Tag Archives: ภัยธรรมชาติ

รับมือกับแผ่นดินไหว

ได้อ่านข่าวแผ่นดินไหวที่เกิดต่างประเทศแล้ว เห็นความสูญสียมหาศาลไม่ว่าทางทรัพย์สิน ชีวิต และพลัดพรากจากสิ่งที่รัก และบุคคลอันเป็นที่รัก ทำให้นึกสะท้อนในอกว่าถ้าเกิดกับเรา เราจะทำอย่างไร เพราะอาศัยในอาคารเหมือนกัน ถึงแม้ว่าจะไม่สูงมาก แต่ก็กลัวอยู่ดี หาข้อมูลดีกว่า ซึ่งมีข้อมูลมากมายและคำแนะนำเยอะมาก มากจนงง ไม่เป็นไร เอาที่เราสามารถดีกว่า

สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพ ได้จัดทำแผ่นพับการรับมือแผ่นดินไหว เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนถึงวิธีการรับมือกับแผ่นดินไหว ตามรูป

การรับเมือกับแผ่นดินไหว
การรับเมือกับแผ่นดินไหว
การรับมือกับแผ่นดินไหว
การรับมือกับแผ่นดินไหว

ที่มาของภาพ: สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพ
Continue reading รับมือกับแผ่นดินไหว

หลังวิกฤตน้ำท่วม 2554

สรุปความเสียหายหลังเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี พ.ศ. 2554 ทั้ง ห้องสมุดศูนย์รังสิต หอสมุดปรีดี พนมยงค์ และหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ การแก้ปัญหาการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ด้วยการนำ CONTENTdm ซึ่งเป็น software ที่ผลิตโดย OCLC มาใช้ในการจัดเก็บและบริหารจัดการข้อมูล digital

ติดตามข้อมูลรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง
กนกวรรณ บัวงาม. หลังวิกฤตน้ำท่วม 2554. โดมทัศน์  33,1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) : 3-31.

โรงเรียนลอยน้ำ Makoko Floating School

Makoko เป็นชุมชนแออัดริมทะเลสาบที่เมือง Lagos ประเทศ
Nigeria ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของทวีปแอฟริกาติดอาว Gulf of Guinea
สภาพคงคล้ายกับสลัมคลองเตยเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว ชาวบัานส่วนใหญ่
เป็นชาวประมงที่หากินกับทะเลสาบ สร้างบ้านใต้ถุนสูงบนที่ชายเลนด้วย
วัสดุตามแต่จะหาได้ในพื้นที่ ชุมชนนี้ไม่มีถนนที่รถยนต์เข้าได้ ไม่มีระบบ
สาธารณูปโภค ไม่มีแม้แต่แผ่นดินที่มั่นคงแข็งแรงจะอาศัยอยู้ ในฤดูที่ฝนตก
และมีพายุก็เสี่ยงที่จะพังลงมาเมื่อใดก็ได้ชุมชนนี้มีผู้อยู่อาศัยประมาณ
80,000 คน มีโรงเรียนประถมเพียงโรงเรียนเดียวซึ่งก็ไม่มีสภาพดีไปกว่า
บ้านเรือนโดยรอบเท่าใด ในปีค.ศ. 2011 ได้เกิดโครงการ Makoko
Floating School ขึ้น โดยความร่วมมือระหว่างบริษัท Nle (www.
nleworks.com) ซึ่งมี Kunle Adeyemi สถาปนิกชาวไนจีเรียที่ไปมี
ชื่อเสียงโด่งดังในยุโรปเป็นหัวหน้าทีม, United Nations Development
Programme (UNDP), และมูลนิธิ Heindrich Boell Foundation
ประเทศเยอรมนี เพื่อเป็นอาคารต้นแบบที่สามารถทนต่อพายุและ
นํ้าท่วมได้ ใช้วัสดุท้องถิ่นที่ราคาไม่แพง ได้รับการออกแบบให้ประหยัด
พลังงาน และมีระบบจัดการสภาพแวดล้อมที่กลมกลืนกับธรรมชาติ

ติดตามข้อมูลรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง:
โรงเรียนลอยน้ำ Makoko Floating School. โดมทัศน์ 33,1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) : 32-41.