Tag Archives: การยืมระหว่างห้องสมุด

ประชุมชี้แจงการบอกรับสมาชิกฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้นประจำปีงบประมาณ 2562

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2561 ผู้เขียนได้เข้าร่วมประชุมชี้แจงการบอกรับสมาชิกฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้นประจำปีงบประมาณ 2562 ณ สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา

1539829556935

Continue reading ประชุมชี้แจงการบอกรับสมาชิกฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้นประจำปีงบประมาณ 2562

การพัฒนาระบบ Book Delivery ใหม่ของหอสมุด มธ.

Capture

Book Delivery คืออะไร

Book Delivery คือ บริการที่รับจัดส่งหนังสือระหว่างห้องสมุดสาขา ของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ​เพื่อช่วยให้ผู้ใช้บริการไม่ต้องเดินทางไปยืมหนังสือด้วยตนเองระหว่างศูนย์การศึกษา ท่าพระจันทร์ รังสิต ลำปาง และพัทยา​ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บริการของเราจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้สนับสนุน การเรียนรู้ทุกที่ ทุกเวลา ของประชาคมธรรมศาสตร์ทั้งในวันนี้ และอนาคต Continue reading การพัฒนาระบบ Book Delivery ใหม่ของหอสมุด มธ.

บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Book Delivery)

บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Book Delivery) ของห้องสมุดคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

สมาชิกห้องสมุด ซึ่งใช้บริการห้อสมุด ณ.ท่าพระจันทร์ ศูนย์รังสิต ศูนย์ลำปาง และศูนย์พัทยา สามารถยืมหนังสือระหว่างห้องสมุดสาขาต่างวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โดยใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Book Delivery) โดยมีข้อกำหนดดังนี้

  1. บริการนี้ สำหรับ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เท่านั้น
  2.  หนังสืออ้างอิง วารสาร ไม่อนุญาตให้ใช้บริการ ยืมระหว่างห้องสมุด
  3.  หนังสือที่มีในห้องสมุดของแต่ละศูนย์ ที่ขอรับตัวเล่ม สถานะ “On Shelf” มากกว่า 2 เล่ม จะไม่ดำเนินการให้ยืมระหว่างห้องสมุด
  4.  กรณีที่กรอกแบบฟอร์ม ขอใช้บริการ ก่อน 10.00 น. จะได้รับตัวเล่มภายใน 13.30 น. ของวันเดียวกัน (เฉพาะท่าพระจันทร์ กับศูนย์รังสิต) หากเป็นหนังสือของศูนย์พัทยา จะส่งให้ภายใน 7 วัน และศูนย์ลำปางจะส่งให้ภายในเวลา 10 วัน
  5. ในกรณีที่ห้องสมุดที่เป็นเจ้าของหนังสือหาหนังสือไม่พบ ทางห้องสมุดจะแจ้งให้ผู้ขอใช้บริการทราบทาง e-mail  และให้รอ เพื่อจะหาหนังสือตรวจสอบว่ายังมีหนังสือที่ห้องสมุดสาขาอื่นอีกหรือไม่ และจะะดำเนินการจัดส่งไปให้ตามที่ผู้ขอใช้บริการระบุขอรับตัวเล่ม

WordShare ILL : การยืมระหว่างห้องสมุดผ่านระบบ OCLC

ตามที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปิดตัว WordShare ILL ไปเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2557 นั้น บริการดังกล่าวเป็นการบริการยืมระหว่างห้องสมุดที่เราคุ้นเคยกันนั่นเอง แต่เป็นการระหว่างห้องสมุดของสมาชิกในเครือข่าย OCLC ทั่วโลก การจะให้บริการยืมดังกล่าวได้ สมาชิกจะต้องนำข้อมูลทางบรรณานุกรมของห้องสมุดเข้าในระบบ OCLC นับเป็นห้องสมุดในประเทศไทยแห่งแรกที่เริ่มเปิดการให้บริการดังกล่าว

เมื่อผู้ใช้ของสมาชิกในเครือข่ายสืบค้นรายการที่ต้องการแต่ปรากฏอยู่ในห้องสมุดแห่งอื่นๆ สามารถติดต่อห้องสมุดเพื่อขอสำเนาเอกสารหรือวัสดุอื่นๆ ได้ โดยปฏิบัติตามระเบียบการยืม ซึ่งเป็นการตกลงร่วมกันระหว่างห้องสมุดผู้ให้ยืมและห้องสมุดผู้ขอยืม ผ่านระบบส่วนกลางของ OCLC ทำให้ห้องสมุดในเครือข่ายสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ โดยมีระบบการคิดค่าใช้จ่ายที่ตั้งค่าในส่วนของค้าใช้จ่ายต่างๆ อย่างชัดเจนเป็นสากลทั้งในฝั่งที่เป็นผู้ให้ยืม และผู้ขอยืม มีความปลอดภัยในเรื่องลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ เอกสาร หรือเอกสารออนไลน์ต่างๆ ทาง OCLC จะเป็นตัวกลางในการทำ Contact Publisihng อีกทั้งยังมีระบบ Article Exchange ที่สามารถส่งไฟล์เอกสารได้ขนาดที่มากถึง 60 MB รองรับทุกนามสกุลและจะลบโดยอัตโนมัติหากมีการแล้วใน 5 วัน และถ้ายังไม่ได้เปิดอ่าน ระบบจะเก็บไว้ 30 วัน ในส่วนของระบบ Article sharing นั้น ระบบเอื้อให้สามารถแบ่งปันการใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ได้อีกด้วย รวมทั้งมีระบบขอยืมAutomatic Deflection สำหรับกรณีที่มีผู้ต้องการยืมมากกว่า 1 แห่ง ห้องสมุดแห่งที่ 1 ไม่สามารถให้ยืมได้ ระบบจะดำเนินการหาห้องสมุดแห่งต่อไปให้โดยอัตโนมัติ และมีการจัดทำรายงานสรุปในภาพรวมเพื่อการวางแผนในการบริหารจัดการสารสนเทศต่อไปได้

รายการอ้างอิง:

OCLC. บริการยืมระหว่างห้องสมุดผ่านระบบ (OCLC Interlibrary Loan Service). [2557] (เอกสารสำเนาแจกในงานเปิดตัวห้องสมุดดิจิทัลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 26 มิถุนายน 2557)