Tag Archives: ทุนการศึกษา

ทุนการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

4-22-2015 10-18-06 AM

เนื่องในวันที่  6  พฤษภาคม  ซึ่งเป็นวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา  กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์  เพื่อน้อมรำลึกในพระกรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนจะขอเล่าถึงพระกรุณาธิคุณในด้านหนึ่งซึ่งมีโอกาสได้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการในปัจจุบัน  นั่นคือทุนการศึกษาที่ทรงประทานให้กับนักศึกษา

ทุนการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

4-22-2015 10-22-32 AM

ในปีพ.ศ.2517   ขณะที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์  ทรงเป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาฝรั่งเศสที่คณะศิลปศาสตร์  ได้ทรงประทานเงินให้มหาวิทยาลัยจัดทำเป็นกองทุน นำผลประโยชน์มาเป็นทุนการศึกษา   โดยที่พระองค์ท่านทรงเห็นความสำคัญของการอ่านและหนังสือที่มีต่อการศึกษา  จึงมีพระดำริให้เป็นทุนสำหรับการซื้อหนังสือหรือตำราที่จะใช้ในการศึกษา  ผู้บริหารมหาวิทยาลัยในขณะนั้นได้นำพระดำริดังกล่าวมากำหนดไว้ในระเบียบของทุนซึ่งมีการสืบสานจนถึงปัจจุบัน    ทำให้ทุนการศึกษานี้มีความพิเศษแตกต่างจากทุนทั่วไปที่เป็นการมอบเงินค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาแก่นักศึกษา  ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ได้รับทุนว่าจะนำไปใช้อย่างไร   และผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งอาจารย์สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และข้าราชการสำนักหอสมุดเป็นคณะกรรมการพิจารณาและดูแลการใช้ทุนของนักศึกษา  กรรมการชุดแรกมีศ.จารุวรรณ  สินธุโสภณ เป็นประธาน ผศ.ทองหยด  ประทุมวงศ์ เป็นกรรมการ  และนายชลัช ลียวณิชย์ เลขานุการสำนักหอสมุด เป็นกรรมการและเลขานุการ

4-22-2015 10-19-20 AM

(พระรูปสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ  ทรงลงพระนามในสมุดเยี่ยมชมหอสมุดปรีดี  พนมยงค์  เมื่อวันที่ 26  พฤษภาคม พ.ศ.2542   ซึ่งเสด็จมาเป็นประธานในงานแสดงปาฐกถาเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนม พรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542  ณ หอสมุดปรีดี พนมยงค์  ผู้อยู่ซ้ายมือในภาพ คือผู้อำนวยการสำนักหอสมุดในขณะนั้น  ถัดไป คือประธานคณะกรรมการพิจารณาทุนการศึกษาฯในปัจจุบัน)

สำหรับคณะกรรมการพิจารณาทุนการศึกษาฯชุดปัจจุบันมี  7 คน  โดยรศ.คุณหญิงวงจันทร์  พินัยนิติศาสตร์  อดีตอาจารย์สาขาวิชาฝรั่งเศส คณะศิลปศาสตร์  เป็นประธาน ผู้เขียนเป็นกรรมการ  ร่วมกับกรรมการท่านอื่นๆอีก 4 ท่าน  และนางสุพรรณี  อยู่เจริญ  ผู้ดูแลการใช้ทุนของนักศึกษา เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ  ในเวลา 40 ปีที่ผ่านมาจนถึงปีการศึกษา 2557 มีการจัดสรรทุนการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา  กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ให้กับนักศึกษารวมทั้งสิ้น   803  ทุน    เป็นจำนวนเงิน   832,984.05   บาท (ยอดเงินถึงปีการศึกษา2556 เนื่องจากในปีการศึกษา2557นี้   ยังไม่สิ้นสุดการจัดซื้อหนังสือของนักศึกษา)   นักศึกษาผู้ที่ได้รับทุนจะได้รับการประทับข้อความที่หนังสือทุกเล่ม   ว่า  “  หนังสือนี้จัดซื้อด้วยเงินทุนสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา  เพื่อใช้ในการศึกษา  และให้เป็นสมบัติของ…………………………………………………………… ปีการศึกษา …………………”

“ถึงแม้นักศึกษาส่วนใหญ่ที่ได้รับทุนจะสำเร็จการศึกษาไปแล้วก็ตาม  หนังสือเหล่านี้คงเป็นเครื่องเตือนใจให้เขาระลึกถึงพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ   และคงเป็นเครื่องประกาศความสำคัญและประโยชน์ของหนังสือแก่บุคคลทั่วไปที่ได้พบเห็น”  (ศาสตราจารย์จารุวรรณ  สินธุโสภณ   หน้า 11)

เอกสารอ้างอิง  : ศาสตราจารย์จารุวรรณ  สินธุโสภณ   “ทุนการศึกษาที่ได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา  กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เพื่อจัดซื้อตำราแก่นักศึกษมหาวิทยาลัยธรรรมศาสตร์”   จุลสารธรรมศาสตร์  ปีที่41 ฉบับที่1  มกราคม  2551  หน้า 9-11

การอบรมภาษาจีนระยะสั้น: การพัฒนาบุคลากร

download

เมื่อปลายเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ผู้เขียนได้เห็นหนังสือแจ้งเรื่องทุน
การศึกษาระดับปริญญาโท/เอก ของ Hanban ภายใต้โครงการความร่วมมืออุดมศึกษาไทย-จีน ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ สำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา ส่งมาถึงท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้มหาวิทยลัยธรรมศาสตร์ เสนอรายชื่อผู้สมัครรับทุน จำนวนไม่เกิน ๒ คน เป็นผู้สมัคร
ตัวจริง ๑ คน ตัวสำรอง ๑ คน ผู้เขียนเกิดความสนใจ เนื่องจากผู้เขียนมีพื้นความรู้ภาษาจีนมาก่อน จึงได้ตรวจสอบรายละเอียดของทุนว่านอกจากทุนการศึกษาระดับปริญญาโทและเอกแล้วยังมีทุนประเภทอื่นๆ หริอไม่
ปรากฏว่ายังมีทุนศึกษาภาษาจีนระยะสั้นด้วย

ทุนที่สำนักส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ หรือ ภาษาจีนเรียกว่า Hanban (The Office of Chinese Language Council International) ให้นั้น เรียกว่า ทุนสถาบันขงจื้อ (Confucius Institute Scholarship)
มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาและอาจารย์
ชาวต่างชาติทั่วโลก ที่กำลังศึกษาหรือสอนภาษาจีน ไปศึกษาภาษาและวัฒนธรรมจีน ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

ผู้เขียนได้ตรวจสอบรายละเอียดของทุนสถาบันขงจื้อแล้ว พบว่านอกจากมีทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอกแล้ว ยังมี ทุน
การศึกษาระยะสั้น (Scholarships for Short-term Study) ซีงภายหลังเปลี่ยนชื่อทุนเป็น ทุนการศึกษาระดับสูง (Scholarships for Advanced Study) (ปัจจุบันอาจจะเปลี่ยนชื่อเป็นทุนประเภทอิ่นๆ ผู้ที่สนใจสามารถตรวจสอบประเภททุนต่างๆ ได้จากเว็บไซต์ www.hanban.edu.cn/jxj.htm)

Continue reading การอบรมภาษาจีนระยะสั้น: การพัฒนาบุคลากร