All posts by นางสาวรังสินี อุทัยวัฒนา

การกำหนดเลขหมู่ระบบหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (National Library of Medicine Classification : NLM)

ทรัพยากรสารสนเทศของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการใช้ระบบเลขหมู่ 2 ระบบทั้ง NLM และ LC เนื่องจากทรัพยากรที่เข้ามาส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาคาบเกี่ยวทางด้านการแพทย์และสังคมศาสตร์  ในบทความนี้จะขอเน้นการกำหนดเลขหมู่ทางการแพทย์  ดังนี้

1. ลักษณะการจัดหมวดหมู่ระบบ NLM ประกอบด้วย

1.1  มีการใช้สัญลักษณ์แบบผสม ประกอบด้วยตัวอักษรโรมันผสมกับตัวเลขอารบิก
1.2  มีการจัดหมวดหมู่ 2 หมวดใหญ่ คือ หมวด Q และ หมวด W
1.3  ใช้ตารางภูมิศาสตร์ เพื่อระบบตำแหน่งทางภูมิศาสตร์

ลักษณะเลขหมู่
ลักษณะเลขหมู่ NLM

2.  การแบ่งหมวดหมู่ในระบบ NLM สามารถแบ่งได้ 3 ระดับ ได้แก่

2.1  แบ่งตามกลุ่มสาขาวิชา  2 หมวดใหญ่

หมวด Q กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน (Preclinical Sciences)
หมวด W กลุ่มวิชาการแพทย์และวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง (Medicine and Related Sciences)

Continue reading การกำหนดเลขหมู่ระบบหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (National Library of Medicine Classification : NLM)

บทบาทการให้บริการแนวใหม่ของห้องสมุด

ในยุคนี้ใครๆ ก็เรียกหา ห้องสมุดยุคใหม่ เพราะอะไรเหรอ ก็เพราะความต้องการเข้าใช้บริการห้องสมุดนั้นลดลงจำนวนมาก เนื่องจากอินเตอร์เน็ต เข้ามามีบทบาทสำคัญและเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ห้องสมุดต้องคิดทบทวนและต้องบริการนวัตกรรม องค์ความรู้ต่างๆ ไม่ว่าตัวองค์กรห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส และถ้าหากทุกท่านติดตามข่าวสารของห้องสมุด จะพบว่าห้องสมุดหลายๆ แห่งได้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกอาคารห้องสมุด เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้

สำหรับตัวบรรณารักษ์เอง ก็ต้องปรับเปลี่ยนการทำงานเป็นการทำงานเชิงรุกมากขึ้น ศึกษาเทคโนโลยีและต้องพยายามสร้างเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนข้อมูล และนอกจากนั้น อาจจะต้องเป็นผู้ช่วยนักวิจัย ที่สามารถบูรณาการเชื่อมโยง ความน่าจะเป็นของสิ่งต่างๆ ได้ ดังนั้นเราต้องกลับมามองที่ตัวเราเองแล้วว่า เราพัฒนาตนเองเพื่ที่จะทันกับสื่อดิจิตอล ที่เปลี่ยนไปมากได้มากแค่ไหน

แหล่งอ้างอิงรูปภาพจาก :

http://www.thairath.co.th/content/540797

โรคภูมิแพ้ : แพ้อากาศ

ช่วงหยุดสงการนต์ได้มีเวลาว่างเยอะ จึงได้หยิบหนังสือที่กองๆ อยู่ที่ห้อง มาอ่านประดับความรู้ ซึ่งหนังสือเล่มนั้นคือ โรคภูมิแพ้ ตอนแพ้อากาศของ แพทย์หญิงสิรินันท์ บุญยะลีพรรณ  บทความนี่จึงขอสสรุปโรคภูมิแพ้ให้เพื่อนๆ ได้ฟังดังนี้

โรคแพ้อากาศ มีชื่อเรียกที่ถูกต้องว่า “โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้” (Allergic Rhinitis) ซึ่งโรคนี้ไม่ได้เกิดจากการแพ้อากาศที่เปลี่ยนแปลง แพ้ความร้อน ความเย็น หรือ ฝนตกแดดออกแต่อย่างใดๆ ความเปลี่ยนแปลงของอากาศ เป็น”แค่ตัวกระตุ้น” ให้อาการของโรคกำเริบเท่านั้น เพราะสิ่งที่เราแพ้ คือ สารก่อภูมิแพ้ ที่เราสูดหายใจเข้าไปพร้อมๆ กับอากาศต่างหาก

สารก่อภูมิแพ้ ได้แก่ โปรตีนจากไรฝุ่น แมว หมา แมลงสาบ เชื้อรา ละอองเกสรต่างๆ ซึ่งจะต้องมีสภาพเป็น โปรตีน จึงจะเข้าไปกระตุ้นร่างกายให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ได้  แต่ถ้าเรามีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล เวลาอากาศเปลี่ยน ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้เสมอไป  อาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเวลาอากาศเปลี่ยน มีสาเหตุได้หลายประการ เช่น โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ โรคหวัด โรคไซนัสอักเสบ ฯลฯ ดังนั้นต้องมีการวินิจฉัยและหาสาเหตุของโรค โดยการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังต่อไป  โดยปกติมนุษย์จะมีการสร้างภูมิต้านทานในโรคภูมิแพ้อยู่แล้วเพียงเล็กน้อย เว้นแต่ปัจจัยทางกรรมพันธุ์  โดยส่วนใหญ่มักพบว่าผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้มักมีกรรมพันธุ์ที่เป็นโรคโดโรคหนึ่งในตระกูลของโรคภูมิแพ้ พ่อ แม่ ลูก ไม่จำเป็นต้องแพ้สารตัวเดียวกัน ซึ่งยังรักษาในส่วนนี้ไม่ได้

อาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้

  1. น้ำมูกไหล ควรเป็นน้ำมูกใสแบบน้ำประปา หรือขาวขุ่นแบบน้ำซาวข้าว บางคนชอบมีตอนเช้า หรือก่อนนอน และมักเป็นเวลาเดิมเสมอ ถ้าเป็นมากจึงจะไหลตลอดวัน
  2. คัดจมูก อาการคัดจมูกนี้จะไม่เป็นตลอด 24 ชั่วโมง
  3. จาม ส่วนใหญ่มักจะจามตอนเช้า และเวลามีอะไรมากระตุ้น จามแล้วมักมีน้ำมูกใสๆ ไหลตามมา
  4. ไอ
  5. คันจมูก คัดมากจนต้องขยี้จมูก
  6. ใต้ตาคล้ำ บวมเกิดจากการคัดจมูกต่อเนื่องนานๆ ส่งผลให้มีการคั่งชองเลือดดำบริเวณใต้ตา
  7. คันตา ขยี้ตา เคืองตา น้ำตาไหล ถ้ามีขี้ตา จะเป็นสีขาวขุ่น
  8. คันเพดานปาก คันหู

การรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้

  1. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้
  2. การใช้ยาต่างๆ
  3. การฉีดวัคซีนภูมิแพ้

แหล่งอ้างอิง

สิรินันท์ บุญยะลีพรรณ, เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ. (2555). “โรคภูมิแพ้ ตอนแพ้อากาศ” กรุงเทพฯ : อมรินทร์สุขภาพ.

ประโยคสำคัญที่ใช้ในห้องสมุด

ในยุคนี้เข้าสู่ยุคของอาเซียน ทุกหน่วยงานทุกองค์กรก็ต้องเร่งพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาต่างๆ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ให้สามารถสื่อสารกับผู้ใช้ได้ ซึ่งประโยคและคำเหล่านี้เป็นประโยคที่ได้มาจากนักศึกษา ภาควิชาภาษาอังกฤษ รายวิชา LG457 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ของอาจารย์บุญเรือง ชื่นสุวิมล วันนี้ดิฉันจึงขอนำเสนอประโยคภาษาอังกฤษที่ใช้บ่อยในห้องสมุด มาให้พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ได้นำไปใช้ตามสถานกราณ์ Continue reading ประโยคสำคัญที่ใช้ในห้องสมุด

Movie Maker สร้าง VDO ได้ด้วยตัวเอง

เคยไหมที่คุณเปิด YouTube แล้วเห็นคนธรรมดา หรือคนที่เราไม่รู้จัก ทำ VDO ภาพหรือ VDO ข้อความ ส่งความหมายดีๆ ให้กับคนที่เรารู้สึกพิเศษด้วย วันนี้ดิฉันขอนำเสนอโปรแกรมที่ช่วยให้คุณสามารถสร้างภาพยนตร์เองได้ง่ายๆ ที่ใครๆ ก็สามารถทำได้ ซึ่งโดยปกติแล้วโปรแกรมนี้จะมาพร้อมกับ Window เลย นั่นคือ โปรแกรม Windows Live Movie Maker โดยสามารถนำรูปภาพหรือ VDO เข้าโปรแกรมได้โดยตรง พร้อมกับปรับแต่งภาพ เอฟเฟกต์หรือเพิ่มข้อความต่างๆ ได้ ทั้งนี้ยังสามารถเพิ่มเพลงเป็นเสียงประกอบได้อีกด้วย น่าสนใจขึ้นมาแล้วใช่ไหมคะ

Continue reading Movie Maker สร้าง VDO ได้ด้วยตัวเอง

ยานั้นสำคัญไฉน

ปัจจุบันหลาย ๆ ท่านอาจจะไปซื้อหายาจากเภสัชกรมาใช้กันมากขึ้น และในบางครั้งก็อาจจะไม่เข้าใจวิธีใช้ยาทำให้ใช้ยาแบบผิดๆ บางเรื่องส่งผลแค่กินยาเข้าไป ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร ไปจนถึงการเสี่ยงอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต ดิฉันได้ดูรายการ ยาหมอบอก ซึ่งเป็นรายการวาไรตี้ทอล์คโชว์ ที่จะเปลี่ยน“ความเข้าใจผิด” เกี่ยวกับยา ผลิตภัณฑ์ยา วิตามิน อาหารเสริม และเวชสำอางค์ ให้เป็นความรู้ ประกอบการสาธิต และการทดลองที่เข้าใจง่าย เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ใช้ยาอย่างถูกต้อง ตอนที่ดิฉันเอามาให้ดูนี้เป็น ตอนที่ชื่อว่า 10 อันดับ การใช้ยาผิดเอามาให้ทุกท่านได้รู้ถึงวิธีการใช้ยา

สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ : ออกอากาศใน วันอาทิตย์ เวลา 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส Thai PBS และทาง Mahidol Channel ทาง CTH ช่อง 107

 

การอ่าน ส่งผลต่อการนอนได้อย่างไร

เมือโลกเปลี่ยน ยุคสมัยเปลี่ยน ทำให้เทคโนโลยีมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น แล้วเราจะใช้สื่อเทคโนโลยีอย่างไรให้เกิดประโยชน์ และด้วยสื่อสิ่งพิมพ์ปัจจุบัน ได้เปลี่ยนหนังสือที่เป็นกระดาษแผ่นๆ เป็นแบบ อิเล็กทรอนิกส์หรือ E-book มากขึ้น การใช้งานการกลุ่มคนบางกลุ่มก็เปลี่ยนเป็น E- reader มากขึ้นด้วย ซึ่งการอ่านหนังสือจากหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แล็บท็อป สมาร์ทโฟน อีรีดเดอร์ ได้มีผลงานวิจัยออกมาแล้วว่า มีผลในการรบกวนการนอนหลับในเวลากลางคืน นั่นเป็นเพราะแสงสีฟ้าจากหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

นักวิจัย Brigham and Women’s Hospital (BWH) ได้พบพฤติกรรมที่เป็นอันตรายของคนที่ชอบอ่านหนังสือประเภท อีบุ๊ค หรืออ่านจาก ไอแพด นั้นจะใช้เวลานานกว่าที่จะหลับสนิทและยังรู้สึกง่วงน้อยกว่าในตอนกลางคืน แถมช่วงเวลาที่หลับลึกก็สั้นกว่า เพราะมีการหลั่งสารเมลาโทนินอันเป็นฮอร์โมนที่จะเริ่มขึ้นในช่วงดึกที่ควบคุมความง่วงนั้นลดลง นอกจากนี้ คนที่อ่านไอแพดยังมีช่วงเวลาของนาฬิกาชีวภาพที่ช้ากว่าที่บ่งบอกโดยระดับของเมลาโทนิน ซึ่งจะช้าลงเป็นชั่วโมงเลยทีเดียว ทั้งนี้ คนที่อ่านไอแพดยังรู้สึกง่วงน้อยลงเมื่อใกล้ถึงเวลานอน แต่จะง่วงมากขึ้นและตื่นตัวน้อยกว่าเมื่อถึงตอนเช้าในวันต่อมาหลังเวลานอนผ่านไป 8 ชั่วโมง และ”แสงจากหน้าจอ

อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่จะฉายตรงเข้าไปในดวงตา ต่างจากการอ่านหนังสือธรรมดาหรือการอ่านจากคินเดิลที่เป็นอีรีดเดอร์รุ่นเก่าซึ่งแสงที่เข้าดวงตาผู้อ่านเป็นเพียงแสงสะท้อนจากหน้ากระดาษเท่านั้น และเมื่อการนอนถูกรบกวนก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยทำให้ความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคอ้วน เบาหวาน และมะเร็งเพิ่มขึ้น” ศาสตราจารย์ชาร์ลส์ เซสเลอร์ หัวหน้าคณะวิจัยกล่าวกับบีบีซี
เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เราก็ควรใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกวิธีกันนะคะ

อ้างอิงจาก
1. บีบีซีไทย. 2557. สืบค้นเมื่อวันที่ 21/04/2558 จาก
https://www.facebook.com/BBCThai/photos/a.1527194487501586.1073741828.1526071940947174/1591985911022443/
2. สุพาพร เทพยสุวรรณ. 2558. อันตรายจากการใช้ iPad ก่อนนอน สืบค้นเมื่อวันที่ 21/04/2558 จาก http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9580000042784

ทดสอบภาษาได้ง่ายๆ ไม่เสียตังค์

ใกล้ปิดเทอมกันแล้วสำหรับนักเรียน นักศึกษา คงต้องหาวิชาเรียนซัมเมอร์กันแน่ๆ ทั้งเรียนเอง เรียนกับติวเตอร์ หรือเรียนกับสถาบันภาษา ค่าใช้จ่ายในการเรียนแต่ละคร์อส ก็ไม่ใช่ถูกๆ ยิ่งถ้าเป็นสถาบันสอนภาษาดังๆ ผู้ปกครองหลายท่านคงเหงื่อแตกกันเลย สำนักหอสมุดมีฐานข้อมูลที่ชื่อว่าTesting & Education Reference Center เป็นฐานข้อมูลที่รวมรวบแบบทดสอบหลายระดับ เช่น ระดับมัธยมศึกษา : GED, AP, ISEE, COOP, SSAT ระดับวิทยาลัย : CLEP, SAT, ACT, PSAT, ระดับอุดมศึกษา : GRE, LSAT, MCAT MAT และ GMAT ระดับนานาชาติ ด้านภาษา : TOEFL, TOEIC มีการสืบค้นรายชื่อ และรายละเอียดของสถานศึกษาในต่างประเทศ รวมถึงแหล่งทุนการศึกษาอีกรวมถึงวิธีการเขียน Resume และข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการประกอบวิชาชีพ  เห็นประโยชน์อย่างนี้แล้ว เราเข้าไปดูฐานข้อมูลและวิธีใช้กันต่อนะคะ Continue reading ทดสอบภาษาได้ง่ายๆ ไม่เสียตังค์

ต่อมขี้อายแก้ได้ด้วย 10 วิธีง่ายๆ

มีใครบ้างไม่เคยอาย?   มีใครบ้างที่ไม่เคยวิตกกังวล?  และมีใครบ้างกลัวการเข้าสังคม การจะต้องต้องพูดคุยกับคนอื่นๆ คงจะมีน้อยมากนะคะ  แทบจะทุกคนคงจะเคยรู้สึกวิตกกังวล ประหม่า  เขินอาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะคอยฉุดรั้ง สัมพันธภาพและการแสดงออก ทำให้เราเสีย self ได้อย่างไม่ควรจะเป็น  ดิฉันได้อ่านหนังสือของ Professor Martin M. Antony  ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา เป็นผู้แต่งหนังสือ “10 simple solutions to shyness” โดย ดร. พาสนา จุลรัตน์  แปลในชื่อภาษาไทย “10 วิธีลัด ขจัดต่อมขี้อาย”  และดิฉันคิดว่าเหมาะกับทุกคนที่อยู่ในสังคมและสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และในการทำงาน  นอกจากนั้นถ้าใครสนใจในเล่มจะมีแบบฝึกหัดประเมิน ความขี้อายของตนเองได้ด้วย Continue reading ต่อมขี้อายแก้ได้ด้วย 10 วิธีง่ายๆ

ห้องสมุดกับการแข่งขันที่กว้างขึ้น

ภาพลักษณ์ในอดีตของห้องสมุดส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบของหน่วยงานที่ให้บริการสารนิเทศแบบไม่คิดค่าบริการ บริการทุกอย่างถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ แต่หลายปีที่ผ่านมาพบว่ามีแนวโน้มการใช้ห้องสมุดลดลง และมีการเข้าใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นแทนการเข้ามาใช้ห้องสมุด บทบาทของห้องสมุด จะเปลี่ยนไป และมีพัฒนาการเรื่อยมา เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้มากขึ้น นอกจากนี้ยังนำแนวการตลาดมาใช้ในการส่งเสริมการบริการห้องสมุด โดยผู้ใช้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการบริการสารสนเทศ และการดำรงอยู่ของห้องสมุด  Continue reading ห้องสมุดกับการแข่งขันที่กว้างขึ้น