สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปลี่ยนระบบการจัดเลขหมู่หนังสือระบบใหม่ เพื่อเป็นการปรับกระบวนการกำหนดเลขหมู่ให้สะดวกมากยิ่งขึ้น ประหยัดเวลาในการปฏิบัติงาน และทำให้นำหนังสือออกให้บริการได้อย่างรวดเร็ว เลขเรียกหนังสือระบบใหม่ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก ได้แก่ บรรทัดแรก คือ สาขาวิชา บรรทัดที่สอง คือ อักษรหมวดในสาขาวิชา บรรทัดที่สาม คือ ปีพิมพ์ของหนังสือ และบรรทัดที่ สี่ คือ หมายเลขระเบียนหนังสือ หรือ Bib. No ดังตัวอย่าง
PLSC – สาขาวิชา
JQ – อักษรหมวดในสาขาวิชา
2014 – ปีพิมพ์ของหนังสือ
642967 – หมายเลขระเบียนหนังสือ หรือ Bib. No
1. สาขาวิชา คือ เนื้อเรื่องของหนังสือเล่มนั้น ที่ทางฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศจะให้เป็นอักษรย่อไว้เป็นบรรทัดแรก
ดังตัวอย่าง
PLSYC – POLITICAL SCIENCE
SOCY – SOCIOLOGY
2. อักษรหมวดในสาขาวิชา ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศจะกำหนดตัวย่อของหมวดในแต่ละสาขาโดยใช้ระบบ Library of Congress เป็นเกณฑ์ เช่น
PLSYC – POLITICAL SCIENCE ประกอบไปด้วย J, JA, JC, JF, JJ, JK, JL, JN, JQ, JS, JV, JZ
SOCY – SOCIOLOGY ประกอบไปด้วย HM, HN, HQ, HS, HT, HV
3. ปีพิมพ์ คือ ปีที่หนังสือเล่มนั้นได้จัดพิมพ์ขึ้น เช่น 2014 โดยจะใช้เป็น ค.ศ. ถึงแม้ว่าจะเป็นหนังสือภาษาไทยก็จะเปลี่ยนปี พ.ศ. เป็น ค.ศ
4. หมายเลขระเบียนหนังสือ หรือ Bib No คือลำดับการเข้ามาของหนังสือที่เข้ามาในระบบของสำนักหอสมุด
ส่วน Collection พิเศษ กำหนดเป็น DOCUMENTS / DOC
ทั้งนี้ในการเปลี่ยนระบบเลขหมู่ หนังสือใหม่ทำให้ทรัพยากรสารสนเทศสามารถจัดเรียงรวมกันได้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศโดยไม่มีการแบ่งแยกทางภาษาเหมือนในระบบเดิม ทำให้ผู้ใช้บริการสมารถค้นหาทรัพยากรทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่มีเนื้อเรื่องเดียวกันได้อย่างสะดวก