น้ำซาวข้าวมีมานานตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ สมัยนั้นต้มใส่เกลือหรือน้ำตาลทรายดื่มเพื่อบำรุงสุขภาพและยัง นำน้ำซาวข้าวมาให้แทนนมได้ แต่มาสมัยนี้แม่เด็กไม่มีนมให้ลูก แต่สมารถมีนมวัวทนแทน น้ำซาวน้ำก็เลยถูกลืม วันนี้ลองมาดูซิว่าน้ำซาวข้าวมีประโยชน์อะไรบ้าง Continue reading ประโยชน์ดีๆ จากน้ำซาวข้าวที่ทิ้งไป
All posts by นางอรุณศรี แดงสอน
อาการของโรคต้อหินเป็นเช่นไร ?
ต้อหินเป็นสาเหตุที่หนึ่งทำให้เกิดตาบอดได้ โรคนี้จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเกิดจากความดันของลูกตาผิดปกติทำให้ประสาทตาค่อยๆเสียที่ละน้อยจนทำให้ตาบอดได้ ต่อหินแบ่งออกเป็น 2 ชนิด เรียกว่า ต้อหินชนิดเฉียบพลัน ต้อหินชนิดเรื้อรัง Continue reading อาการของโรคต้อหินเป็นเช่นไร ?
ทำความเข้าใจเอกสารสิทธิ์ที่ดิน กันดีกว่า
ที่ดินในเมืองไทยที่เราอาศัย เรื่องที่ดินทำไมเราต้องรู้เพราะว่า ที่ดินเป็นทรัพย์สมบัติที่มีค่า ใครก็อยากได้เป็นเจ้าของ มีการแบ่งแยกออกกันไปหลาย ๆ ประเภท ทั้งซื้อขายได้ และซื้อขายไม่ได้ วันนี้เราจะมาอธิบายให้ท่านเข้าใจเรื่องสิทธิในการซื้อ – ขาย หรือการครอบครองแบบคราว ๆ กันดีกว่า Continue reading ทำความเข้าใจเอกสารสิทธิ์ที่ดิน กันดีกว่า
เทคนิคการปลูกกล้วยแบบกลับหัว
กล้วยเป็นพืชที่ปลูกกันมากใประเทศไทย เจริญเติบโตได้ทุกพื้นที่มีหลายพันธุ์ให้เลือกกิน เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม เป็นต้น ทุกส่วนของกล้วยนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้น เช่น ผล ใบ ก้านใบ ลำต้น การขยายพันธุ์ ก็ทำง่ายมากในแบบเดิมเพียงแค่ขุดหน่อที่แตกออกมา 1 หน่อต่อ 1 หลุมก็เสร็จแล้ว
แต่การปลูกกล้วยแบบกลับหัวเป็นเทคนิคการปลูกของเกษตรกรในภาคใต้นำมาปรับใช้ หน่อพันธุ์ที่ใช้สำหรับปลูกควรเลือกจากต้นที่ตัดเครือกล้วยไปแล้วเพราะจะได้หน่อพันธุ์สมบูรณ์ ตัดใบและลำต้นทิ้งให้เหลือเฉพาะส่วนโคนสูงจากพื้นดิน 30-40 เซนติเมตร ใช้เสียมแซะหน่อออกจากดินโดยต้องให้มีรากติดอยู่ด้วยก็สามารถนำไปปลูกได้แล้ว โดย ขุดหลุมให้ลึก 50 เซนติเมตร วางหน่อพันธุ์ที่เตรียมไว้ให้ส่วนรากกล้วยชี้ขึ้นฟ้าแล้วกลบดิน ส่วนการดูแลก็เหมือนกับการดูแลกล้วยที่ปลูกแบบปกติ การปลูกกล้วยด้วยวิธีนี้เพียงแค่ 1 เดือน ก็จะเริ่มแตกหน่อกล้วยใหม่ 2-4 หน่อต่อ 1 หลุม หลังปลูกแค่ 3 เดือน ต้นกล้วยจะสูง 1 เมตรขึ้นไปและให้ผลผลิตเมื่อต้นกล้วยมีอายุ 1 ปีครึ่ง ในขณะที่การปลูกแบบเดิมต้องใช้เวลา 1 ปี 8 เดือน จึงจะได้ผลผลิตและต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี จึงจะได้ต้นกล้วย 3-4 ต้นต่อ 1 หลุม การปลูกกล้วยแบบกลับหัวเป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาชาวบ้านที่เกษตรกรสามารถนำไปปรับใช้ได้ และยังให้ผลผลิตเร็วกว่าเดิมอีกด้วย
สาเหตุที่ต้องปลูกกลับหัวกลับหางก็เพราะว่า
- หน่อแตกออกมาไล่เลี่ยกันถึง 3-4 ต้นหรือ 2 ต้นอย่างน้อย
- ไม่ต้องใส่ปุ๋ยในตอนแรกเพราะจะกินอาหารจากต้นเดิมก่อนได้
- ต้นจะเตี้ยกว่าปกติ แต่ให้ผลผลิตเร็วมากกว่าเดิม
รายการอ้างอิง:
อภิชาติ ศรีสะอาด, และ จันทรา อู่สุวรรณ. (2556). คู่มือการเพาะปลูกกล้วยเศรษฐกิจ…เงินล้าน (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : นาคา อินเตอร์มีเดีย. หน้า 36-37.
น้ำท่วมใหญ่ปี 2554
เกินเป็นคนไทยที่มีภูมิลำเนาชนบทที่เป็นชาวสวนชาวนาคงคุ้นเคยกับภาวะน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี แต่ก็สามารถปรับตัวใช้ชีวิตอยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน แตกต่างจากปี 2554 ซึ่งเป็นความทุกข์สาหัสของใครหลายคน
ตั้งแต่สมัยก่อนภาวะน้ำท่วมเป็นเรื่องปกติ คนที่อาศัยตามลุ่มน้ำ ชาวสวน ชาวไร่ ชาวนา ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต การทำงาน ไปตามน้ำไม่เป็นทุกข์ การเดินทางไปไหนก็ใช้เรือเป็นพาหนะเพราะสมัยก่อนการใช้รถใช้ถนนก็ยังไม่เจริญเหมือนสมัยนี้ สำหรับเด็กๆ เกิดความสนุกสนานด้วยซ้ำได้พายเรือซอกแซกไปตามที่ต่างๆ อาหารการกินก็ไม่เดือดร้อน ผักปลาฤดูน้ำท่วมมีเยอะหาได้ทั่วไป ก่อนถึงปี 2554 ก็เกิดน้ำท่วมใหญ่หลายครั้งคนไทยก็อยู่ได้เหมือนทุกปี แต่ปี 2554 เป็นมหาอุทกภัยจริงๆ น้ำมาจากไหนมากมายถึงขนาดหลายครอบครัวที่เจอน้ำอยู่บ้านตัวเองไม่ได้ต้องอพยพไปหาที่พักพิงต่างจังหวัดที่น้ำไม่ท่วม ระดับน้ำเฉลี่ย 1 เมตรขึ้นไป บางพื้นที่สูงถึง 3 เมตร ถนนสายต่างๆกลายเป็นคลอง ที่สำคัญกว่าคือสภาพจิตใจที่ย่ำแย่เกิดความเครียดไม่อยากอยู่กับน้ำแต่ก็ต้องอยู่ สู้กับน้ำเป็นเดือนๆ กว่าจะผ่านไปได้
มหาอุทกภัยครั้งนี้ถือเป็นประสบการณ์เป็นสิ่งเตือนใจให้เราใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาทพร้อมที่จะปรับตัวปรับใจอยู่กับน้ำได้ตามแบบของคนไทย