เช้าวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสไปปฏิบัติภารกิจร่วมกับคณะบุคลากรจากสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อถ่ายภาพต้นกล้วยที่คลอง 10 จังหวัดปทุมธานี ของพระโสภณ คณาภรณ์ รองเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ที่ท่านได้ปลูกไว้เพื่อนำมาเผยแพร่เรื่องของต้นกล้วยที่น่าสนใจให้กับสาธารณะชนทั่วไป Continue reading เรื่องกล้วยๆ ที่ไม่กล้วย
Tag Archives: กล้วย
กล้วย สรรพคุณและประโยชน์ของกล้วย 33 ข้อ
“กล้วย” เป็นพรรณไม้ล้มลุกในสกุล Musa มีหลายชนิดในสกุล บางชนิดก็ออกหน่อแต่ว่าบางชนิดก็ไม่ออกหน่อ ใบแบนยาวใหญ่ ก้านใบตอนล่างเป็นกาบยาวหุ้มห่อซ้อนกันเป็นลำต้น ออกดอกที่ปลายลำต้นเป็น ปลี และมักยาวเป็นงวง มีลูกเป็นหวี ๆ รวมเรียกว่า เครือ
ในบ้านเราที่เห็นกันทั่วไป จะมีทั้ง กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยหักมุก เป็นต้น ลักษณะภายนอก และรสชาติแตกต่างกันไป กล้วยเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ นอกจากผลที่สามารถหารับประทานได้ตลอดทั้งปีแล้ว เป็นพืชที่เราสามารถนำทุกส่วนมาใช้ประโยชน์ ไม่ว่าลำต้น ใบ ปลี เรามาดูประโยชน์อันหลากหลายของกล้วยกัน
ที่มา: กล้วย สรรพคุณและประโยชน์ของกล้วย 33 ข้อ. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2558, จาก http://frynn.com/กล้วย
กล้วย. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2558, จาก http://th.wikipedia.org/wiki/กล้วย
เทคนิคการปลูกกล้วยแบบกลับหัว
กล้วยเป็นพืชที่ปลูกกันมากใประเทศไทย เจริญเติบโตได้ทุกพื้นที่มีหลายพันธุ์ให้เลือกกิน เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม เป็นต้น ทุกส่วนของกล้วยนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้น เช่น ผล ใบ ก้านใบ ลำต้น การขยายพันธุ์ ก็ทำง่ายมากในแบบเดิมเพียงแค่ขุดหน่อที่แตกออกมา 1 หน่อต่อ 1 หลุมก็เสร็จแล้ว
แต่การปลูกกล้วยแบบกลับหัวเป็นเทคนิคการปลูกของเกษตรกรในภาคใต้นำมาปรับใช้ หน่อพันธุ์ที่ใช้สำหรับปลูกควรเลือกจากต้นที่ตัดเครือกล้วยไปแล้วเพราะจะได้หน่อพันธุ์สมบูรณ์ ตัดใบและลำต้นทิ้งให้เหลือเฉพาะส่วนโคนสูงจากพื้นดิน 30-40 เซนติเมตร ใช้เสียมแซะหน่อออกจากดินโดยต้องให้มีรากติดอยู่ด้วยก็สามารถนำไปปลูกได้แล้ว โดย ขุดหลุมให้ลึก 50 เซนติเมตร วางหน่อพันธุ์ที่เตรียมไว้ให้ส่วนรากกล้วยชี้ขึ้นฟ้าแล้วกลบดิน ส่วนการดูแลก็เหมือนกับการดูแลกล้วยที่ปลูกแบบปกติ การปลูกกล้วยด้วยวิธีนี้เพียงแค่ 1 เดือน ก็จะเริ่มแตกหน่อกล้วยใหม่ 2-4 หน่อต่อ 1 หลุม หลังปลูกแค่ 3 เดือน ต้นกล้วยจะสูง 1 เมตรขึ้นไปและให้ผลผลิตเมื่อต้นกล้วยมีอายุ 1 ปีครึ่ง ในขณะที่การปลูกแบบเดิมต้องใช้เวลา 1 ปี 8 เดือน จึงจะได้ผลผลิตและต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี จึงจะได้ต้นกล้วย 3-4 ต้นต่อ 1 หลุม การปลูกกล้วยแบบกลับหัวเป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาชาวบ้านที่เกษตรกรสามารถนำไปปรับใช้ได้ และยังให้ผลผลิตเร็วกว่าเดิมอีกด้วย
สาเหตุที่ต้องปลูกกลับหัวกลับหางก็เพราะว่า
- หน่อแตกออกมาไล่เลี่ยกันถึง 3-4 ต้นหรือ 2 ต้นอย่างน้อย
- ไม่ต้องใส่ปุ๋ยในตอนแรกเพราะจะกินอาหารจากต้นเดิมก่อนได้
- ต้นจะเตี้ยกว่าปกติ แต่ให้ผลผลิตเร็วมากกว่าเดิม
รายการอ้างอิง:
อภิชาติ ศรีสะอาด, และ จันทรา อู่สุวรรณ. (2556). คู่มือการเพาะปลูกกล้วยเศรษฐกิจ…เงินล้าน (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : นาคา อินเตอร์มีเดีย. หน้า 36-37.