All posts by นายชัยสิทธิ์ อังคะปัญญาเดช

ด้านใน ส.ศิวรักษ์ รวมคำพูดและข้อเขียน พ.ศ. ๒๕๕๖

หากนึกถึงชื่อของบุคคลที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์สังคม การเมือง การปกครอง อย่างไม่เกรงใจใคร หนึ่งในคนนั้นคงต้องมีชื่อของ ส.ศิวรักษ์ อย่างแน่แท้  “ด้านใน ส.ศิวรักษ์ รวมคำพูดและข้อเขียน พ.ศ. ๒๕๕๖” ไม่ได้เป็นเพียงหนังสือที่มีอารมณ์รุนแรงทางการเมือง วิพากษ์สถาบันศาสนา และสถาบันการศึกษา อย่างถึงไส้ เฉกเช่นเดียวกับงานเขียนเล่มก่อนๆ  แต่คือเนื้อแท้ของจิตวิญญาณแห่งเสรีชน ที่บอกเล่าถึงความเปลี่ยนแปลงทางสังคมผ่านทางทัศนะ เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย คำพูด บทสัมภาษณ์ และงานเขียน ที่ต้องบอกว่า

… อาจไม่ถูกจริตนักกับคนดัดจริต …

Continue reading ด้านใน ส.ศิวรักษ์ รวมคำพูดและข้อเขียน พ.ศ. ๒๕๕๖

เราพร้อมที่จะเกษียณแล้วหรือยัง ตอนที่ 1

หากกล่าวถึงคำว่าเกษียณให้วัยเริ่มทำงานได้ยินได้ฟัง คงไม่ใคร่มีใครสนใจฟังมากนัก ด้วยยังคิดว่าอีกนานโขกว่าเรานั้นจะเกษียณ ยังต้องทำงานอีกตั้ง 20 – 30 ปี  ถ้าเช่นนั้นขอถามว่า ….

แล้วเราจะพร้อมที่จะเกษียณเมื่อไหร่กันหล่ะ”

หลังจากเกษียณแล้วเราจะใช้จ่ายอย่างไร  เงินออมและผลตอบแทนจากการลงทุนเพียงพอที่จะใช้ในยามที่เกษียณหรือไม่ หากเจ็บป่วยจะทำอย่างไร  หรือเราต้องทำงานไปตลอดชีวิต เราสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้มั๊ย หากตอบได้ คุณคือผู้ที่จะมีชีวิตในวันที่เกษียณอย่างมีความสุข หากตอบไม่ได้ คงต้องเริ่มคิดแล้วว่าคุณฝันถึงวันที่เกษียณเช่นไร

Continue reading เราพร้อมที่จะเกษียณแล้วหรือยัง ตอนที่ 1

จากสมุดหน้าเหลือง สู่ Online Directory

เมื่อก่อนสัก 20 ปีที่แล้ว ในยุคที่อินเทอร์เน็ตยังไม่แพร่หลาย หากเราต้องการค้นหาหมายเลขโทรศัพท์เพื่อติดต่อใครสักคน หลายคนคงนึกถึง สมุดหน้าเหลือง หรือ Yellow Pages เป็นแน่ หากเป็นการค้นหาหมายเลขติดต่อในองค์กร ก็คงหนีไม่พ้นสมุดที่รวบรวมรายชื่อ (Directory) ซึ่งกว่าจะเปิดหาได้ก็ใช้เวลาค่อนข้างนาน และกว่าอัพเดทข้อมูลกันสักทีก็ต้องรอกันเป็นปีเลยทีเดียว

Continue reading จากสมุดหน้าเหลือง สู่ Online Directory

เครื่องมือป้องกันการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (Plagiarism detection tools)

เนื่องจากในปัจจุบันพบการกระทำที่   เรียกว่า การโจรกรรมทางวรรณกรรม (Plagiarism) ในทางวิชาการเพิ่มมากขึ้นและมักปรากฏเป็นข่าวทางสื่อ หรือเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่สุจริตทางวิชาการในวงกว้าง ถึงความมักง่ายทางวิชาการ ที่ผู้นำเสนอไปคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาโดยไม่อ้างถึง ทั้งที่เจตนาและไม่เจตนา ทำให้เกิดผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของวงการวิชาการในระดับนานาชาติ

News2

Continue reading เครื่องมือป้องกันการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (Plagiarism detection tools)

Plagiarism ความไม่สุจริตทางวิชาการ

Plagiarism (เพล้ต-เจอ-ริ-ซึ่ม) มีรากศัพท์มาจากคำละติน Plagiarius มีความหมายว่า “ผู้ลักพาตัว”

พจนานุกรม Longman Dictionary of Contemporary English, New Edition 2003 ให้ความหมายว่า

  1. เมื่อผู้หนึ่งผู้ใดใช้คำพูด ความคิด หรืองานของคนอื่น และเสแสร้งว่าเป็นของตนเอง
  2. ความคิด ข้อความส่วนหนึ่ง หรือเรื่องราวที่คัดลอกมากจากงานของคนอื่นโดยไม่ระบุว่ามาจากที่ใด

ในภาษาไทยเองนั้นราชบัณฑิตยสถาน บัญญัติคำว่า Plagiarism ไว้ว่า    การโจรกรรมทางวรรณกรรม (สาขาวรรณกรรม) หรือ การลอกเลียนวรรณกรรม (สาขานิติศาสตร์) หมายถึง การนำผลงาน ความคิด หรือคำพูดของผู้อื่นไปใช้โดยไม่ให้เครดิตหรือ การนำความคิดและงานของผู้อื่นมาเขียน โดยทำให้ดูเหมือนว่ามาจากความคิดของตนเอง

ซึ่งถือเป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณทางวิชาการอย่างร้ายแรง เป็นความไม่สุจริตทางวิชาการ (Academic Dishonesty) จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นอาชญากรรมทางวิชาการ

Continue reading Plagiarism ความไม่สุจริตทางวิชาการ