Tag Archives: ธรรมศาสตร์ 80 ปี

Koha in Thailand

จาก Koha Newsletter 5,7 (July 2014) ลงข่าวสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปลี่ยนการใช้ระบบห้องสมุดเชิงพาณิชย์มาเป็น Koha โดยถือโอกาสการเฉลิมฉลองมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครบรอบ 80 ปี เปิดตัวการใช้ระบบดังกล่าว เพื่อรองรับการให้บริการใน 4 วิทยาเขต ความสำเร็จในการย้ายระบบไป Koha ดังกล่าวนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ตั้งแต่การเตรียมความพร้อม การจัดอบรม) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ด้านโครงสร้างพื้นฐาน) บริษัท ปันสาร เอเซีย จำกัด (ในการติดตั้งและพัฒนาระบบ) และบริษัท Wiserf Technologies (ในการถ่ายโอนข้อมูล)

 

บรรณานุกรม:

Pongtawat Chippimolchai. Koha in Thailand! Koha Community Newsletter: July 2014. Retreived 8 July, 2104 from http://koha-community.org/koha-community-newsletter-july-2014/

WordShare ILL : การยืมระหว่างห้องสมุดผ่านระบบ OCLC

ตามที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปิดตัว WordShare ILL ไปเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2557 นั้น บริการดังกล่าวเป็นการบริการยืมระหว่างห้องสมุดที่เราคุ้นเคยกันนั่นเอง แต่เป็นการระหว่างห้องสมุดของสมาชิกในเครือข่าย OCLC ทั่วโลก การจะให้บริการยืมดังกล่าวได้ สมาชิกจะต้องนำข้อมูลทางบรรณานุกรมของห้องสมุดเข้าในระบบ OCLC นับเป็นห้องสมุดในประเทศไทยแห่งแรกที่เริ่มเปิดการให้บริการดังกล่าว

เมื่อผู้ใช้ของสมาชิกในเครือข่ายสืบค้นรายการที่ต้องการแต่ปรากฏอยู่ในห้องสมุดแห่งอื่นๆ สามารถติดต่อห้องสมุดเพื่อขอสำเนาเอกสารหรือวัสดุอื่นๆ ได้ โดยปฏิบัติตามระเบียบการยืม ซึ่งเป็นการตกลงร่วมกันระหว่างห้องสมุดผู้ให้ยืมและห้องสมุดผู้ขอยืม ผ่านระบบส่วนกลางของ OCLC ทำให้ห้องสมุดในเครือข่ายสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ โดยมีระบบการคิดค่าใช้จ่ายที่ตั้งค่าในส่วนของค้าใช้จ่ายต่างๆ อย่างชัดเจนเป็นสากลทั้งในฝั่งที่เป็นผู้ให้ยืม และผู้ขอยืม มีความปลอดภัยในเรื่องลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ เอกสาร หรือเอกสารออนไลน์ต่างๆ ทาง OCLC จะเป็นตัวกลางในการทำ Contact Publisihng อีกทั้งยังมีระบบ Article Exchange ที่สามารถส่งไฟล์เอกสารได้ขนาดที่มากถึง 60 MB รองรับทุกนามสกุลและจะลบโดยอัตโนมัติหากมีการแล้วใน 5 วัน และถ้ายังไม่ได้เปิดอ่าน ระบบจะเก็บไว้ 30 วัน ในส่วนของระบบ Article sharing นั้น ระบบเอื้อให้สามารถแบ่งปันการใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ได้อีกด้วย รวมทั้งมีระบบขอยืมAutomatic Deflection สำหรับกรณีที่มีผู้ต้องการยืมมากกว่า 1 แห่ง ห้องสมุดแห่งที่ 1 ไม่สามารถให้ยืมได้ ระบบจะดำเนินการหาห้องสมุดแห่งต่อไปให้โดยอัตโนมัติ และมีการจัดทำรายงานสรุปในภาพรวมเพื่อการวางแผนในการบริหารจัดการสารสนเทศต่อไปได้

รายการอ้างอิง:

OCLC. บริการยืมระหว่างห้องสมุดผ่านระบบ (OCLC Interlibrary Loan Service). [2557] (เอกสารสำเนาแจกในงานเปิดตัวห้องสมุดดิจิทัลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 26 มิถุนายน 2557)

ธรรมศาสตรานุกรม 80 ปี

ธรรมศาสตรานุกรม
                                          ธรรมศาสตรานุกรม

ธรรมศาสตรานุกรม 80 ปี รวบรวมเหตุการณ์ต่างๆ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วงปี พ.ศ. 2477-2557 และนับจากการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองในปี พ.ศ.2477 มหาวิทยาลัยก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษา อันเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญตามหลักหกประการของคณะราษฎร ที่ว่าด้วย “จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร” และนับแต่นั้นมา ประวัติศาสตร์ลและเรื่องราวของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงไม่อาจแยกขาดจากสังคมไทย หนังสือเล่มนี้ จึงได้รวบรวมเหตุการณ์สำคัญทางสังคมการเมืองของไทยเข้าไว้ด้วย โดยนำเสนอเนื้อหาตามลำดับเวลา