Cambodian Libraries: Preparation toward ASEAN Library Community โดย Kolap Mao นำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปี 2555 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยกล่าวถึงข้อมูลพื้นฐานของห้องสมุดในประเทศกัมพูชา สถานภาพปัจจุบันของห้องสมุดประเภทต่างๆ รวมทั้งสมาคมวิชาชีพ นอกจากนี้ได้กล่าวถึง วิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนดำเนินงานของห้องสมุดกัมพูชาในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด
Tag Archives: การประชุมวิชาการประจำปี 2557 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประชาคมอาเซียนกับการส่งเสริมการอ่าน
ประชาคมอาเซียนกับการส่งเสริมการอ่าน โดย ดร.สุรพิชย์ พรหมสิทธิ์ ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปี 2555 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยกล่าวถึงประเทศในอาเซียนในภาพรวม เปรียบเทียบแต่ละประเทศในเรื่องของการอ่าน เช่น
- อินโดนีเซีย มีการส่งเสริมให้คนในประเทศรักการอ่านตั้งแต่เด็กๆ ต้องมีโอกาส การเข้าถึงหนังสือ โดยเฉพาะห้องสมุด ร้านหนังสือ
- สิงคโปร์ ห้องสมุดมีส่วนเชื่อมโยงประชาชนเข้าร่วมเป็นชุมชน ส่งผลให้ประเทศมีความเข้มแข็ง มีห้องสมุดมาก ใช้ห้องสมุดทุกกลุ่ม ทุกวัย
- เวียดนาม มีนโยบายในการพัฒนาประเทศเชิงรุก สร้างวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมผ่านกิจกรรมการอ่านของประชาชนเวียดนาม
- ฟิลิปปินส์ มีวาระ 10 ประการ ในการปฏิรูปการศึกษาของฟิลิปปินส์ เด็กทุกคนจะต้องเป็นนักอ่านตั้งแต่เรียนเกรด 1 มีการจัดโครงสร้างพื้นฐาน ห้องสมุด หนังสือเรียนให้ครบ ส่งเสริมให้เด็กนักเรียน อ่านหนังสือที่ไม่ใช่หนังสือเรียนอย่างน้อย 2 เล่มใน 1 ปี (ภาษาอังกฤษ และภาษาฟิลิปปินส์)
- มาเลเซีย ยกให้การอ่านและการรู้หนังสือเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนความพยายามและเสริมสร้างยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ มีการกำหนดนโยบายส่งเสริมการอ่าน พัฒนาโครงการวิจัย แผนยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมการอ่านให้กับคนในชุมชน คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด
การพัฒนาห้องสมุดสู่ประชาคมอาเซียน
การพัฒนาห้องสมุดสู่ประชาคมอาเซียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิมพ์รำไพ เปรมสมิทธ์ ได้กล่าวในการประชุมวิชาการ ประจำปี 2555 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า การจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาคงต้องพร้อมที่จะก้าวไปกับสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัด น่าจะต้องเตรียมการอย่างมากในเรื่อง ทรัพยากรสารสนเทศและบริการ โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง ทรัพยากรและบริการ เป็นการแบ่งปันทรัพยากร
สำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศอาเซียน มีเครือข่ายความร่วมมือที่สำคัญ คือ ASEAN University Inter-Library Online (AUNILO) เป็นเครือข่ายย่อย ภายใต้ ASEAN University Network (AUN) นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึง การพัฒนาสมรรถนะของบรรณารักษ์ ที่้ต้องมีการพัฒนาสมรรถนะในเรื่องทัศนคติ ค่านิยม โดยเฉพาะในเรื่องความสามารถในการปรับตัว และพร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งทักษะที่จะสามารถทำงานแบบข้ามวัฒนธรรม เช่น ความสามารถในการปรับพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ ได้ ความตระหนักเรื่องการสื่อสาร สามารถสื่อสารกับบุคคลต่างวัฒนธรรมและสามารถปรับการแสดงออกได้ตามสถานการณ์ ความสามารถในการค้นหาความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมอื่นๆ และการปฏิบัติตามวัฒนธรรม และสามารถนำมาใช้ในการปฏิสัมพันธ์ การเคารพผู้อื่น มีการเปิดใจกว้าง และพร้อมรับและเข้าใจความเชื่อต่างๆ ในวัฒนธรรมอื่น และความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด
ห้องสมุดกับประชาคมอาเซียน
ห้องสมุดกับประชาคมอาเซียน โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปี 2555 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่
- เรื่องราวของ ASEAN
- Why ASEAN Community?
- ห้องสมุดยุคใหม่
- ห้องสมุดกับประชาคม ASEAN
ในหัวข้อห้องสมุดยุคใหม่ ได้เน้นถึงพลังของอินเทอร์เน็ตที่ทำให้เกิดการปรับบทบาทของพลเมืองทั่วโลก เพื่อสร้างความรู้ ใช้ความรู้ จัดการความรู้ และกระจายความรู้ “ห้องสมุดยุคใหม่” จึงจำเป็นต้องเป็นห้องสมุดที่ไม่มีผนังกั้น สนองความต้องการบริการที่หลากหลายและกว้างขวาง และไม่หยุดนิ่ง อย่างไม่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
ดังนั้น เมื่อจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน บทบาทของห้องสมุดกับการเป็นประชาคมอาเซียนของไทย ก็คือ Continue reading ห้องสมุดกับประชาคมอาเซียน
การให้บริการห้องสมุดสมัยใหม่: แนวโน้มในปัจจุบันและความท้าทายในอนาคต
การให้บริการห้องสมุดสมัยใหม่: แนวโน้มในปัจจุบันและความท้าทายในอนาคต โดย ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ อาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 7 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเสนอข้อคิดเห็นที่พยายามจะวิเคราะห์ประเด็นปัญหาในการให้บริการห้องสมุดเพื่อพิจารณาแนวโน้มและความท้าทายทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยนำแนวคิดเรื่องความเกี่ยวข้อง (Relevance) ทางด้านการค้นค้นสารสนเทศมาใช้เป็นกรอบในการพิจารณา โดยเชื่อมโยงระหว่างความต้องการของผู้ใช้และบริการห้องสมุดที่มีอยู่ในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต และได้นำแนวคิดเรื่องการออกแบบบริการ (Service design) และความสามรารถในการใช้ได้ (Usability) มาใช้พิจารณาความเป็นไปได้และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการให้บริการห้องสมุดทั้งในปัจจุบันและอนาคต คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด
การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกในห้องสมุดด้วย Carbon Footprint
การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกในห้องสมุดด้วย Carbon Footprint โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. หาญพล พึ่งรัศมี ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านพลังงานเชิงนิเวศเศรษฐกิจ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปี 2557 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน การเกิดก๊าซเรือนกระจก และสำหรับห้องสมุด มีแหล่งใดบ้างที่เป็นแหล่งกำเนิดก๊าซเรือนกระจกในห้องสมุด เช่น ไฟฟ้าส่องสว่าง ลิฟต์ คอมพิวเตอร์ เครื่องพริ้นเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร และหมึกพิมพ์ กระดาษ โทรทัศน์ ตู้ยืม-คืนหนังสือ การใช้น้ำ กระดาษชำระ เครื่องปรับอากาศและสารทำความเย็น และกล่าวถึงคาร์บอนฟุตพริ้นต์ วิธีการช่วยป้องกันสภาวะโลกร้อนในห้องสมุด คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด
ปันสารกับ Koha
ปันสารกับ Koha โดย ดร. พงศ์ธวัช ชีพพิมลชัย ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปี 2557 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงประสบการณ์ในการพัฒนา Koha ซึ่งเป็นโปรแกรมโอเพนซอร์ส โดยมีการพัฒนาโปรแกรมและนำไปใช้ เช่น สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มตั้งแต่การติดตั้งโปรแกรม และการปรับแต่งระบบอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับทีมงานของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งในการใช้โอเพนซอร์ส แทนที่โปรแกรมหรือระบบเชิงพาณิชย์ต้องมีการวางแผนเปลี่ยนผ่านให้ชัดเจน กำหนดนโยบายและระยะเวลาที่แน่นอน สื่อสารและทำความเข้าใจกับบุคลากรให้ดี มีการอบรมและทดลองใช้งานระบบอย่างจริงจัง มีการทำงานคู่ขนานกับการทำงานจริงบนระบบใหม่ และต้องยอมเสียสละในบางเรื่อง คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด
CopyCat : ระบบตรวจสอบลิขสิทธิ์ ผลงานวิชาการและวิทยานิพนธ์
CopyCat : ระบบตรวจสอบลิขสิทธิ์ ผลงานวิชาการและวิทยานิพนธ์ โดย สันติพงษ์ ไทยประยูร นักวิจัยห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเสียง หน่วยวิจัยวิทยาการสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปี 2557 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยพูดถึงความจำเป็นในการมีระบบการตรวจสอบการคัดลอก หรือ การคัดลอก หรือ Plagiarism ออกมาได้หลายรูปแบบ ได้แก่ การคัดลอกแบบ Copy & Paste การคัดลอกแนวคิด (Ideas) การถอดความ/การกล่าวซ้ำ (Paraphase) และการสรุปสาระสำคัญ (Summary) แทนการคัดลอกมาทั้งย่อหน้า ซึ่งถ้าไม่มีการอ้างอิง ถือว่าเข้าข่าย Plagiarism ได้กล่าวถึงเครื่องมือการตรวจสอบการคัดลอก ในประเทศไทย ได้แก่ CopyCat พัฒนาโดย เนคเทค Anti-Kobpae พัฒนาโดย Uknow มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และอักขราวิสุทธิ์ พัฒนาโดยคณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนต่างประเทศได้แก่ WriteCheck ใช้สำหรับนักเรียน/นักศึกษา Turnitin สำหรับอาจารย์ สถาบันการศึกษา และ iThenticate ใช้สำหรับนักวิจัย สำนักพิมพ์ และได้นำเสนอความสามารถของ CopyCat คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด
การประชุมวิชาการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การประชุมวิชาการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดอย่างต่อเนื่องมาทุกปี ตั้งแต่ปี 2550 ขอรวบรวมข้อมูลการประชุมดังกล่าว ดังนี้ (เรียงจากปีล่าสุด)
การประชุมวิชาการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2558 เรื่อง คิดใหม่ ทำใหม่ บรรณารักษ์ยุคใหม่ (Librarianship: the Next Generation) ระหว่างวันที่ 2-4 กันยายน 2558 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ
เนื้อหา แบ่งออกเป็น 2 ช่วง กล่าวคือ เป็น Pre-conference 1 วัน และ Conference จำนวน 2 วัน โดยในปีนี้เป็นการจัดในลักษณะที่เป็น Workshop
วันที่ 2 กันยายน เป็น Pre-Conference เรื่อง การปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Process Improvement)
วันที่ 3 และ วันที่ 4 ประกอบด้วยหัวข้อจำนวน 4 หัวข้อ หัวข้อละ 3 ชั่วโมง ในรูปแบบของสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (workshop) ได้แก่
1. Applied Mind Map for KM
2. Memory Techniques for 21st Century
3. Service Design Essential
4. Activities for Brain Training Continue reading การประชุมวิชาการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์