Tag Archives: การอ่านหนังสือ

พิภู พุ่มแก้ว : ทำให้การอ่านเป็นความเคยชิน

พิภู พุ่มแก้ว (ต๊ะ) ผู้ประกาศข่าว ประจำ THE STANDARD Daily

พิภู พุ่มแก้ว
พิภู พุ่มแก้ว

ศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รหัส 45

เมื่อถามว่า คุณชอบอ่านหนังสือไหม และอะไรเป็นแรงบันดาลใจให้คุณเริ่มอ่านหนังสือ ต่างคนก็ต่างมีเหตุผลกันไป

สำหรับ  “พิภู พุ่มแก้ว” เริ่มฝึกฝนการเป็นนักอ่านตั้งแต่มัธยมต้น เขาติดการอ่าน และทำให้การอ่านเป็นความเคยชิน  เพราะเชื่อว่า หนังสือมีประโยชน์ ถึงอาจจะไม่ใช่วันนี้ ก็อาจจะเป็นในอนาคต Continue reading พิภู พุ่มแก้ว : ทำให้การอ่านเป็นความเคยชิน

วิธีการสร้างแรงบันดาลใจในการอ่านหนังสือ

การอ่านหนังสือสำหรับบางคนต้องมีแรงบันดาลใจถึงจะอ่านหนังสือได้ สมัยดิฉันเรียนมัธยมฯ มีความรู้สึกไม่อยากอ่านหนังสือเลย เวลาอ่านหนังสือทุกครั้งเหมือนหนังสือเป็นยานอนหลับอ่านได้สักพักก็จะง่วงนอนแล้วทำให้ขี้เกียจอ่านหนังสือ ดิฉันมีวิธีการสร้างแรงบันดาลในการอ่านหนังสือมาฝากกัน น่าจะมีประโยชน์กับทุกคนที่กำลังหาแรงบันดาลใจในการอ่านหนังสืออย่างไร และจะได้มีความสุขในการอ่านหนังสือนะคะ Continue reading วิธีการสร้างแรงบันดาลใจในการอ่านหนังสือ

อ่าน อ่าน แล้วก็อ่าน

การอ่าน มีความสำคัญมากสำหรับทุกคน  เริ่มเรียนรู้หัดอ่านตั้งแต่ยังเป็นเด็กๆ ต้องฝึกทักษะในการอ่านผ่านเรื่องราวประสบการณ์ต่างๆ ที่เด็กสนใจ แม้ว่าเราจะเข้าสู่วัยชรา การอ่านก็ยังมีความสำคัญ   การอ่านทำให้รู้ข่าวสารข้อมูลต่างๆ และมีความอยากรู้อยากเห็น อยากเรียนรู้ ทำให้ผู้อ่านมีความสุขในการอ่าน

ดิฉันก็เป็นอีกคนที่ต้องสอนลูกอ่านหนังสือทุกวัน อ่าน อ่าน แล้วก็อ่าน เพื่อที่จะให้ลูกอ่านหนังสือให้ได้ ต้องฝึกทักษะในการอ่านทุกวัน เช่น การที่ให้ลูก อ่านภาพจากหนังสือนิทาน ลูกสามารถอธิบายจากภาพนั้นได้
อ่านเครื่องหมายและอ่านสัญลักษณ์ ลูกสามารถเข้าใจความหมายของเครื่องหมายและสัญลักษณ์นั้น  แล้วเริ่มให้อ่านสะกดคำจากหนังสือที่ลูกสนใจหรือหนังสือจากโรงเรียนให้มา เช่น กา นา ตา หู ขา อา ปู มา    ก่อนจะอ่านหนังสือ  ดิฉันจะตกลงกับลูกก่อนวันนี้จะอ่านบทไหนดีมีเรื่องไหนที่ลูกอยากอ่าน  ถ้าลูกอยากอ่านเรื่องนี้เขาจะมีความสุขในการอ่านมาก  เวลาหัดให้ลูกอ่านหนังสือคุณแม่ต้องใจเย็นๆ แม้ว่าลูกจะอ่านผิดอ่านถูกต้องค่อยๆ สอนเขาและให้กำลังใจลูกเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเขา  ถ้าลูกอ่านได้เราต้องชมเขาหน่อยเขาจะได้ดีใจและตั้งใจอ่านหนังสือ และควรปลูกฝังและส่งเสริมให้ลูกรักการอ่านอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เกิดความคุ้นเคยและเคยชินกับการอ่าน

1

2

3

ชั่วชีวัน ฉันอ่านได้ ไม่เบื่อเลย

ปาฐกถาพิเศษเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 “ชั่วชีวัน ฉันอ่านได้ ไม่เบื่อเลย” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการประชุมทางวิชาการสำนักงานวิทยทรัพยากร ประจำปี 2558 เรื่อง ก้าวไปด้วยกัน (Library 2015 : Together We Go) วันที่ 28 พฤษภาคม 2558 ณ โรงแรมอโนมา ถอดความโดยสรุปได้ ดังนี้

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สิ่งที่พระองค์ท่าน ทอดพระเนตร คือ เรื่อง ห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นมุมที่ไว้หนังสือ หรือจะเป็นห้องสมุดจริงๆ ไม่ว่าจะเล็ก หรือใหญ่ และสถานที่เสด็จฯ ไป shopping จริงๆ คือ ร้านหนังสือ  พระองค์ท่านไม่เพียงแต่อ่านหนังสือ จะเห็นว่าทรงพระราชนิพนธ์ ทรงทำหนังสือ ถ่ายหนังสือ เผยแพร่หนังสือ อ่านหนังสือ ตรวจหนังสือ จัดหนังสือ และทำให้คนอื่นอ่านหนังสือ มาโดยตลอด  พระองค์ท่านรับสั่งว่า ใครทิ้งหนังสือแสดงว่าไม่เคยทำหนังสือ ไม่เคยรู้ว่าหนังสือแต่ละเล่มกว่าจะเสร็จ ยากแค่ไหน พระองค์ท่าน ทรงเป็น genius คือ อ่านแล้วสังเกตออกมาได้   พระหัตถ์ของพระองค์ท่าน จะไม่ห่างจากหนังสือ นอกจากจะมีสมุดเล่มเล็กๆ ก็จะมีหนังสืออยู่เสมอ Continue reading ชั่วชีวัน ฉันอ่านได้ ไม่เบื่อเลย

วันหนังสือโลกและลิขสิทธิ์ (World Book and Copyright Day)

ทุกวันที่ 23 เมษายน ถือว่าเป็นวันหนังสือโลกและลิขสิทธิ์ เนื่องจากในปี ค.ศ. 1616  เป็นวันที่กวีเอกของโลก อย่าง Cervantes, Shakespeare และ Inca Garcilaso de la Vega เสียชีวิตในวันนั้น นอกจากนี้ ยังเป็นทั้งวันเกิดและวันเสียชีวิตของนักเขียนอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน เช่น Maurice Druon, Haldor K.Laxness, Vladimir Nabokov, Josep Pla และ Manuel Mejía Vallejo

วันหนังสือและลิขสิทธิ์โลก (World Book and Copyright Day)
วันหนังสือและลิขสิทธิ์โลก (World Book and Copyright Day)

Continue reading วันหนังสือโลกและลิขสิทธิ์ (World Book and Copyright Day)

ห้องสมุดตามบ้าน (Home library)

พระราชนิพนธ์ เรื่อง โรมัญสัญจร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงขึ้นเมื่อครั้งเสด็จเยือนประเทศอิตาลีระหว่างวันที่ 3-16 เมษายน พ.ศ. 2531 เพื่อทรงร่วมเป็นกรรมการตัดสินหนังสือเด็กของ International Board on Books for Young People (IBBY) ณ เมืองโบโลญญา ด้วยความสนพระทัยในการส่งเสริมการอ่านและห้องสมุดเด็ก พระองค์ได้มีพระราชดำรัสถามคุณเพลลูสกี้ (Ms. Anne Pellewski) ผู้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินฯ ชาวอเมริกัน ให้อธิบายเรื่อง Home library หรือห้องสมุดตามบ้าน ซึ่งคุณเพลลูสกี้ไปจัด workshop ที่ไนจีเรีย ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี พระองค์ทรงบันทึก ดังนี้ [1]

“ระบบห้องสมุดแบบนี้ คือ การหัดให้ชาวบ้าน (ส่วนใหญ่เป็นพวกแม่บ้าน) ให้รู้จักเล่านิทาน เขาจัดเป็น workshop ประมาณ 5-7 วัน บรรยากาศไม่ให้เคร่งเครียดนักเป็นการคุยกันเล่น ไม่ต้องมีพิธีรีตองอะไร เขามีวิธีการ คือ ชาวบ้านจะรวบรวมหนังสือส่วนตัวหรือหนังสือที่มีผู้บริจาค หรืออาจจะยืมจากห้องสมุด แล้วป่าวประกาศให้คนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆ มาอ่านหนังสือกัน ผู้ที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์จะต้องมีเทคนิคในการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เล่าเรื่องให้เด็กสนใจอยากฟังและอยากอ่านต่อเอง เขาแนะนำให้ทำหนังสือขึ้นมาเอง โดยการนำเรื่องที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นมาเขียนบันทึกไว้” Continue reading ห้องสมุดตามบ้าน (Home library)

ลองวางมือถือ…แล้วหยิบหนังสือ

ทุกวันนี้ผู้ที่อาศัยรถไฟฟ้าหรือรถไฟใต้ดิน เป็นพาหนะในการเดินทางไปที่ต่างๆ มักจะคุ้นชินกับภาพผู้คนประมาณ 70% ที่ก้มหน้าก้มตาจดจ่อกับวัตถุเรืองแสงในมือ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตก็ตาม บางคนเห็นแล้วก็รู้สึกเฉยๆ บางคนก็รู้สึกรำคาญสายตา จนมีคำที่ออกมาใช้เรียกคนกลุ่มนี้กันอย่างแพร่หลายว่า “สังคมก้มหน้า”

ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกาในมหานครนิวยอร์คเค้าก็มีสังคมก้มหน้าเหมือนกันนะ แต่เค้าก้มหน้าอ่านหนังสือแทนที่จะก้มดูจอสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตกัน ข้อมูลนี้ถูกเก็บรวบรวมโดยคนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีความเชื่อว่าพฤติกรรมการอ่านหนังสือจะทำให้คุณดูดีขึ้น และตั้งเป็น account บนอินสตาแกรม โดยใช้คำว่า Hot Dudes Reading (ฮอท ดูดส์ รีดดิ้ง) เพื่อรวบรวมและเผยแพร่ภาพผู้ที่ชื่นชอบอ่านหนังสือระหว่างการเดินทาง

photo 5 photo 4

Hot Dudes Reading เป็นอิสตาแกรมที่ได้รับความสนใจและมีผู้ติดตามเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ละรูปที่ถูกโพสต์ขึ้นก็มีคนจำนวนมากมากดไลค์ เพราะนอกจากภาพที่ดูสวยงานแล้ว แคปชั่นที่ประกอบรูปก็ดูน่าสนใจไม่แพ้กัน ผู้เขียนเองก็เป็นหนึ่งในคนที่ติดตาม ทั้งอิสตาแกรมและเฟซบุ๊ค Hot Dudes Reading นี้ด้วยค่ะ

photo 1 photo 3

สำหรับผู้ที่สนใจก็สามารถกดตาม Link นี้ไปได้เลยนะคะ

ส่วนใครที่ยังมัวแต่กดสมาร์ทโฟน/แท็บเล็ต ลองเปลี่ยนมาหยิบหนังสือดีๆ ซักเล่มติดมือเวลาไปไหนมาไหน นอกจากจะได้ประโยชน์จากการอ่านหนังสือมากมายที่หลายๆ คนรู้กันอยู่แล้ว คุณยังดูแตกต่างจากสังคมก้มหน้าที่มีอยู่เกลื่อนในสังคมปัจจุบันนี้อีกด้วย

รู้ทัน!!!! พฤติกรรมการอ่านหนังสือของคนไทย (2557-2558)

llll สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน วันนี้บรรณารักษ์ตัวจิ๋วมีข่าวมาบอก……..
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมาได้มีการประชุม แถลงข่าว “ผลวิจัย การอ่าน คนไทยอ่านอะไร” ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติ สิริกิติ์ ดำเนินการวิจัยโดย คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและธุรกิจ ภายใต้ทุนสนับสนุนจาก สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) 

โดยผลสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของคนไทยภายใต้งานวิจัย “การศึกษาพฤติกรรมการอ่านและซื้อหนังสือของคนไทย” โดยได้สำรวจจากกลุ่มตัวอย่างเป้าหมายอายุ 15-69 ปี รวมจำนวนทั้งสิ้น 3,432 ตัวอย่าง จาก 8 จังหวัดหัวเมืองใหญ่ในประเทศไทย

พบว่า พฤติกรรมการอ่านโดยทั่วๆ ไป ของคนไทย ซึ่งรวมไปถึงตำราเรียน หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นเช่นเว็บไซต์ ฯลฯ  ส่วนใหญ่ 88% ระบุว่า อ่าน อีก 12% ระบุ ไม่อ่านเลย โดยให้เหตุผลในเรื่องของการไม่มีเวลาอ่าน สายตาไม่ดี และไม่ชอบอ่านหนังสือ

150223102006yRhT

Continue reading รู้ทัน!!!! พฤติกรรมการอ่านหนังสือของคนไทย (2557-2558)

แนะนำการใช้หนังสืออย่างถูกต้อง

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มีหนังสือให้บริการอย่างมากมายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และขนาดของหนังสือแต่ละเล่มไม่เหมือนกัน เล่มเล็ก เล่มใหญ่บ้าง ปกแข็ง ปกอ่อนบ้าง และผู้รับบริการของหอสมุดฯ ก็มีหลากหลายประเภทเช่นกัน ถ้าผู้อ่านใช้หนังสือไม่ถูกวิธีอาจทำให้หนังสือเกิดการชำรุดเสียหาย จึงมีวิธีแนะนำการใช้หนังสืออย่างถูกต้องสำหรับผู้รับบริการของหอสมุดปรีดีฯ มีดังนี้

1. ไม่ขีดเขียนข้อความใดๆ ลงในหนังสือ
2.  ไม่ฉีก หรือตัดหน้าหนังสือ จะทำให้ข้อความบางตอนไม่สมบูรณ์ ผู้ที่มาอ่านภายหลังไม่ได้ข้อมูลในส่วนที่ขาดหายไป
3.  ต้องดูแลหนังสือไม่ให้เปียกน้ำ เพราะจะทำให้หนังสือชื้น ขึ้นราได้ Continue reading แนะนำการใช้หนังสืออย่างถูกต้อง

การอ่านเพื่อความพร้อมในการเป็นพลเมืองอาเชียน

เมื่อวันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 ได้เข้าร่วมฟังบรรยาย เรื่อง การอ่านเพื่อความพร้อมในการเป็นพลเมืองอาเซียน ณ ห้องประชุม 7-10 อาคารห้องสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต วิทยากรในวันนั้น คือ คุณวรพันธ์ อุไรรัตน์ กรรมการผู้จัดการบริษัทสถาพรบุ๊คส์ จำกัด และอดีตนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

ประเด็นของการพูด ก็คือ ทำอย่างไรจะให้เด็กไทยอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น เพราะถ้าจะว่าไปแล้วความสามารถของประเทศไทยก็ไม่ได้ด้อยกว่าประเทศในแถบอาเซียน วิทยากรได้อ้างข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลกสิกรไทยโดยเปรียบเทียบไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ในหัวข้อต่างๆ ดังนี้

  • อันดับความสามารถในการแข่งขันของไทย หากปรียบเทียบกับประเทศในอาเซียนยังเป็นรองสิงคโปร์และมาเลเซีย แต่สูงกว่าอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
  • สถานะการแข่งขันของไทยลดลงมาเป็นลำดับ         ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่มีการพัฒนาในทิศทางที่ดีขึ้น โดยอุปสรรคที่สำคัญของไทยคือ การพัฒนาด้านการศึกษา เทคโนโลยีและนวัตกรรม ปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง รวมทั้งประสิทธิภาพของกลไกภาครัฐ
  • สิ่งที่ไทยต้องปรับปรุงเพื่อขีดความสามารถในการแข่งขัน                ต้องเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ เทคโนโลยีและสารสนเทศ  ศักยภาพของคน และเครือข่ายธุรกิจตลอดจนสร้างความโปร่งใสของกลไกรัฐ