Tag Archives: การประชุมวิชาการประจำปี 2557 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การพัฒนาสมอง

ดิฉันได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมประชุมวิชาการสำนักหอสมุด  เรื่อง  “ คิดใหม่ ทำใหม่ บรรณารักษ์ยุคใหม่ ” Librarianship : the Next Generation   ซึ่งจัดโดยสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ระหว่างวันที่  2 – 4 กันยายน  2558 ณ ห้องราชาบอลรูม ชั้น 11  อาคาร 2 โรงแรมปรินซ์พาเลซ

มีหัวข้อในการประชุมครั้งนี้ คือ

  • การปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Process  Improvement)  โดยวิทยากร อาจารย์พัชรียา กุลนุช และ อาจารย์กุศล ทองวัน
  • การพัฒนาสมอง  (Activities for Brain Training)    บรรยายโดยวิทยากร  อาจารย์ธัญญา   ผลอนันต์
  • การเพิ่มพลังความจำ (Memory Power Enhancement)   บรรยายโดยวิทยากร อาจารย์ลัดดาวัลย์ ชูช่วย                         
  • การออกแบบการบริการ  (Service Design Essential)   บรรยายโดยวิทยากร อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล                            
  • การเขียนผังความคิด ( Applied Mind Map for KM )    บรรยายโดยวิทยากร  อาจารย์ดำเกิง ไรวา      

แต่ละหัวข้อมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ทางสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยได้สรุปประเด็นสำคัญพร้อมเอกสารประกอบไว้ให้แล้วที่  สรุปการประชุมวิชาการ  แต่ในส่วนของผู้เขียนเอง ประทับมากที่สุดในเรื่องของการพัฒนาสมอง และเรื่องของความจำ ในวันนั้น ได้มีการฝึกสมองหลายๆ อย่าง และวิทยากรมีวิธีการให้ฝึกความจำ ซึ่งจะพยายามนำไปฝึกอย่างต่อเนื่องต่อไป จึงจะขอสรุปทั้งสองเรื่อง ดังนี้                                     Continue reading การพัฒนาสมอง

Feed Back จากงานประชุมวิชาการประจำปี 2558 สำนักหอสมุด มธ. “คิดใหม่ ทำใหม่ บรรณารักษ์ยุคใหม่”

[html5video id=2]

จากการที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดการประชุมวิชาการประจำปี 2558 ภายใต้หัวข้อเรื่อง “คิดใหม่ ทำใหม่ บรรณารักษ์ยุคใหม่” ระหว่างวันที่ 2-4 กันยายน 2558 นั้น โดยที่ในปีนี้ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดประชุมวิชาการจากการบรรยายทางวิชาการแต่ละหัวข้อ มาเป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งเป็นการจัดรูปแบบใหม่มากสำหรับวงการบรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ หรือผู้ให้บริการสารสนเทศ ด้วยความตั้งใจในการจัดงานดังกล่าว สำนักหอสมุด ขอขอบคุณวิทยากร และผู้เข้าร่วมงานทุกท่าน และนี่คือส่วนหนึ่งของ feedback ที่ได้จากการจัดงานในครั้งนี้

Applied Mind Map for KM

การประชุมวิชาการประจำปี 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ของวันที่ 4 กันยายน 2558 ภายใต้หัวข้อ “คิดใหม่ ทำใหม่ บรรณารักษ์ยุคใหม่” หรือ “Librarianship : the Next Generation”  ช่วงบ่าย เป็นการบรรยายหัวข้อ “  Applied Mind Map for KM”  วิทยากรคือ อาจารย์ดำเกิง ไรวา   เป็นผู้เชี่ยวชาญการสอนเรื่องการนำ Mind Map ไปประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยเฉพาะทางด้านการตลาด  การขาย การสร้างความสัมพันธ์ในองค์กร และ การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ

Mindmap1

My map 1

Continue reading Applied Mind Map for KM

Activities for Brain Training

การประชุมวิชาการประจำปี 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันที่ 3 กันยายน 2558 ช่วงเช้าเป็นการบรรยาย เรื่อง  Activities for Brain Training หรือ การบริหารสมอง โดยอาจารย์ธัญญา ผลอนันต์ วิทยากรผู้ได้รับอนุญาตอบรมหลักสูตร Mind Mapping ที่ปรึกษาอิสระด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ผู้ก่อตั้งและนายกสมาคมความคิดสร้างสรรค์ ความจำและการเล่น สรุปเนื้อหาสำคัญได้ดังนี้

Brain_111

Continue reading Activities for Brain Training

Memory Power Enhancement

11949816_10207972186530693_192492032_n

ในการประชุมวิชาการประจำปี สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างวันที่ 2-4 กันยายน 2558 ภายใต้หัวข้อเรื่อง “คิดใหม่ ทำใหม่ บรรณารักษ์ยุคใหม่”  นั้น สำหรับวันที่ 3 กันยายน 2558 ประกอบด้วย 2 หัวข้อ คือ Activities for Brain Training และ Memory Power Enhancement

หลังจากที่ได้ฟังบรรยายเรื่อง Activities for Brain Training จากอาจารย์ธัญญา ผลอนันต์ในช่วงเช้าแล้ว  ในช่วงบ่ายผู้เขียนได้เข้าร่วมฟังบรรยายเรื่อง Memory Power Enhancement หรือเทคนิคเพื่อเสริมสร้างความจำ โดยอาจารย์ลัดดาวัลย์ ชูช่วย ซึ่งมีตำแหน่งเป็นแชมป์สุดยอดอัจฉริยะนักจำระดับประเทศในปี 2552 และ 2555 การบรรยายมีเนื้อหาสำคัญดังนี้ค่ะ

หลักการจำ มี 2 ข้อ ได้แก่
1. จินตนาการ (Imagination )
การใช้จินตนาการจะช่วยเรื่องความจำได้มาก สอดคล้องกับคำกล่าวของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่ว่า “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้”
2. การเชื่อมโยง (Association)
เป็นระบบพื้นฐานของระบบการจำทั้งหมด และเป็นการปูพื้นฐานไปสู่การเรียนรู้ขั้นต่อๆไป Continue reading Memory Power Enhancement

การปรับปรุงกระบวนการทำงาน (ด้วยกิจกรรม QCC)

การปรับปรุงกระบวนการทำงาน (ด้วยกิจกรรม QCC)  เป็นการบรรยายในวันที่ 2 กันยายน 2558 ซึ่งเป็นวันแรกหรือ Pre-Conference ของการประชุมวิชาการประจำปี 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้หัวข้อเรื่อง “คิดใหม่ ทำใหม่ บรรณารักษ์ยุคใหม่”  สรุปความสำคัญได้ดังนี้

การปรับปรุงกระบวนการทำงาน (ด้วยกิจกรรม QCC)  โดย คุณพัชรียา กุลานุช ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์บุคคลและพัฒนาองค์กร และ คุณกุศล ทองวัน ผู้จัดการ งานพัฒนาองค์กร ฝ่ายกลยุทธ์บุคคลและพัฒนาองค์กร

การบรรยายในภาคเช้าประกอบด้วย ประเด็นหัวข้อ

  • วัตถุประสงค์ของการปรับปรุงกระบวนการ
  • ความหมายของ “กระบวนการ (Process)”
  • เครื่องมือที่ใช้ในการปรับปรุงกระบวนการ
  • Process Improvement Tools  ได้แก่ QCC Story และ 7 QC Tools

เริ่มต้นการบรรยายด้วยคุณพัชรียา บรรยายในภาพรวมเพื่อให้เข้าใจถึงการปรับปรุงกระบวนการก่อนด้วยการแนะนำ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ทั้งวิสัยทัศน์ พันธกิจ รวมทั้ง ค่านิยมขององค์กร ซึ่งรวมกันเรียกตามชื่อย่อภาษาอังกฤษของ สวทช. คือ NSTDA  (National Science and Technology Development Agency) กล่าวคือ N หมายถึง Nation First, S หมายถึง S&T Excellence, T หมายถึงTeamwork, D หมายถึง Deliverability และ A หมายถึง Accountability & Integrity วิทยากรได้เน้นคำว่า Deliverability นั้น เป็นการส่งมอบงานให้กับลูกค้าจะต้องมีคุณภาพและตรงต่อเวลา ดังนั้น การส่งมอบงานที่มีคุณภาพ ย่อมต้องมีคุณภาพในการทำงาน การที่จะดำเนินกิจกรรมการปรับปรุงกระบวนงาน ต้องเปลี่ยน mind set ของบุคลากรก่อน เนื่องจากบุคลากรย่อมจะคุ้นกับสภาพที่เป็น Comfort Zone ไม่จำเป็นต้องทำหรือปร้บปรุง Continue reading การปรับปรุงกระบวนการทำงาน (ด้วยกิจกรรม QCC)

คิดใหม่ ทำใหม่ บรรณารักษ์ยุคใหม่ (Librarianship: the Next Generation)

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดประชุมวิชาการประจำปี 2558 ครั้งที่ 8 เรื่อง คิดใหม่ ทำใหม่ บรรณารักษ์ยุคใหม่ (Librarianship: the Next Generation) ระหว่างวันที่ 2-4 กันยายน 2558 ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ

เนื่องจากในปัจจุบันพัฒนาการของห้องสมุดมีความเจริญรุดหน้าไปมาก นอกเหนือจากการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการพัฒนางานเพื่อให้บุคลากรห้องสมุดสามารถปฏิบัติงานและให้บริการผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังมีการสร้างงานใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้สามารถนำทรัพยากรต่างๆ ของห้องสมุดไปใช้ในการเรียนการสอนและการวิจัยได้ตรงตามความต้องการและเกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งเนื้อหาสาขาวิชาต่างๆ ก็มีการพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งห้องสมุดต้องพยายามติดตามและพัฒนาให้ทันกันกับแนวโน้มที่จะเกิดในปัจจุบัน และต้องพยายามคาดการณ์ถึงอนาคตเพื่อให้ทันกับผู้ใช้และการเรียนการสอนและการวิจัย ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นความท้าทายของอนาคตที่ห้องสมุดจะต้องทำให้ได้และไปให้ถึง สำนักหอสมุดฯ จึงได้จัดการประชุมวิชาการนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าประชุมได้พัฒนาทักษะการทำงานที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานห้องสมุดหรือการจัดการความรู้
  2. เพื่อให้ผู้เข้าประชุมได้เครื่องมือที่ทันสมัยในการพัฒนากิจกรรมหรือการบริหารจัดการห้องสมุด
  3. เพื่อให้ผู้เข้าประชุมได้เรียนรู้แนวทางใหม่ๆ ในการพัฒนาตนเองและการทำงาน
  4. เพื่อให้ผู้เข้าประชุมได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นและประสบการณ์ในการพัฒนากิจกรรมและเครื่องมือต่างๆ ของห้องสมุด

การประชุมวิชาการในครั้งนี้ จึงประกอบด้วยหลักสูตรวิชาเชิงปฏิบัติการ ดังนี้

  1. การปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Process Improvement) วิทยากรโดย อาจารย์พัชรียา กุลนุช และ อาจารย์กุศล ทองวัน    เอกสารประกอบการบรรยาย
  2. Activities for Brain Training วิทยากรโดย อาจารย์ธัญญา ผลอนันต์
  3. Memory Power Enhancement วิทยากรโดย อาจารย์ลัดดาวัลย์ ชูช่วย เอกสารประกอบการอบรม
  4. Service Design Essential วิทยากรโดย อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล
  5. Applied Mind Map for KM วิทยากรโดย อาจารย์ดำเกิง ไรวา

การประชุมวิชาการ ประจำปี 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การประชุมวิชาการ ประจำปี 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มเปิดให้ผู้สนใจลงทะเบียนแล้วนะคะ

การประชุมวิชาการประจำปี 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาาลัยธรรมศาสตร์
การประชุมวิชาการประจำปี 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาาลัยธรรมศาสตร์

การประชุมวิชาการ ประจำปี 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้หัวเรื่อง “คิดใหม่ ทำใหม่ บรรณารักษ์ยุคใหม่” หรือ “Librarianship the next generation” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-4 กันยายน 2558 ที่โรงแรมปรินซ์ พาเลซ

ในการจัดประชุมวิชาการปีนี้ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปรับรูปแบบในการจัดประชุมวิชาการ โดยจัดในรูปของ workshop เพื่อแนะนำและถ่ายทอดเครื่องมือต่างๆ ที่น่าสนใจในการพัฒนาห้องสมุด เพื่อให้บรรณารักษ์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้เรียนรู้เครื่องมือและพัฒนาทักษะต่างๆ ในการบริหารจัดการห้องสมุด  ผู้ที่เข้าร่วมการประชุมวิชาการจะได้รับใบประกาศนียบัตรจากการผ่านหลักสูตรอบรมด้วยค่ะ

ทั้งนี้ สามารถติดตามรายละเอียดของโครงการได้ที่ โครงการประชุมวิชาการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Experience of a Myanmar Librarian

Experience of a Myanmar Librarian โดย Thaw Kaung ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปี 2555 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสรุปถึงประสบการณ์ในฐานะเป็นบรรณารักษ์ในพม่า ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957-1997  โดยรวมถึงการพยายามในการพัฒนา The Universities’ Central Library หรือ UCL การเรียนการสอนทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์  เป็นต้น คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด

Evolution of University Libraries and the Preparation for Integration in Asian Community by 2015

Evolution of University Libraries and the Preparation for Integration in Asian Community by 2015 โดย Somxay Khamphavong ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปี 2555 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงพัฒนาการของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศลาว ความร่วมมือระหว่างประเทศ เช่น การเป็นสมาชิกของ AUNILO การเป็นสมาชิกของ eIFL เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึง ความท้าทายในการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ การบูรณาการเป็นห้องสมุดอาเซียน คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด