All posts by นางสาววรรณา โตพิบูลย์พงศ์

วัฒนธรรมประเพณีจีน : เทศกาลตวนอู่เจี๋ย หรือ เทศกาลบะจ่าง

         ใกล้ถึงเทศกาลบะจ่างแล้ว ผู้เขียนขอเล่าประวัติความเป็นมาของเทศกาลบะจ่างตามที่ได้อ่านจากหนังสือที่รวบรวมเทศกาลประเพณีจีน ของ Su Peiyin (苏 佩吟 )ดังนี้ คือ

               ตามจันทรคติจีน วันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 เป็นเทศกาลตวนอู่เจี๋ย (หรือเทศกาลบะจ่าง คำว่า “บะจ่าง” นั้นหมายถึงอาหารจีนชนิดหนึ่งซึ่งประกอบด้วยข้าวเหนียวใส่หมูกับถั่วหรือเม็ดบัว ผัดแล้วห่อด้วยใบไผ่มัดเป็นเหลี่ยม) หือเทศกาลวันแห่งกวี

Quyuan

              ตามตำนานเล่าขานกันว่า ตวนอู่เจี๋ยเป็นการระลึกและอาลัยถึงชวีหยวน (屈原)ที่เกิดขึ้นในสมัยโบราณนานกว่าสองพันปีมาแล้ว สมัยนั้นเกิดสงครามทั่วทุกแห่งในประเทศจีน เมืองฉู่มีข้าราชการขุนนางใหญ่ผู้หนึ่งมีนามว่า “ชวีหยวน”   ท่านเป็นกวีเอกผู้รักชาติและมีอุดมการณ์อันแรงกล้าทำเพื่อชาติและประชาชน และได้รับใช้เจ้าเมืองฉู่ ท่านมีความเห็นที่จะยึดมั่นสร้างสัมพันธไมตรีกับเมืองฉี ต่อต้านเมืองฉิน เพื่อหยุดยั้งการแผ่ขยายอำนาจของเมืองฉิน โดยพยายามทุกวิถีทางที่จะให้เมืองฉู่มีความมั่งคั่ง แต่เพราะว่าไปขัดผลประโยชน์ของขุนนางกังฉินทรยศขายชาติบางคน ทำให้ขุนนางเหล่านั้นแค้นเคืองมาก จึงเพ็ดทูลใส่ร้ายชวีหยวนต่อหน้าเจ้าเมือง ฉะนั้น ชวีหยวนจึงถูกเนรเทศออกจากเมืองถึง 2 ครั้ง จนกระทั่งมาถึงสมัยฉู่เซียงอ๋อง(楚襄王 )ชวีหยวนก็ชรามากแล้ว อายุราว 60 ปีเศษ ท่านเห็นความอ่อนแอของฉู่เซียงอ๋อง ขุนนางผู้ใหญ่ก็ทรยศต่อชาติ ประชาชนมีความยากเข็ญ ลำบากมาก ประเทศกำลังจะล่มสลาย ท่านก็รู้สึกโศกเศร้าเสียใจมาก สุดท้ายท่านก็ได้โดดลงแม่น้ำมี่หลัวเจียงฆ่าตัวตาย ประชาชนเสียใจมากในการสูญเสียกวีผู้รักชาติ จึงได้ห่อบะจ่างไปที่แม่น้ำมี่หลัวเจียงเซ่นไหว้ชวีหยวน และได้พายเรือไปค้นหาศพของท่าน แต่ก็ไม่พบ ตั้งแต่นั้นมา เมื่อถึงวันขึ้น 5 ค่ำเดือน 5 ของทุกปี ประชาชนจะทำบะจ่างไปที่ริมแม่น้ำ เซ่นไหว้กวีเอกชวีหยวน เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน และได้พายเรือในแม่น้ำด้วย นานเข้า ๆ ก็กลายมาเป็นประเพณีการแข่งเรือมังกร

Dragon

               ตวนอู่เจี๋ยนั้น ยังมีตำนานเล่าขานกันอีกมากมาย ตามประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ประเทศจีนและภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เมื่อถึงเทศกาล “ตวนอู๋เจี๋ย” ต่างก็ทำบะจ่างและแข่งเรือมังกรเพื่อระลึกถึงชวีหยวน  ประชาชนก็ยังมีการไหว้พระไหว้เจ้า เซ่นไหว้บรรพบุรุษ และก็ได้กลายเป็นวันสำคัญของเทศกาลชาวจีนเทศกาลหนึ่ง

               เนื่องด้วยในโลกนี้ ไม่มีกวีเอกท่านใดเสมอเหมือนท่านชวีหยวน แต่ประวัติศาสตร์ล่วงเลยมากว่าสองพันปีแล้ว ท่านยังได้รับการยกย่องนับถือและเซ่นไหว้ ฉะนั้น ต้นสมัยสงครามต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่นนั้น วงการวรรณกรรมก็ได้ลงมติกำหนดให้วันที่ท่าน “ชวีหยวน” สละชีพเพื่อชาติ คือ วันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันซือเหยินเจี๋ย (วันแห่งกวี)

รายการอ้างอิง

苏 佩吟.  佳节年年 : 中国民俗传统节日.  [曼谷] :八音出版社, 2001.

แนะนำหนังสือ Jie ri sheng yan : Zhong Xi chuan tong jie qing wen hua shang xi(节日盛宴 :中西传统节庆文化赏析)

Jie ri sheng yan : Zhong Xi chuan tong jie qing wen hua shang xi(节日盛宴 :中西传统节庆文化赏析)เรียบเรียงโดย Li Li(李莉 )จัดพิมพ์ที่ปักกิ่งโดยสำนักพิมพ์ Dian zi gong ye chu ban she ปี ค.ศ. 2013

หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาสองภาษา คือ ภาษาอังกฤษ และ ภาษาจีน รวบรวมวันเทศกาลที่สำคัญ ๆ ของชาวจีน และ ชาวตะวันตก รวม 16 วัน เช่น วันเทศกาลของชาวจีน ได้แก่ เทศกาลชุนเจี๋ย หรือ วันตรุษจีน เทศกาลเช็งเม้ง เทศกาลตวนอู่เจี๋ย หรือ เทศกาลบะจ่าง และ เทศกาลจงชิวเจี๋ย หรือ เทศกาลไหว้พระจันทร์ เป็นต้น ส่วนวันเทศกาลของชาวตะวันตกได้แก่ วันคริสต์มาส วันอีสเตอร์ วันวาเลนไทน์ และ วันขอบคุณพระเจ้า เป็นต้น

เนื้อหาสาระของหนังสือ กล่าวถึง ประวัติความเป็นมา ตำนาน ประเพณีที่ถือปฏิบัติ กิจกรรมต่าง ๆ และ วิธีการเฉลิมฉลองในวันเทศกาลดังกล่าว รวมทั้งรวบรวมคำกล่าวและประโยคที่ใช้พูดและแสดงออกกันในวันเทศกาลต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการยกตัวอย่างกิจกรรมที่ปฏิบัติกันในแต่ละเทศกาลอีกด้วย

20150515-Chinese-Book

หนังสือเล่มนี้ มีวัตถุประสงค์ ใช้เป็นคู่มือการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาชาวจีนระดับมัธยม และ เป็นคู่มือการสอนภาษาอังกฤษของอาจารย์ รวมทั้งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการอ่านประเพณีวัฒนธรรมจีน และ ตะวันตกเป็นภาษาอังกฤษ

ผู้เขียนเห็นว่า หนังสือเล่มนี้ยังเหมาะสำหรับการเรียนการสอนภาษาจีน และ ภาษาอังกฤษ เนื่องจาก ผู้ที่กำลังศึกษาภาษาจีน และ ภาษาอังกฤษ นอกจากจะเข้าใจประเพณีและวัฒนธรรมของชาวจีน และ ชาวตะวันตกแล้ว ยังทำให้สามารถใช้ภาษาจีน และ ภาษาอังกฤษ ได้ดี และ ถูกต้องอีกด้วย

การลงรายการหนังสือภาษาจีน

4126669361_67da5a66a8_o

ก่อนที่ผู้เขียนจะมาปฏิบัติงานที่ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยรับผิดชอบทำรายการและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศนั้น ผู้เขียนได้ปฏิบัติงานในห้องสมุดสาขาของสำนักหอสมุดมาหลายแห่ง

เนื่องจากผู้เขียนมีพื้นความรู้ภาษาจีน จึงได้ช่วยบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรฯ แปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน ซึ่งในระยะแรกๆ ผู้เขียนจะแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมันโดยใช้ระบบการสะกดออกเสียงตามระบบ Pinyin และเขียนคำศัพท์ตามคำศัพท์ภาษาจีนที่เห็น เช่น คำว่า ภาษาจีน(汉语)จะแปรเป็นอักษรโรมันตามระบบ Pinyin อ่านว่า hanyu ซึ่งจะเขียนติดกัน แต่หลังจากที่ผู้เขียนได้มาปฏิบัติงานที่ฝ่ายบริหารจัดการทัพยากรฯ และรับผิดชอบงานการทำรายการและวิเคราะห์ทรัพยากรภาษาต่างประเทศ โดยรวมถึงภาษาจีนนั้น ผู้เขียนพบว่ารายการทรัพยากรภาษาจีนของ OCLC จะสะกดออกเสียงตามระบบ Pinyin โดยสะกดแยกคำออกจากกัน เช่น คำว่า ภาษาจีน(汉语)จะสะกดเป็น Han yuโดยเขียนแยกกัน และใช้ H เป็นอักษรตัวใหญ่ ตามหลักภาษาอังกฤษซึ่งจะเขียนภาษาต่างๆ โดยใช้อักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ เช่น English, Chinese และชื่อประเทศ ชื่อมณฑล ชื่อเมือง ก็จะเขียนอักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ และเขียนติดกัน เช่น คำว่าประเทศจีน(中国)จะสะกดเป็นZhongguoปักกิ่ง(北京)จะสะกดเป็น Beijing เป็นต้น

หลังจากที่ผู้เขียนได้อ่านระบบการแปรอักษรจีนเป็นอักษรโรมันของALA-LC Romanizationแล้วจึงทราบความเป็นมาและรายละเอียดหลักเกณฑ์การแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน ซึ่งจะขอเล่าความเป็นมาและยกตัวอย่างหลักเกณฑ์คร่าวๆ ดังนี้ Continue reading การลงรายการหนังสือภาษาจีน

วัฒนธรรมประเพณีจีน: วันเชงเม้ง

3388440231_9933d39e1e
ประมาณวันที่ ๕ เมษายน ของปีคริสต์ศักราชทุกปี จะตรงกับเทศกาลวัน
เช็งเม้งของชาวจีน ซึ่งเป็นเทศกาลกราบไหว้บรรพบุรุษของชาวจีนที่สืบทอดกันมาสองพันกว่าปีแล้ว ปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ ผู้เขียนได้มีโอกาส
ดูรายการสถานีโทรทัศน์CCTV4 ของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ถ่ายทอดสดพิธีกราบไหว้หวงตี้ (黄帝)(จักรพรรดิ์องค์แรกของจีน ซึ่งชาวจีนถือว่าท่านเป็นบรรพบุรุษของพวกเขา) จากอำเภอหวงหลิง(黄陵县) มณฑลส่านซี (陕西省)เป็นพิธีที่ดูแล้วยิ่งใหญ่อลังการมาก เนื่องจากมี
ผู้แทนชาวจีนจากที่ต่างๆ ทั้งจีนแผ่นดินใหญ่ ไต้หวัน ฮ่องกง รวมทั้ง ผู้แทนชาวจีนโพ้นทะเล จากที่ต่างๆ มาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก นอกจากพิธีกราบไหว้หวงตี้จากมณฑลส่านซีแล้ว ยังมีการถ่ายทอดพิธีการไหว้บรรพบุรุษจากสถานที่ต่างๆ ของประเทศจีน และยังมีการเล่าประวัติและถ่ายทอดประเพณีต่างๆ ที่ชาวจีนปฏิบัติสืบทอดติดต่อกันมา
Continue reading วัฒนธรรมประเพณีจีน: วันเชงเม้ง

การอบรมภาษาจีนระยะสั้น: การพัฒนาบุคลากร

download

เมื่อปลายเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ผู้เขียนได้เห็นหนังสือแจ้งเรื่องทุน
การศึกษาระดับปริญญาโท/เอก ของ Hanban ภายใต้โครงการความร่วมมืออุดมศึกษาไทย-จีน ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ สำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา ส่งมาถึงท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้มหาวิทยลัยธรรมศาสตร์ เสนอรายชื่อผู้สมัครรับทุน จำนวนไม่เกิน ๒ คน เป็นผู้สมัคร
ตัวจริง ๑ คน ตัวสำรอง ๑ คน ผู้เขียนเกิดความสนใจ เนื่องจากผู้เขียนมีพื้นความรู้ภาษาจีนมาก่อน จึงได้ตรวจสอบรายละเอียดของทุนว่านอกจากทุนการศึกษาระดับปริญญาโทและเอกแล้วยังมีทุนประเภทอื่นๆ หริอไม่
ปรากฏว่ายังมีทุนศึกษาภาษาจีนระยะสั้นด้วย

ทุนที่สำนักส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ หรือ ภาษาจีนเรียกว่า Hanban (The Office of Chinese Language Council International) ให้นั้น เรียกว่า ทุนสถาบันขงจื้อ (Confucius Institute Scholarship)
มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาและอาจารย์
ชาวต่างชาติทั่วโลก ที่กำลังศึกษาหรือสอนภาษาจีน ไปศึกษาภาษาและวัฒนธรรมจีน ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

ผู้เขียนได้ตรวจสอบรายละเอียดของทุนสถาบันขงจื้อแล้ว พบว่านอกจากมีทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอกแล้ว ยังมี ทุน
การศึกษาระยะสั้น (Scholarships for Short-term Study) ซีงภายหลังเปลี่ยนชื่อทุนเป็น ทุนการศึกษาระดับสูง (Scholarships for Advanced Study) (ปัจจุบันอาจจะเปลี่ยนชื่อเป็นทุนประเภทอิ่นๆ ผู้ที่สนใจสามารถตรวจสอบประเภททุนต่างๆ ได้จากเว็บไซต์ www.hanban.edu.cn/jxj.htm)

Continue reading การอบรมภาษาจีนระยะสั้น: การพัฒนาบุคลากร