Tag Archives: การปรับตัว

ต่อมขี้อายแก้ได้ด้วย 10 วิธีง่ายๆ

มีใครบ้างไม่เคยอาย?   มีใครบ้างที่ไม่เคยวิตกกังวล?  และมีใครบ้างกลัวการเข้าสังคม การจะต้องต้องพูดคุยกับคนอื่นๆ คงจะมีน้อยมากนะคะ  แทบจะทุกคนคงจะเคยรู้สึกวิตกกังวล ประหม่า  เขินอาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะคอยฉุดรั้ง สัมพันธภาพและการแสดงออก ทำให้เราเสีย self ได้อย่างไม่ควรจะเป็น  ดิฉันได้อ่านหนังสือของ Professor Martin M. Antony  ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา เป็นผู้แต่งหนังสือ “10 simple solutions to shyness” โดย ดร. พาสนา จุลรัตน์  แปลในชื่อภาษาไทย “10 วิธีลัด ขจัดต่อมขี้อาย”  และดิฉันคิดว่าเหมาะกับทุกคนที่อยู่ในสังคมและสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และในการทำงาน  นอกจากนั้นถ้าใครสนใจในเล่มจะมีแบบฝึกหัดประเมิน ความขี้อายของตนเองได้ด้วย Continue reading ต่อมขี้อายแก้ได้ด้วย 10 วิธีง่ายๆ

การวิเคราะห์ตัวตนและการปรับตัวฯ

ได้เข้าร่วมฝึกอบรมเรื่อง การวิเคราะห์ตัวตนและการปรับตัวให้อยู่ร่วมกับทุกคน ทุกกลุ่มได้ ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ จัดโดยคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ห้อง F๓๓๗ อาคารเอนกประสงค์ ๒  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยทางคณะฯ ได้เชิญอาจารย์จอมพล จีบภิญโญ มาเป็นวิทยากรอบรมในครั้งนี้ ซึ่งวิทยากรได้บรรยายถึงการวิเคราะห์ตัวตนด้วย  DISC  คือ เครื่องมือประเมินพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบตัว โดยแบ่งพฤติกรรมของบุคคลทั่วไปออกเป็น ๔ กลุ่ม เพื่ออธิบายพฤติกรรมของคนที่แสดงออกมา  ซึ่งวิทยากรได้บรรยายทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ และได้ขอให้ผู้เข้าฝึกอบรมทำแบบทดสอบ เพื่อให้ทราบลำดับพฤติกรรมที่ตรงกับผู้เข้าฝึกอบรม ซึ่งสามารถวิเคราะห์ตัวเองได้จากคะแนนที่ได้รับจากแบบประเมินว่าเป็นบุคคลประเภทใด

ซึ่งรูปแบบการตัดสินใจและวิเคราะห์บุคลิกของ DISC แบ่งออกได้ดังนี้ Continue reading การวิเคราะห์ตัวตนและการปรับตัวฯ

การอยู่ร่วมกันในสังคม

ในโลกปัจจุบันเราทุกคนต้องมีสังคมทั้งในบ้านและนอกบ้าน  ในบ้านเรามีครอบครัวที่อบอุ่นดูแลซึ่งกันและกัน เกื้อกูลกันในทุกๆเรื่อง เห็นอกเห็นใจกัน มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบของแต่ละคนก็ทำกันไปเท่าที่ทุกคนจะทำได้  อยู่ในที่ทำงานหรือนอกบ้านก็ต้องทำเหมือนๆกัน เราต้องรู้จักเกื้อกูลซึ่งกันและกันเหมือนกับเราปฏิบัติตัวเหมือนที่บ้าน แต่เราจะทำอย่างไรกันล่ะให้อยู่ร่วมกันได้และมีความสุข ไม่มีปัญหาต่างๆ เข้ามาทำให้เกิดความรำคาญใจกันซึ่งกันและกัน เราทุกคนต้องมีความเกี่ยวข้องกันในด้านต่าง ๆ เช่น การทำงานร่วมกัน เราต้องพึ่งพาอาศัยให้ความช่วยเหลือกัน ในความคิดส่วนตัวคิดว่าเราต้องเริ่มต้นจากตัวเราเองก่อนต้องรู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักการวางตน รู้จักการพูดจา รู้จักรับผิดชอบ และที่สำคัญขาดไม่ได้เลยก็คือความมีน้ำใจให้กัน ความซื่อสัตย์ต่อตัวเองและผู้อื่น และสุดท้ายความเสียสละ เช่น การลุกให้เด็กๆหรือคนแก่นั่งบนรถเมล์ เราทำแล้วเราได้ความสุขใจกลับมา

ถ้าเราทุกคนทำได้เหมือนๆ กัน สังคมของเราก็น่าอยู่ยิ้งขึ้นและน่ามองอยู่แล้วมีความสุข มองไปทางไหนก็เห็นแต่รอยยิ้มทำให้การอยู่ร่วมกันทางสังคมของเรามีความสุขมากยิ่งขึ้น

น้ำท่วมใหญ่ปี 2554

เกินเป็นคนไทยที่มีภูมิลำเนาชนบทที่เป็นชาวสวนชาวนาคงคุ้นเคยกับภาวะน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี แต่ก็สามารถปรับตัวใช้ชีวิตอยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน แตกต่างจากปี 2554 ซึ่งเป็นความทุกข์สาหัสของใครหลายคน

ตั้งแต่สมัยก่อนภาวะน้ำท่วมเป็นเรื่องปกติ คนที่อาศัยตามลุ่มน้ำ ชาวสวน ชาวไร่ ชาวนา ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต การทำงาน ไปตามน้ำไม่เป็นทุกข์ การเดินทางไปไหนก็ใช้เรือเป็นพาหนะเพราะสมัยก่อนการใช้รถใช้ถนนก็ยังไม่เจริญเหมือนสมัยนี้ สำหรับเด็กๆ เกิดความสนุกสนานด้วยซ้ำได้พายเรือซอกแซกไปตามที่ต่างๆ อาหารการกินก็ไม่เดือดร้อน ผักปลาฤดูน้ำท่วมมีเยอะหาได้ทั่วไป ก่อนถึงปี 2554 ก็เกิดน้ำท่วมใหญ่หลายครั้งคนไทยก็อยู่ได้เหมือนทุกปี แต่ปี 2554 เป็นมหาอุทกภัยจริงๆ น้ำมาจากไหนมากมายถึงขนาดหลายครอบครัวที่เจอน้ำอยู่บ้านตัวเองไม่ได้ต้องอพยพไปหาที่พักพิงต่างจังหวัดที่น้ำไม่ท่วม ระดับน้ำเฉลี่ย 1 เมตรขึ้นไป บางพื้นที่สูงถึง 3 เมตร ถนนสายต่างๆกลายเป็นคลอง ที่สำคัญกว่าคือสภาพจิตใจที่ย่ำแย่เกิดความเครียดไม่อยากอยู่กับน้ำแต่ก็ต้องอยู่ สู้กับน้ำเป็นเดือนๆ กว่าจะผ่านไปได้

มหาอุทกภัยครั้งนี้ถือเป็นประสบการณ์เป็นสิ่งเตือนใจให้เราใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาทพร้อมที่จะปรับตัวปรับใจอยู่กับน้ำได้ตามแบบของคนไทย