Tag Archives: การยืม-คืนหนังสือ

ผู้รักษาประตู

เขียนชื่อเรื่องว่า ผู้รักษาประตู แต่อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่า ผมจะพูดถึงประตูหรือ Goal ของฟุตบอล นะครับ แต่ผมเป็นผู้รักษาประตู ของหนังสือที่จะยืมออกไปจากห้องสมุดครับ

ก่อนจะมานั่งประจำที่ของผู้ร้กษาประตู (ตรงนี้ก็ต่างจากผู้รักษาประตูของฟุตบอลแล้ว เพราะผมได้นั่ง แต่ผู้รักษาฟุตบอลต้องยืน ขยับแข้ง ขยับขา มีความฉับไว สายตาต้องแม่น) เพราะผมต้องเฝ้าตลอดทั้งวันตั้งแต่ แปดโมงเช้า หลังจากที่ดูแลภารกิจเรื่องการเปิดประตู ดูแลความเรียบร้อยของอาคาร เก็บหนังสือที่วางตามโต๊ะต่างๆ และที่ Book drop นำไปไว้ที่ชั้นแยกหนังสือ ตรวจความพร้อมของสัญญาณของประตู ว่าไม่มีปัญหา แล้วก็มานั่งประจำการ ไปจนถึง 4 โมงเย็น มีเปลี่ยนตอนไปพักรับประทานอาหารเที่ยง หรือที่ผมต้องไปขนหนังสือจาก Book drop ถ้ามีจำนวนเยอะแล้วเอามาไว้ที่ชั้นแยกหนังสือ เวลานั้นจะประมาณ 10 โมง บ่ายโมง และ บ่ายสามโมง

ระหว่างที่ผมเฝ้าประตู มีหน้าที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการเมื่อมาใช้เครื่องยืม หนังสือ แนะนำว่าจะยืมอย่างไร เพราะบางทีผู้ใช้บางคนก็อาจจะหลงลืมหรือทำขั้นตอนไม่ถูก หรือมีปัญหาอะไรเกี่ยวกับเครื่องยืม ผมสามารถแนะนำได้ครับ แต่บางทีเด็กนักศึกษาก็ไม่ได้ยินที่ผมพูด เพราะใส่หูฟัง ไม่เป็นไร ผมก็อธิบายจนได้เหมือนกันครับ  แต่เสียงที่ทำให้ผมรู้สึกในบางครั้ง ก็คือสัญญาณที่ประตูดัง โดยไม่ทราบสาเหตุ ตรวจสอบแล้วเด็กนักศึกษาก็ยืมหนังสือเรียบร้อยแล้ว ลองตรวจสอบตัวเล่ม ก็ไม่มีปัญหา บางทีไม่ได้เดินใกล้ประตู แต่เสียงก็เกิดดังขึ้นมาเหมือนกัน คงจะเป็นเพราะความถี่มาเจอกัน หรืออย่างไร ผมก็ไม่แน่ใจ แต่ดังเมื่อไรก็ต้องลุกมาตรวจสอบว่าเกิดอะไรขึ้น

นอกจากดูแลเรื่องความเรียบร้อยของการยืม ความพร้อมของประตู ผมมีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยอย่างอื่นๆ อีกด้วย เช่น ลักษณะของผู้ใช้ที่มีพฤติกรรมแปลกๆ  ก็ต้องคอยสอดส่องเพื่อไม่ให้เกิดเหตุอันไม่พึงประสงค์ การนำขนม อาหารเข้ามาในห้องสมุด ซึ่งเรื่องนี้พบมากครับ แอบกันเก่งขึ้น พูดตักเตือน เด็กนักศึกษาบางคน ก็พูดจาไม่เพราะ แต่เราก็ต้องอดทน ไม่ใช้อารมณ์ เพราะผมคิดว่า “เด็กอยู่ 4 ปี ถ้ามีปัญหาก็จะไม่เข้าห้องสมุด มีปัญหาแล้วก็ไม่มีความสุข ถ้าแก้ไขไม่ได้ ก็แจ้งผู้บังคับบัญชา”

แต่ผมก็ภูมิใจนะครับแม้ว่าจะเป็นผู้รักษาประตู เพราะผมมักจะได้รับการทักททายจากเด็กๆ อยู่เสมอ มีเด็กๆ นักศึกษาหลายคน มาสัมภาษณ์ผมไปทำรายงาน แม้แต่จบไปแล้ว มาพบกันยังทักทายสวัสดีกัน จำได้แม้กระทั่งผมชื่อ “วิโรจน์”

การให้บริการยืมทรัพยากรสารสนเทศ

การให้บริการยืมทรัพยากรสารสนเทศ  เป็นบริการให้ยืมทรัพยากรสารสนเทศด้วยระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ผู้ใช้บริการสามารถยืมทรัพยากรสารสนเทศได้ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน โดยใช้บัตรนักศึกษา บัตรข้าราชการ / พนักงานมหาวิทยาลัย ที่ติดรหัสบาร์โค้ดสมาชิกห้องสมุด

ขั้นตอนการให้บริการยืมทรัพยากรสารสนเทศ

  1. เข้าระบบห้องสมุดอัตโมัติ โดยพิมพ์ staff.koha.library.tu.ac.th จากนัั้น Log in เพื่อเข้าสู่ระบบการยืม
  2. คลิกเลือก Circulation จากนั้นคลิกเลือก Check Out เพื่อทำการยืมทรัพยากรสารสนเทศ
  3. อ่านรหัส ID Card ของผู้ใช้บริการ คลิก Submit
  4. อ่านรหัสบาร์โค้ด ของทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อบันทึกรายการยืม
  5. พิมพ์สลิปรายการทรัพยากรสารสนเทศที่ยืม
  6. ลบสัญญาณแม่เหล็กทรัพยากรสารสนเทศ
  7. นำทรัพยากรสารสนเทศพร้อมสลิปรายการทรัพยากรสารสนเทศที่ยืม ให้ผู้ใช้บริการด้วยขั้นตอนง่ายๆ เท่านี้เอง นักศึกษาก็สามารถยืมทรัพยากรสารสนเทศด้วยตนเองได้แล้ว

RFID สำคัญอย่างไร ?

RFID  ย่อมาจากคำว่า  Radio Frequency Identification มีลักษณะเป็นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเรามักจะเรียกว่า RFID tag ทำงานโดยอาศัยคลื่นวิทยุ ในการอ่านข้อมูลที่ติดอยู่กับ tag ห้องสมุดได้นำเทคโนโลยี RFID เพื่อประโยชน์ในหลายๆ ด้าน เป็นการลดภาระงาน ลดค่าใช้จ่าย ผู้ใช้สามารถใช้บริการด้วยตนเอง ด้วยการยืม-คืนหนังสือด้วยตนเองผ่านเครื่องยืม-คืนอัตโนมัติ การป้องกันการขโมยหนังสือ (กรณีที่ไม่ได้ยืมผ่านระบบ) การสำรวจหนังสือ เป็นต้น แต่ก่อนจะใช้ประโยชน์ได้ตังกล่าวนั้น ต้องมีการนำ RFID tag ติดกับหนังสือ ซึ่งมีกระบวนการ ดังนี้

วิธีดำเนินการ

1.       เปฺิดโปรแกรม Smart Tagging

Tag
Continue reading RFID สำคัญอย่างไร ?

คู่มือการใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha ในโมดูลต่างๆ

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดทำคู่มือการใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha ในโมดูลต่างๆ  เพื่อเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์การใช้งานระบบห้องสมุดดังกล่าว โดยมีรายละเอียดของแต่ละโมดูล ดังนี้