All posts by นางบังอร ไกรสัย

ญี่ปุ่นสมัยโชวะ ประวัติศาสตร์บอกเล่าจากพ่อสู่ลูก (Chichi Ga Ko Ni Kataru Showashi)

Chowa_01
ญีปุ่นสมัยโชวะ

ญี่ปุ่นสมัยโชวะ ประวัติศาสตร์บอกเล่าจากพ่อสู่ลูก (Chichi Ga Ko Ni Kataru Showashi) โดยผู้เขียน  โฮะซะกะ มะซะยะซุ (Hosaka Masayasu) แปลโดย สร้อยสุดา ณ ระนอง, ปราณี จงสุจริตธรรม เป็นเรื่องราวของการถ่ายทอดประวัติความเป็นมาของญี่ปุ่นสมัยโชวะ ให้แก่ลูกหลานและผู้อ่านรับทราบ สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่นี่

จิ้มก้องและกำไร : การค้าไทยจีน 2195-2396 (1652-1853 Tribute and Profit : Sino-Siamese Trade, 1652-1853)

tributecover

 

จิ้มก้องและกำไร : การค้าไทยจีน 2195-2396/1652-1853 Tribute and Profit : Sino-Siamese Trade, 1652-1853) ผู้เขียน สารสิน วีระผล (Sarasin Viraphol) ผู้แปล พรรณงาม เง่าธรรมสาร และคณะ ; บรรณาธิการ สารสิน วีระผล และ กัณฐิกา ศรีอุดม เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับการค้าในระบบบรรณาการระหว่างไทยกับจีนที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและอยุธยา สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่นี่

สังคมจีนในประเทศไทย : ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ (Chinese Society in Thailand : An Analytical History)

booklisthchine_02

สังคมจีนในประเทศไทย : ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ (Chinese Society in Thailand : An Analytical History) เขียนโดย จี.วิลเลียม สกินเนอร์ (G. William Skinner) แปลโดย พรรณี ฉัตรพลรักษ์ และคณะ ส่วนบรรณาธิการ  คือ  ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เป็นการศึกษาวิเคราะห์เรื่องราวของชาวจีนโพ้นทะเลในไทย ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและความเจริญทางสังคมของประเทศไทย ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงรัชกาลที่ 3 ประมาณ พ.ศ.2499 สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่นี่

30 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน 600 ปี ซำปอกง/เจิ้งเหอ กับอยุธยาและอุษาคเนย์

30 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน 600 ปี ซำปอกง
                                                           30 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน 600 ปี ซำปอกง

 

30 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน 600 ปี ซำปอกง/เจิ้งเหอ กับอยุธยาและอุษาคเนย์ เป็นหนังสือในชุดสัมมนาประจำปี บรรณาธิการโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และสมถวิล ลือชาพัฒนพร เป็นบันทึกการจัดสัมมนาเมื่อปลายปี 2549 หนังสือเล่มนี้ประเด็นหลัก ๆ กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน  สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

การทำบัตรประจำตัวพนักงาน

การขอทำบัตรประจำตัว หรือขอมีบัตรประจำตัวใหม่  ซึ่งปัจจุบันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มอบหมายให้กองการเจ้าหน้าที่และสำนักหอสมุดร่วมกันจัดทำบัตรประจำตัวบุคลากร ตามโครงการหนึ่งบัตรหนึ่งคน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยมีบัตรแสดงตนและเป็นบัตรที่ใช้บริการยืมคืนหนังสือของสำนักหอสมุดได้ด้วย ซึ่งบุคลากรในมหาวิทยาลัย หมายถึง บุคคลดังต่อไปนี้

เจ้าหน้าที่ของรัฐ คือ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พนักงานมหาวิทยาลัย ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ข้าราชการบำนาญ Continue reading การทำบัตรประจำตัวพนักงาน

วินัย…..วินัย มาแล้วจ้า

พวกเราทุกคนล้วนต้องมีวินัยในการปฏิบัติงาน แล้ววินัย คือ อะไร
วินัย คือ การทำตามสั่ง โดยมี 3 รูปแบบ (สมภพ ภิรมย์ : 2547) คือ

  1. สั่งเป็นลายลักษณ์อักษร ในรูปของกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา พระราชกำหนด เป็นต้น โดยให้ยึดเป็นหลักปฏิบัติและอ้างอิง คนจึงต้องถือวินัย ใครละเมิดหรือไม่มีวินัย ก็จะมีความผิด
  2. สั่งด้วยจารีต ประเพณี แบบแผน ขนบธรรมเนียม ซึ่งวินัยประเภทนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่เคร่งครัดเหมือนในข้อ 1
  3. สั่งการด้วยวาจา หรือการนัดหมาย เป็นคำสั่งหรือข้อตกลงด้วยวาจา

ดังนั้น ในทุกองค์กรจำต้องยึดถือวินัยเป็นหลักในการทำงาน ถ้าองค์กรใดหย่อนหรือขาดวินัยก็จะส่งผลให้ด้อยประสิทธิภาพลงไปได้
ในการดำเนินงานทางวินัยของมหาวิทยาลัยนั้น หากสงสัยว่าข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานเงินรายได้ ลูกจ้างประจำ ผู้หนึ่งผู้ใดกระทำผิดวินัย ซึ่งเกิดจากการร้องเรียน/ผู้บังคับบัญชาตรวจพบเห็นเอง หรือมีหน่วยงานอื่นแจ้งเหตุกระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาจะทำการสืบสวนหรือสอบข้อเท็จจริงก่อน เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะพิจารณาว่า มีมูลที่ควรกล่าวหาว่าบุคคลผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่ หากเป็นกรณีมีมูล ผู้บังคับบัญชาจะดำเนินการทางวินัยต่อไป หากเป็นกรณีไม่มีมูลก็ให้ยุติเรื่องทันที

รายการอ้างอิง:

สมภพ ภิรมย์. วินัย. วารสารบัณฑิตยสถาน ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 (เม.ย. – มิ.ย.2547) : 504 – 505 สืบค้นเมื่อวันที่ 4 ก.พ.2558 จาก http://www.royin.go.th/upload/61/FileUpload/25_8908.pdf