Tag Archives: CONTENTdm

สำนักงานวิทยทรัพยากร จฬ. ดูงานการเข้าร่วมเป็นสมาชิก OCLC

วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร. อมร  เพชรสม ผู้อำนวยการ พร้อมด้วยคณะบรรณารักษ์และนักเอกสารสนเทศ จำนวน 13 คน เข้าศึกษาดูงานการดำเนินงานการเข้าร่วมเป็นสมาชิก OCLC พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การให้บริการ ประกอบด้วย WorldCat Local, WorldShare ILL, ContentDM และ Connexion Service ทั้งนี้ ทีมสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  นำโดย ผอ. ศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ และคณะให้การต้อนรับ พร้อมแลกเปลี่ยนและตอบข้อซักถามเกี่ยวกับการใช้บริการต่างๆ ของ OCLC

สำนักงานวิทยทรัพยากร จฬ. ดูงานการเข้าร่วมเป็นสมาชิก OCLC
สำนักงานวิทยทรัพยากร จฬ. ดูงานการเข้าร่วมเป็นสมาชิก OCLC
ผู้อำนวยการ ของทั้งสองแห่ง
ผู้อำนวยการ ของทั้งสองแห่ง

สาระความรู้เกี่ยวกับ OCLC

– ทำความรู้จัก WORLDCAT KNOWLEDGE BASE
– การจัดทำ CONTENTDM : วิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
– ดิจิทัลคอลเล็คชั่นของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– รีโมทใช้ฐานข้อมูลออนไลน์แบบอีซี่ๆ ด้วย EZPROXY
– KARAOKE ก็ไม่ใช่ 

– WORLDSHARE INTERLIBRARY LOAN (WORLDSHARE ILL)
– โปรแกรมแปลงสาส์น (THAI ROMANIZATION)
– WORDSHARE ILL : การยืมระหว่างห้องสมุดผ่านระบบ OCLC
– OCLC MEMBERSHIP AND BENEFITS FOR ASIA PACIFIC : การเป็นสมาชิก และประโยชน์ที่ได้
– OCLC GLOBAL COUNCIL MEETING
–  OCLC Conference 2014 : Interview with FM88 MHz

การจัดทำ CONTENTdm : วิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีระบบ CONTENTdm โดยเนื้อหาประเภทหนึ่งที่บรรจุในระบบดังกล่าว คือ วิทยานิพนธ์ ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถเข้าถึงข้อมูลฉบับเต็ม (Full text) ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โดยไม่ต้องเดินทางมาห้องสมุด เพียงใช้ปลายนิ้วสัมผัสแป้นพิมพ์ ก็สามารถดาวน์โหลดข้อมูลได้อย่างง่ายดาย

ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเบื้องหลังของขั้นตอนการทำ CONTENTdm วิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยนำไฟล์วิทยานิพนธ์แต่ละชื่อเรื่องมากำหนดเมทาดาทา (metadata) ซึ่งวิทยานิพนธ์แต่ละชื่อเรื่องต้องกำหนดให้มี 2 ไฟล์ คือไฟล์ที่เป็นเอกสารฉบับเต็ม (Full text) และไฟล์ที่เป็นบทคัดย่อ (Abstract) โดยจัดเก็บเป็นไฟล์สกุล .pdf และนำมากำหนดเมทาดาทาทั้ง 2 รายการ Continue reading การจัดทำ CONTENTdm : วิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดิจิทัลคอลเล็คชั่นของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำนักหอสมุดเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นพร้อมการก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ในปี พ.ศ. 2477 ด้วยระยะเวลาการก่อตั้งที่ยาวนาน ทำให้สำนักหอสมุดได้สั่งสมทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่าในด้านเนื้อหาและการจัดพิมพ์เป็นจำนวนมาก

ด้วยการตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของทรัพยากรสารสนเทศ ความต้องการอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศให้คงอยู่ได้ด้วยรูปแบบการจัดเก็บและการนำเสนอที่แตกต่างออกไปโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาจัดการ การตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศโดยปราศจากข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ การส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำนักหอสมุดจึงมีมุ่งมั่นที่จะพัฒนาดิจิทัลคอลเล็คชั่นให้เข้มแข็ง เพื่อเป็นแหล่งจัดเก็บและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำนักหอสมุดเริ่มต้นพัฒนาดิจิทัลคอลเล็คชั่นด้วยการแปลงรูปทรัพยากรสิ่งพิมพ์เป็นรูปดิจิทัลในปี พ.ศ. 2544 โดยหนังสือหายากเป็นทรัพยากรสารสนเทศประเภทแรกที่ได้รับการพิจารณานำมาจัดทำ เนื่องจากเป็นสิ่งพิมพ์ที่ทรงคุณค่าด้านเนื้อหาและด้านการพิมพ์ ไม่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามท้องตลาดหรืออาจไม่มีในห้องสมุดอื่นๆ โดยมุ่งเน้นการทำสำเนาทรัพยากรในรูปดิจิทัลเพื่อให้เนื้อหายังคงอยู่ สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาค้นคว้าได้สืบไป ต่อมาสำนักหอสมุดมีการพัฒนาดิจิทัลคอลเล็คชั่นอย่างต่อเนื่อง โดยมีแนวทางในการพิจารณาทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์เพื่อนำมาแปลงรูปเป็นดิจัล 4 ประเด็นคือ คุณค่าของทรัพยากรสารสนเทศ ลักษณะทางกายภาพ คุณภาพของทรัพยากรสารสนเทศ และเรื่องของลิขสิทธิ์

ปัจจุบันสำนักหอสมุดจัดเก็บดิจิทัลคอลเล็คชั่นในระบบ CONTENTdm ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศที่สามารถรองรับการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลได้หลายรูปแบบ ได้แก่ ไฟล์ในรูปแบบ Microsoft office, .pdf, MP4, Image, Video เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นการทำงานที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบสืบค้นแบบบูรณาการ (Integrated search) ที่สำนักหอสมุดจัดหามาใช้งาน ได้แก่ ระบบ One Search ของบริษัท Ebscohost และระบบ WorldCat Local ของ OCLC ซึ่งช่วยให้ข้อมูลที่จัดเก็บในระบบ CONTENTdm สามารถสืบค้นผ่านระบบดังกล่าวได้แบบอัตโนมัติ ทำให้ข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลได้รับการเผยแพร่อย่างรวดเร็ว โดยบุคคลทั่วไปสามารถเข้าใช้บริการดิจิทัลคอลเล็คชั่นของสำนักหอสมุดโดยตรงได้ที่เว็บไซต์ http://beyond.library.tu.ac.th

Continue reading ดิจิทัลคอลเล็คชั่นของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หลังวิกฤตน้ำท่วม 2554

สรุปความเสียหายหลังเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี พ.ศ. 2554 ทั้ง ห้องสมุดศูนย์รังสิต หอสมุดปรีดี พนมยงค์ และหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ การแก้ปัญหาการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ด้วยการนำ CONTENTdm ซึ่งเป็น software ที่ผลิตโดย OCLC มาใช้ในการจัดเก็บและบริหารจัดการข้อมูล digital

ติดตามข้อมูลรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง
กนกวรรณ บัวงาม. หลังวิกฤตน้ำท่วม 2554. โดมทัศน์  33,1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) : 3-31.