Tag Archives: Maker Space

ห้องสมุดที่เป็นมากกว่าห้องสมุด

ถ้าห้องสมุดเป็นมากกว่าห้องสมุด  ต้องลบภาพห้องสมุดแบบเดิมๆ ไปเลย เพราะห้องสมุดจะกลายเป็น learning space เป็นที่ที่คนอยากเข้า เข้ามานั่งอ่าน นั่งคุยแลกเปลี่ยนความเห็น แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม กับบรรยากาศสบายๆ ผ่อนคลาย ทำกิจกรรม เกิดแรงบันดาลใจจากผู้คนที่คุยด้วยหรือจากบรรยากาศ โดยรอบ

 HUMBOLDT-UNIVERSITY BERLIN, READING TERRACE

Keyword ที่พบสำหรับห้องสมุดในยุคที่เป็นมากกว่าห้องสมุด คือ คำว่า learning space ; Integration of digital device / digital media ; Event spaces ; Maker space

แนะนำให้เข้าไปเว็บไซต์ http://www.designinglibraries.org.uk/ เป็นเว็บไซต์การออกแบบห้องสมุด สำหรับผู้ที่สนใจในการออกแบบและนวัตกรรมในห้องสมุด มีข้อมูลมากมายเกี่ยวกับการออกแบบห้องสมุด เทรนต่างๆ การออกแบบที่สอดรับพัฒนาการการให้บริการของห้องสมุด แค่ดูรูปห้องสมุดก็สุดทึ่ง ถ้าออกแบบเป็นแบบนี้อยู่ได้ทั้งวันทั้งคืน ดูเว็บไซต์นี้แล้วนี่หรือห้องสมุด  มีทั้งสไตล์  และฟังก์ชั่น

บทความในเว็บไซต์ ก็ชวนให้อ่านทุกเรื่อง ตัวอย่างเช่น  Designing college libraries for Generation Z  หรือ A social hub of information, technology and services  

รายการอ้างอิง
Mahnkel, Christel and Sirirat Tinarat. Future Libraries- Libraries for the future. Retrieved from http://www.car.chula.ac.th/con2015/brain/files/resources/07-FutureLibraries.pdf

คิดทันโลก ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและห้องสมุดในอนาคต

คิดทันโลก ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและห้องสมุดในอนาคต
คิดทันโลก ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและห้องสมุดในอนาคต

เมื่อโลกเปลี่ยนแปลง ความคิดก็ต้องเปลี่ยนไปให้ทันโลก ห้องสมุดจึงต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง มิฉะนั้นจะไม่ต่างไปจากไดโนเสาร์ยุคดิจิทัล ที่สักวันหนึ่งย่อมถึงเวลาสิ้นสูญ

คิดทันโลกฯ เล่มนี้ จัดทำโดย สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ TK Park ส่วนแรกเป็นการนำบทความของวิทยากรจาก งาน TK Forum 2015 การประชุมวิชาการในหัวข้อ “อนาคตห้องสมุด: สิ่งท้าทายและแนวโน้ม” (Library Futures: Challenges and Trends) วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม 2558 ได้แก่

  • อนาคตของห้องสมุดและบรรณารักษ์ จากภัณฑารักษ์สู่ผู้รังสรรค์อุทยาน (Sohail Inayatullah)
  • ความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านห้องสมุด จากองค์กร เน้นคลังหนังสือและข้อมูล ไปสู่องค์กรที่มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง (Jens Thorhauge)
  • แผนงานการปรับปรุงและชุบชีวิตห้องสมุดในแมนเชสเตอร์ (Neil MacInnes)
  • หอสมุดสารสนเทศและบริการจดหมายเหตุแห่งแมนเชสเตอร์ สภาเมืองแมนเชสเตอร์

ส่วนที่สอง จะเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ : ปรากฏการณ์ เป็นเรื่องของการทำพื้นที่การอ่าน พื้นที่สร้างความรู้ 3 บทความ คือ

  • Explore / Extend / Exchange พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์
  • C.A.M.P สร้างสรรค์พื้นที่การอ่านให้เป็นแหล่งพบปะสร้างสรรค์หาความรู้
  • Maker Space พื้นที่สร้างความรู้ ด้วยวัฒนธรรม ทำ แบ่งปัน และเรียนรู้จากข้อผิดพลาด

ส่วนที่สาม ห้องสมุดอนาคต : กรณีศึกษา มีด้วยกัน 5 เรื่อง

  • ห้องสมุดแนวใหม่ ก้าวข้ามแหล่งให้บริการยืมคืนหนังสือ
  • Renaissance of Space อนาคตของห้องสมุด: โจทย์ใหม่ว่าด้วยพื้นที่การเรียนรู้
  • เก็บตกแนวคิด ห้องสมุดมีชีวิตสไตล์ดัตช์ จุดนัดพบของผู้คนและความสัมพันธ์ สะพานเชื่อมความทรงจำและความรู้
  • ห้องสมุดสำหรับสังคมผู้สูงอายุ
  • 10 เคล็ดลับจัดพื้นที่ห้องสมุดให้ “ว้าว!” ประสบการณ์จากเยอรมนี

สนใจอ่านดาวน์โหลดได้ที่เว็บ TK Park

รายการอ้างอิง
วัฒนชัย วินิจจะกูล บรรณาธิการ. คิดทันโลก ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและห้องสมุดในอนาคต. กรุงเทพฯ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, 2558.