Tag Archives: งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญ

อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

 

อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

“อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติ”  จัดตั้งขึ้นโดยกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ ณ ค่ายพระรามหก จังหวัดเพชรบุรี  เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสที่เจริญพระชนมายุครบ 4 รอบ ในปีพุทธศักราช 2546  โดยมีแนวทางในการดำเนินการตามแนวพระราชดำริและพระราชกรณียกิจ ที่ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงงานในบริเวณค่ายพระรามหก เป็นแนวทางในการดำเนินงานให้อุทยานฯ เป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต และเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2543 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชานุญาตให้อัญเชิญพระ นามาภิไธยเป็นนามอุทยานว่า “อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร” (The Sirindhorn International Environmental Park) และพระราชทานพระราชานุญาตให้อัญเชิญอักษรพระนามาภิไธย “สธ” ประดับตราสัญลักษณ์ของอุทยาน
รายการอ้างอิง

อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2558 จาก http://sirindhornpark.or.th/2014/TH/

 

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่ 50)

ธัญสิริน ข้าวเหนียว นามพระราชทาน

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานนามข้าว “ธัญสิริน” ซึ่งพัฒนาโดยหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าวและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พัฒนาสายพันธุ์ข้าวเหนียวต้านทานโรคไหม้ โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือกร่วมกับการปรับปรุงพันธุ์แบบวิธีมาตรฐาน จนได้ข้าวเหนียวที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับพันธุ์ กข 6 แต่มีความต้านทานโรคไหม้ ซึ่งเริ่มพัฒนาตั้งแต่ปี 2545 ใช้เวลาในการพัฒนาประมาณ 4 ปี  “ธัญสิริน” ซึ่งมาจากคำว่า “ธัญ” ที่แปลว่าข้าว และพระนาม “สิรินธร” ถือเป็นข้าวพันธุ์แรกที่ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

รายการอ้างอิง
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ.
“ธัญสิริน” พันธุ์ข้าวเหนียวพันธุ์ใหม่ นามพระราชทาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2558 จาก http://www.biotec.or.th/th/index.php/announced-thai/news-organization/news-2553/193-2013-11-23-10-10-42

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่ 49)

HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn as Travel Author

Translations and an updated bibliography are needed.

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/60/%E4%BD%9B%E6%95%99%E4%B9%8B%E7%8E%8B%E5%A0%82_%E3%82%B7%E3%83%AA%E3%83%B3%E3%83%88%E3%83%BC%E3%83%B3%E7%8E%8B%E5%A5%B3%E5%8F%82%E8%A9%A3%EF%BC%88%E5%B1%B1%E9%96%80%EF%BC%89.jpg/573px-%E4%BD%9B%E6%95%99%E4%B9%8B%E7%8E%8B%E5%A0%82_%E3%82%B7%E3%83%AA%E3%83%B3%E3%83%88%E3%83%BC%E3%83%B3%E7%8E%8B%E5%A5%B3%E5%8F%82%E8%A9%A3%EF%BC%88%E5%B1%B1%E9%96%80%EF%BC%89.jpg

The writing talents of HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn deserve to be better known overseas.

Continue reading HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn as Travel Author

เข็มที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

เข็มที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เข็มที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ ๕ รอบ ในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้จัดทำเข็มที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ เพื่อจำหน่าย โดยนำเงินรายได้สมทบทุน “มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา”

เข็มที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ มีลักษณะเป็นโลหะชุบทองลงยาสี ขนาดประมาณ ๓.๕ เซนติเมตร ด้านหน้าเป็นอักษรพระนามาภิไธย “สธ” และเลข “๖๐”

ด้านหลังจารึกตราประจำสำนักนายกรัฐมนตรี บรรจุในกล่องสีม่วง ฝากล่องด้านนอกเป็นอักษรพระนามาภิไธย “สธ” สีทอง ด้านในกล่องจารึกข้อความว่า “เข็มที่ระลึกงานฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘”

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  47)

แสตมป์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เตรียมออกแสตมป์ที่ระลึก เนื่องในโอกาสมหามงคล ฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  โดยจะนำออกจำหน่ายวันที่ 2 เมษายน 2558 เป็นวันแรก ประกอบด้วย

  • ซองงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ซองงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ซองงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ภาพจาก http://www.postemart.com/zoomproduct1.php? img=P001483.jpg

  • ชีทงานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ชีทงานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ชีทงานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ภาพจาก http://www.postemart.com/zoomproduct1.php?img=P001482.jpg

  • งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (เต็มแผ่น)
    งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (เต็มแผ่น)
    งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (เต็มแผ่น)

    ภาพจาก http://www.postemart.com/zoomproduct1.php?img=P001481.jpg

  • งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

    งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ภาพจาก  http://www.postemart.com/zoomproduct1.php?img=P001480.jpg

ดูรายละเอียดได้ที่ ไปรษณีย์ไทยชุดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

รายการอ้างอิง
บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด. งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม2558. จาก http://www.postemart.com/product1.php?group=PG00426&&filename=P001483.jpg&file_name=

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  46)

ราชกุมารีนารีรัตน์ 6 ทศวรรษจรัสเจริญ

ปฏิทินแบบแขวน
ปฏิทินแบบแขวน
ปฏิทินแบบตั้งโต๊ะ
ปฏิทินแบบตั้งโต๊ะ

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้จัดทำปฏิทินทั้งแบบแขวน (ชื่อว่า 6 ทศวรรษวารผสานใจ ภูมิไผทถวายมงคล) และแบบตั้งโต๊ะ  (ชื่อว่า ราชกุมารีนารีรัตน์ 6 ทศวรรษจรัสเจริญ) เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ชุด “ราชกุมารีนารีรัตน์ 6 ทศวรรษจรัสเจริญ” ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมายุ 60 พรรษา 2 เมษายน พุทธศักราช 2558 เพื่อถวายความจงรักภักดีต่อพระองค์ผู้ทรงเป็นรัตนะในดวงใจพสกนิกรไทยตลอดกาล

รายการอ้างอิง
ธนาคารอาคารสงเคราะห์. 2558. ราชกุมารีนารีรัตน์ 6 ทศวรรษจรัสเจริญ. (ปฏิทิน)
ธนาคารอาคารสงเคราะห์.2558. 6 ทศวรรษวารผสานใจ ภูมิไผทถวายมงคล. (ปฏิทิน)

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  45)

ห้องสมุดตามบ้าน (Home library)

พระราชนิพนธ์ เรื่อง โรมัญสัญจร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงขึ้นเมื่อครั้งเสด็จเยือนประเทศอิตาลีระหว่างวันที่ 3-16 เมษายน พ.ศ. 2531 เพื่อทรงร่วมเป็นกรรมการตัดสินหนังสือเด็กของ International Board on Books for Young People (IBBY) ณ เมืองโบโลญญา ด้วยความสนพระทัยในการส่งเสริมการอ่านและห้องสมุดเด็ก พระองค์ได้มีพระราชดำรัสถามคุณเพลลูสกี้ (Ms. Anne Pellewski) ผู้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินฯ ชาวอเมริกัน ให้อธิบายเรื่อง Home library หรือห้องสมุดตามบ้าน ซึ่งคุณเพลลูสกี้ไปจัด workshop ที่ไนจีเรีย ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี พระองค์ทรงบันทึก ดังนี้ [1]

“ระบบห้องสมุดแบบนี้ คือ การหัดให้ชาวบ้าน (ส่วนใหญ่เป็นพวกแม่บ้าน) ให้รู้จักเล่านิทาน เขาจัดเป็น workshop ประมาณ 5-7 วัน บรรยากาศไม่ให้เคร่งเครียดนักเป็นการคุยกันเล่น ไม่ต้องมีพิธีรีตองอะไร เขามีวิธีการ คือ ชาวบ้านจะรวบรวมหนังสือส่วนตัวหรือหนังสือที่มีผู้บริจาค หรืออาจจะยืมจากห้องสมุด แล้วป่าวประกาศให้คนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆ มาอ่านหนังสือกัน ผู้ที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์จะต้องมีเทคนิคในการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เล่าเรื่องให้เด็กสนใจอยากฟังและอยากอ่านต่อเอง เขาแนะนำให้ทำหนังสือขึ้นมาเอง โดยการนำเรื่องที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นมาเขียนบันทึกไว้” Continue reading ห้องสมุดตามบ้าน (Home library)

โคลัมบัสกับหนังสือ

การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเข้ามาในห้องสมุด เช่น การซื้อหนังสือเข้ามาไม่ว่าจะเล่มเดียวหรือหลายเล่มก็ตาม ต้องมีข้อมูลที่จำเป็นของการจัดซื้อหนังสือเล่มนั้นๆ บันทึกเก็บไว้ เช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ ร้านค้า สำนักพิมพ์ ราคา เบอร์ติดต่อ และข้อมูลอื่นๆ ที่ห้องสมุดเห็นความจำเป็นในการบันทึกไว้

ไม่น่าเชื่อ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ที่รู้จักกันดี ได้เขียนข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ ไว้ในหนังสือทุกเล่มที่เขาซื้อมาด้วยเช่นกัน ขออัญเชิญข้อความจากหนังสือ เรื่อง ทวิภาคสัญจร พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินงานเอกซโปที่เมืองเซวีญา ประเทศสเปน ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 โดยเสด็จพระราชดำเนิน ทอดพระเนตรห้องสมุดโคลัมบัส ดังนี้ [1]

“ห้องสมุดโคลัมบัส (Biblioteca Columbina) มีหนังสือเก่าๆ มาก แต่ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ ส่วนที่บุตรชายของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส บริจาคให้ เป็นหนังสือ เอกสาร ต้นฉบับ เกือบ 5,000 เล่ม ที่สำคัญมากต่อวิชาการห้องสมุด คือ เขาจะเขียนไว้ในหนังสือทุกเล่ม ว่าเขาซื้อหนังสือนี้มาจากไหน เมื่อไร ราคาเท่าใด เขียนเบอร์ไว้ด้วย”

รายการอ้างอิง

[1] เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. ทวิภาคสัญจร. กรุงเทพฯ : ธนาคารไทยพาณิชย์, 2535.

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  43)

ความสำคัญของหนังสืออยู่ที่เนื้อหา

จากพระราชนิพนธ์ เรื่อง ประพาสภาษา ในสมเด็จพระเทพร้ตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งทรงบันทึกเมื่อไปเสด็จพระราชดำเนินไปเรียนภาษาเยอรมันที่เมืองเกิตติงเงน ได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรห้องสมุด Herzog August ทรงบันทึกถึงลักษณะหนังสือของ Herzog August ไว้ดังนี้

หนังสือของ Herzog August มีลักษณะพิเศษคือ ห่อปกด้วยหนังสีขาวอย่างเรียบๆ เขียนชื่อหนังสือที่ปกด้วยลายมือบนเล่มเหมือนกับเอาแผ่นหนังที่ใช้แล้วมาห่อ ความคิดของท่าน คือ ความสำคัญของหนังสืออยู่ที่เนื้อหา ปกมีไว้เพียงเพื่อรักษาหนังสือให้ดี และให้รู้ว่าเล่มไหน เป็นเล่มไหน ท่านทำแคตาล็อกหนังสือด้วยตนเองด้วย

เยี่ยมชมห้องสมุด Herzog August ได้ที่ http://www.hab.de/en/home.html

รายการอ้างอิง:
เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. ประพาสภาษา. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2546.

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  42)

พระราชนิพนธ์ชุดเสด็จเยือนต่างประเทศ

ทุกครั้งที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ มักจะมีพระราชนิพนธ์จากการเยือนแต่ละประเทศอยู่เสมอ เป็นเสมือนบันทึกการเดินทาง ที่ทรงบันทึกสิ่งที่ทอดพระเนตร ความคิดเห็นต่อสิ่งนั้น ที่ทรงถ่ายทอดออกมาเป็นพระราชนิพนธ์ที่มีคุณค่า เพราะสิ่งที่ได้อ่านนั้นเป็นความรู้ที่หาได้ยากจากที่อื่น จึงขอรวบรวมพระราชนิพนธ์ชุดเสด็จเยือนต่างประเทศ มานำเสนอ โดยเรียงตามลำดับปีของการเสด็จฯ ดังนี้

2520-2523

เล่าเรื่องเมืองฝรั่ง (Tales of Foreign Land)

  •  10-21 เมษายน 2520 อิสราเอล
  •  28 เมษายน-1 พฤษภาคม 2523  เนเธอร์แลนด์
  •  19 พฤษภาคม-2 มิถุนายน 2523 ฝรั่งเศส
  •  3-4 มิถุนายน 2523  เบลเยี่ยม
  •  5-7 มิถุนายน 2523 สวิตเซอร์แลนด์
  •  8-17 มิถุนายน 2523  อังกฤษ

2524

ย่ำแดนมังกร  (Treading the Dragon Land)
12-20 พฤษภาคม 2524  – สาธารณรัฐประชาชนจีน (ครั้งที่ 1)

2527

ชมช่อมาลตี (Joys of Jasmine)
2-16 ตุลาคม 2527   – อินโดนีเซีย

ทัวร์น้องโจ้  (Kangkaroo Tour)
17-29 ตุลาคม 2527  – ออสเตรเลีย
Continue reading พระราชนิพนธ์ชุดเสด็จเยือนต่างประเทศ