใกล้ชิดสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระองค์ท่านจะทรงแย้มพระสรวลอยู่ตลอด อยู่ใกล้พระองค์แล้วรู้สึกถึงความมีพระเมตตาของพระองค์ต่อพสกนิกร ทำให้เราปฏิบัติงานได้อย่างไม่เครียดทำให้รู้สึกรักพระองค์รักพระองค์มากยิ่งขึ้น สมเด็จพระเทพฯ ของปวงชน ทรงพระเจริญ ทรงพระเจริญ ทรงพระเจริญ

ชมคลิปข่าวสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ เปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้ฯ มธ.

วันจันทร์ที่ 12 มกราคม 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้ดูแลและบริหารจัดการ ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชครินทร์ รับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสทรงเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
เชิญชมคลิปข่าวสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ เปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้ฯ มธ. ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง  11

เชิญชมคลิปข่าวสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ เปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้ฯ มธ. ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9

เชิญชมคลิปข่าวสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ เปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้ฯ มธ. ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7

เชิญชมคลิปข่าวสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ เปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้ฯ มธ. ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 5

เชิญชมคลิปข่าวสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ เปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้ฯ มธ. ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3

แนะนำศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มธ.ศูนย์รังสิต

ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มธ.ศูนย์รังสิต

สำนักหอสมุดได้จัดทำคลิปวิดีโอแนะนำศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มธ.ศูนย์รังสิต เพื่อบอกเล่าที่มาของการก่อสร้างและการออกแบบอาคารเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยก่อสร้างอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นห้องสมุดที่ไม่มีหนังสือ เน้นอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกสบายเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตอบสนองนโยบายสำคัญของมหาวิทยาลัยเพื่อการเป็นผู้นำแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

เวลาเปิด-ปิดบริการ

วันจันทร์-ศุกร์  เวลา 8.00 น. – 24.00 น. (เที่ยงคืน)

วันเสาร์-อาทิตย์  เวลา 10.00 น. – 24.00 น. (เที่ยงคืน)

ปิดให้บริการในวันหยุดนักขัตฤกษ์

WorldShare Interlibrary Loan (WorldShare ILL)

WorldShare Interlibrary Loan (WorldShare ILL) เป็น 1 ใน 9 นิทรรศการที่นำเสนอในวันเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม 2558

WorldShare Interlibrary Loan (WorldShare ILL) เป็นระบบการยืมทรัพยากรสารสนเทศระหว่างห้องสมุดสมาชิกในเครือข่าย OCLC (Online Computer Library Center) ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในระดับนานาชาติ

201500111-WorldCat

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสมาชิกของเครือข่าย OCLC ให้บริการสืบค้นข้อมูลจาก WorldCat Local ซึ่งเป็นฐานข้อมูล Global Union Catalog (ประกอบด้วยห้องสมุดสมาชิกว่า ๗ หมื่นกว่าแห่งทั่วโลก) และถ้าไม่พบหนังสือที่ต้องการในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่มีให้บริการที่ห้องสมุดอื่นๆ สามารถติดต่อขอยืมหนังสือดังกล่าวผ่านบริการ WorldShare ILL

20141223-WorldSahreILL-Pic (1)

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มเปิดบริการ WorldShare ILL เมื่อเดือนมิถุนายน 2557   และนับตั้งแต่เปิดบริการ สำนักหอสมุดฯ ได้รับคำขอจากห้องสมุดทั่วโลกรวมแล้วกว่า 100 รายการ

20141223-WorldSahreILL-Pic (2)

20141223-WorldSahreILL-Pic (3)

การจัดการความรู้ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การจัดการความรู้ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็น 1 ใน 9 นิทรรศการที่นำเสนอในวันเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม 2558

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำบริการ ส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยสารสนเทศและเทคโนโลยีนำสมัย สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในระดับนานาชาติ  จึงใช้กลยุทธ์การจัดการความรู้ของบุคลากรในสำนักหอสมุดฯ เป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการ เพื่อให้บรรลุถึงวิสัยทัศน์ข้างต้น ดังนี้

  • การใช้ Blog ในการนำเสนอบทความด้วยการเล่าเรื่องทางวิชาการ การปฏิบัติงาน ประสบการณ์ต่างๆ แนวปฏิบัติที่ดี  เป็นต้น ผ่านการจัดหมวดหมู่และการทำดัชนี เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึง และยังได้เผยแพร่ความรู้เหล่านั้น สู่สาธารณะเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ห้องสมุด และบุคคลทั่วไปในวงกว้างต่อไปทาง http://main.library.tu.ac.th/km/
  • การสร้างชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) ได้แก่ Training the trainers และ Digital literacy  เพื่อฝึกทักษะให้กับบุคลากรจากผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่าในการเป็นวิทยากรที่ดีในการให้บริการและส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศต่อไป
  • การสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีในการส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ รวมทั้งการอบรมจากวิทยากรภายนอก เช่น การนำเสนออย่างทรงพลัง  Smart Click คลิกทันสื่อ เป็นต้น20141216-Presentation4
    การอบรมวิทยากรจากภายนอก
     

    คลิก Knowledge Management เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์  KM
    คลิก Knowledge Management เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ KM

    คลิก  Knowledge Management ที่หน้าเว็บไซต์สำนักหอสมุดฯ (http:// library.tu.ac.th/) หรือ http://main.library.tu.ac.th/km/  จะเข้าสู่เว็บไซต์การจัดการความรู้ของสำนักหอสมุดฯ

    ตัวอย่างผลงานบทความที่เผยแพร่

  • GUIDE TO WRITING ACADEMIC ARTICLES เป็นชุดเผยแพร่การเขียนทางวิชาการ
  • PATHFINDER เส้นทางการหาสารสนเทศ
  • PLAGIARISM AND HOW TO AVOID IT
  • OVERVIEW OF INFORMATION LITERACY RESOURCES WORLDWIDE
  • แหล่งสารสนเทศวิทยานิพนธ์
  • ALTMETRIC 100 อันดับแรกของผลงานทางวิชาการ ของปี 2014
  • การแนะนำการใช้ฐานข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ที่นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร ควรทราบเพื่อ การเรียน การสอน การศึกษา ค้นคว้า วิจัย
  • ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ปัจจุบัน มีบทความเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้สารสนเทศ มากกว่า 200 บทความ และมีจำนวนยอดผู้ชมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การจัดทำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การจัดทำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็น 1 ใน 9 นิทรรศการที่เสนอในวันเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม2558

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดทำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่างๆ ขึ้น เพื่อให้นักศึกษาใช้ในการศึกษาค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง  โดยได้มีการดำเนินการดังนี้

  1. จัดทำระบบบริหารการเรียนการสอน (Learning Management System : LMS) แบบ online เพื่อให้อาจารย์ผู้สอนในวิชาต่างๆ ใช้ในการจัดการเรียนการสอนบนระบบเครือข่าย Internet อันจะทำให้อาจารย์และนักศึกษามีช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน  เช่น การถาม-ตอบ  รับ-ส่งการบ้าน และ download เอกสารประกอบการสอนต่างๆ เป็นต้น  ปัจจุบันมีวิชาที่ใช้งานผ่านระบบ Moodle จำนวน 168 วิชา
  2. จัดทำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งสิ้น จำนวน 172 วิชา จำแนกเป็น

    2.1 บทเรียนแบบ Video Streaming ซึ่งเป็นการบันทึกภาพการสอนในห้องเรียนพร้อมแทรก รูปภาพ/ PowerPoint   ปัจจุบันมีการจัดทำบทเรียนแบบ Video Streaming จำนวน 58 วิชา  และได้มีการจัดทำ Video สรุปเนื้อหาสำคัญของวิชาต่างๆ ภายใต้โครงการ “ธรรมศาสตร์ตลาดวิชา” จำนวน 9 วิชา  โดยในจำนวนนี้ มีการทำ Video Streaming สำหรับวิชา CS 365 ระบบปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นการทำ Video Streaming เพื่อช่วยสนับสนุนการเรียนของนักศึกษาพิการทางการได้ยินทำให้นักศึกษาพิการสามารถใช้ทบทวนบทเรียนได้

    2.2 บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) แบบที่ใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) จำนวน 94 วิชา
    2.3 บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่  (me-Learning) เป็นการจัดทำ i-Book และ e-Book เพื่อให้รองรับการใช้งานทั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) และอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ (mobile device) ต่างๆ  เช่น tablet PC หรือ smart phone ซึ่งนักศึกษาสามารถ download i-Book และe-Book ผ่าน application “TU eStore”  ได้ทั้งบน App Store และ Google Play Store ปัจจุบันมีบทเรียนแบบ me-Learning จำนวน 11 วิชา และอยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำอีก 12 วิชา

TULIB App

TULIB App เป็น 1 ใน 9 นิทรรศการที่นำเสนอในวันเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม 2558

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Application) ภายใต้ชื่อว่า “TULIB App” ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นที่รวมบริการต่างๆ ของสำนักหอสมุดฯ เช่น

• สืบค้นหนังสือจากห้องสมุดทั้ง 11 แห่งใน 4 วิทยาเขตของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Koha library catalog)
• บริการยืมต่อ (Renew)
• บริการจอง (Hold)
• บริการแจ้งเตือน (Alerts) ได้แก่ การเตือนใกล้วันกำหนดส่ง (Near due date) ค่าปรับหนังสือ (Fines) หนังสือจอง (Items on hold)
• บริการ Virtual tour ซึ่งเป็นการนำชมห้องสมุดในรูปแบบเสมือนจริงของหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ และศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
• เชื่อมโยงข้อมูลไปยังบริการออนไลน์ต่างๆ ของหอสมุดฯ เช่น e-Books, e-Journal, e-Thesis, One Search, WorldShare ILL, MyCat เป็นต้น

20150110-TULIB-APP

 

TULIB App รองรับระบบปฏิบัติการ Android version 4.1 และ iOS 4 ขึ้นไป ใช้ได้ทั้ง Smart Devices เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต ไอพอด ใช้งานได้ทั้ง online ผ่าน Wi-Fi และ Cellular ทุกเครือข่าย สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีจาก Apple Store และ Google Play Store