Tag Archives: ผู้สูงอายุ

คิดทันโลก ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและห้องสมุดในอนาคต

คิดทันโลก ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและห้องสมุดในอนาคต
คิดทันโลก ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและห้องสมุดในอนาคต

เมื่อโลกเปลี่ยนแปลง ความคิดก็ต้องเปลี่ยนไปให้ทันโลก ห้องสมุดจึงต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง มิฉะนั้นจะไม่ต่างไปจากไดโนเสาร์ยุคดิจิทัล ที่สักวันหนึ่งย่อมถึงเวลาสิ้นสูญ

คิดทันโลกฯ เล่มนี้ จัดทำโดย สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ TK Park ส่วนแรกเป็นการนำบทความของวิทยากรจาก งาน TK Forum 2015 การประชุมวิชาการในหัวข้อ “อนาคตห้องสมุด: สิ่งท้าทายและแนวโน้ม” (Library Futures: Challenges and Trends) วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม 2558 ได้แก่

  • อนาคตของห้องสมุดและบรรณารักษ์ จากภัณฑารักษ์สู่ผู้รังสรรค์อุทยาน (Sohail Inayatullah)
  • ความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านห้องสมุด จากองค์กร เน้นคลังหนังสือและข้อมูล ไปสู่องค์กรที่มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง (Jens Thorhauge)
  • แผนงานการปรับปรุงและชุบชีวิตห้องสมุดในแมนเชสเตอร์ (Neil MacInnes)
  • หอสมุดสารสนเทศและบริการจดหมายเหตุแห่งแมนเชสเตอร์ สภาเมืองแมนเชสเตอร์

ส่วนที่สอง จะเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ : ปรากฏการณ์ เป็นเรื่องของการทำพื้นที่การอ่าน พื้นที่สร้างความรู้ 3 บทความ คือ

  • Explore / Extend / Exchange พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์
  • C.A.M.P สร้างสรรค์พื้นที่การอ่านให้เป็นแหล่งพบปะสร้างสรรค์หาความรู้
  • Maker Space พื้นที่สร้างความรู้ ด้วยวัฒนธรรม ทำ แบ่งปัน และเรียนรู้จากข้อผิดพลาด

ส่วนที่สาม ห้องสมุดอนาคต : กรณีศึกษา มีด้วยกัน 5 เรื่อง

  • ห้องสมุดแนวใหม่ ก้าวข้ามแหล่งให้บริการยืมคืนหนังสือ
  • Renaissance of Space อนาคตของห้องสมุด: โจทย์ใหม่ว่าด้วยพื้นที่การเรียนรู้
  • เก็บตกแนวคิด ห้องสมุดมีชีวิตสไตล์ดัตช์ จุดนัดพบของผู้คนและความสัมพันธ์ สะพานเชื่อมความทรงจำและความรู้
  • ห้องสมุดสำหรับสังคมผู้สูงอายุ
  • 10 เคล็ดลับจัดพื้นที่ห้องสมุดให้ “ว้าว!” ประสบการณ์จากเยอรมนี

สนใจอ่านดาวน์โหลดได้ที่เว็บ TK Park

รายการอ้างอิง
วัฒนชัย วินิจจะกูล บรรณาธิการ. คิดทันโลก ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและห้องสมุดในอนาคต. กรุงเทพฯ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, 2558.

เครื่องดื่มคลายร้อนที่ต้องหลีกเลี่ยง

ช่วงนี้บ้านเราอากาศร้อนมาก ๆ คนทุกเพศทุกวัยอาจเจ็บป่วยได้ง่าย ๆ ขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง คนพิการที่ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องได้รับการดูแล และเอาใจใส่เป็นพิเศษ ในช่วงที่อากาศร้อนทำให้เรากระหายน้ำ และต้องดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ แต่ใช่ว่าเราจะดื่มน้ำอะไรก็ได้ ที่คิดว่าจะช่วยคลายร้อนให้เรา เครื่องดื่มบางชนิดอาจไม่ได้ช่วยดับร้อนให้เราได้จริง แถมยิ่งดื่มมากยิ่งเกิดโทษแก่ร่างกายเสียอีก เครื่องดื่มคลายร้อนที่ต้องหลีกเลี่ยงเวลาอากาศร้อน มี 4 ชนิด ได้แก่ครื่องดื่มชนิดใดบ้างนั้น สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่คะ

รายการอ้างอิง:
เครื่องดื่มคลายร้อน 4 ชนิดที่ต้องเลี่ยงหน้าร้อนนี้ ! ค้นเมื่อ 27 เมษายน 2558 จาก http://health.kapook.com/view116990.html

โรคกระดูกพรุนกันไว้ดีกว่าแก้

เมื่อพูดถึงโรคกระดูกพรุนแล้ว สำหรับบางคนอาจจะรู้สึกว่าเป็นโรคที่ไกลตัวแล้วก็ไม่น่าจะเกิดขึ้นกับเราง่ายๆ แต่แท้จริงแล้วเราทุกคนต่างมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนได้ ตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป และมีโอกาสที่จะเกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เพราะผู้หญิงมีความหนาแน่นของมวลกระดูกน้อยกว่าผู้ชายนั่นเอง  แต่ที่น่าตกใจกว่าก็คือ โรคกระดูกพรุนจะไม่มีอาการเตือนใด ๆ จนกระทั่งมันก่อเรื่องไปแล้ว โดยส่วนมากผู้ที่เป็นมักจะมาพบแพทย์ด้วยการหกล้มหรือกระแทกไม่รุนแรงแต่เกิดกระดูกหัก หรือมาพบแพทย์เพราะมีปัญหาว่าตัวเตี้ยลง หลังค่อมหรือหลังโกงว่าเดิม ซึ่งมักจะพบได้ในกรณีที่เป็นกระดูกพรุนและเกิดการหักชนิดทรุดตัวของกระดูกสันหลัง

ส่วนสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุนนั้น มีหลายปัจจัย เช่น การออกกำลังกายน้อย หรือ ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ เป็นต้น

เมื่อเราไม่สามารถจะรู้ได้ว่า เราจะเป็นโรคกระดูกพรุนเมื่อไร จนกว่าจะไปตรวจกับคุณหมอ วิธีการที่ดีที่สุดคือการป้องกันไว้ก่อน ทำได้ดังนี้

  1. การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้หกล้ม

เป้าหมายของการรักษาโรคกระดูกพรุน ก็คือ การป้องกันการแตกหักของกระดูก ซึ่งสิ่งที่ทำให้เกิดกระดูกหักได้บ่อยที่สุด ก็คือ การหกล้ม ดังนั้นที่อยู่อาศัยของผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนควรจัดการเรื่องแสงสว่างให้เพียงพอ ติดตั้งราวจับหรือพื้นผิวที่ไม่ลื่น ป้องกันการล้ม ในผู้สูงอายุที่โรคประจำตัวอื่น ๆ ควรรักษาโรคประจำตัวที่มีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อหรือระบบประสาท เพื่อให้ร่างกายมีความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว

2. การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายให้ประโยชน์ในสองด้าน ก็คือ ด้านแรกช่วยให้มีความคล่องแคล่วและมีกำลังกล้ามเนื้อมากขึ้น ทำให้โอกาสเสียหลักหกล้มลดลง และด้านถัดมา การออกกำลังกายจะกระตุ้นให้เกิดการสร้างมวลกระดูกมากขึ้น ทั้งนี้ ชนิดของการออกกำลังกายที่เหมาะสมก็ขึ้นอยู่กับโรคประจำตัวสภาพร่างกายเดิม และความหนาแน่นของมวลกระดูกเดิม

3. การรับประทานยา

ยาที่ใช้ในการเพิ่มมวลกระดูกมีหลายชนิด เช่น แคลเซียม วิตามินดี หรือยาที่ยับยั้งการทำลายมวลกระดูก ซึ่งการจะเลือกใช้ยาชนิดใดหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการประเมินจากแพทย์ที่รักษา ไม่ควรซื้อมารับประทานเองเพราะ แต่ละชนิดต่างก็มีผลข้างเคียงของยาอยู่

4. การกำจัดปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขได้

ควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ รับประทนอาหารที่มีแคลเซียม และวิตามินดี หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่อยู่กับที่ ซึ่งข้อนี้คือข้อที่ควรทำในทุกคนไม่ว่าท่านจะเป็นกระดูกพรุนหรือไม่ก็ตาม เพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่าในอนาคตจะมีโรคอะไรที่ทำเกิดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนขึ้นมาหรือไม่

ข่าวดีคือ การเปลี่ยนจากกระดูกที่ปกติไปเป็นโรคกระดูกพรุน เป็นกระบวนการที่กินเวลาหลายปี การรักษาเพื่อให้สมบูรณ์ปกติก็กินเวลานาน ดังนั้น หากใครรู้ตัวว่ามีความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน ควรปรับพฤติกรรม ปรับการใช้ชีวิตเสียแต่วันนี้  เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงนะคะ

ที่มา :

กระดูกพรุน รู้ตัวแต่เนิ่นๆ ป้องกันได้. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2558 จาก http://health.kapook.com/view115981.html

การขูดหินปูนจะทำให้หัวใจและสมองดีไป7ปี

จากการทดลองที่ประเทศไต้หวัน พบว่า การขูดหินปูน (Scaling) เพื่อทำความสะอาดในผู้สูงอายุช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และสโตรคได้นานถึง 7  ปี ทั้งนี้การขูดหินปูนเป็นการทำความสะอาดฟัน เพื่อขูดคราบพลัคที่ผิวฟัน และในเบ้าฟันส่วนใต้แนวเหงือก ซึ่งพลัคจะทำให้เหงือกอักเสบเนื้อเยื่อรอบโคนฟันอักเสบเรื้อรัง ทำให้สารก่อการอักเสบแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดอักเสบเพิ่มเสี่ยงหลอดเลือดตีบตัน การขูดหินปูนทุก 2 ปี มีส่วนช่วยลดเสี่ยงโรคหัวใจได้ถึง 31 เปอร์เซนต์และลดเสี่ยงสโตรคหรือกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต 15 เปอร์เซนต์

ที่มา:

กองบรรณาธิการ “เชื่อมั้ยว่า… ถ้าคุณขูดหินปูน..จะทำให้หัวใจ และสมอง ดีไป 7 ปี เชียวนะ” นิตยสาร BE WELL ปีที่ 9 ฉบับที่ 100 (กุมภาพันธ์ – เมษายน 2558) น. 86.

วิธีดูแลผิวพรรณของผู้สูงอายุ

มองไปรอบๆ ที่ทำงาน รายล้อมไปด้วยผู้สูงวัย เลยนึกถึงตัวเองอยู่บ้างว่า ถ้าเราเริ่มเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ เราจะมีวิธีการดูแลผิวพรรณของเราอย่างไร เลยเดินหาหนังสือเกี่ยวกับการดูแลผิวพรรณ ไปเจอหมวด QT หมวดสุขภาพ ก็เลยเปิดอ่าน ได้ใจความว่า ถ้าเราอยากจะมีผิวสวยในวัย สว. เราควรทำแบบนี้ค่ะ

  • ควรใช้ครีมบำรุงผิวที่ให้ความชุ่มชื้นและไม่ควรใช้สบู่ฟอกตัวหรือผิวมากเกินความจำเป็น เนื่องจากในวัยนี้ผิวจะแห้งแตกได้ง่าย
  • ควรระมัดระวังในการใช้เครื่องสำอางที่บอกว่ามีฮอร์โมนผสมอยู่เพราะฮอร์โมนบางอย่างอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
  • ควรได้รับการขัดผิวเพื่อขจัดเซลล์ที่ตายแล้วสัปดาห์ละ2ครั้ง
  • ควรกินอาหารที่มีประโยชน์และให้สารอาหารหลากหลาย
  • ออกกำลังกายให้เหมาะกับสภาพร่างกายจะทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายได้มากขึ้น
  • หากต้องการออกไปอยู่ที่มีแสงแดดควรใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด สวมหมวก หรือกางร่มเพื่อป้องกันอาการแพ้แดดและควรทาครีมกันแดด
  • หากอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศเย็นหรือแห้งอย่างในห้องแอร์ควรทาผิวด้วยครีมที่ให้ความชุ่มชื้นเพื่อป้องกันผิวแตกลายกลายเป็นแผล
  • อารมณ์มีผลต่อผิวพรรณ พบว่าผู้ที่มีอารมณ์เย็นไม่โกรธง่ายผิวพรรณจะดูดีมีชีวิตชีวา
  • พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ ถ้าในช่วงกลางคืนนอนไม่ค่อยหลับให้หาเวลางีบกลางวันบ้าง ร่างกายจะได้ไม่อิดโรย
  • ดื่มน้ำให้มากเข้าไว้ เพราะในวัยนี้ผิวหนังและชั้นไขมันจะไม่สามารถกักน้ำเอาไว้ได้มากนัก จึงต้องเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวด้วยน้ำดื่ม

หวังว่าเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อย แบบนี้จะเป็นประโยชน์บ้างนะคะ หรือว่าถ้าท่านใดสนใจอ่านเพิ่มเติม มาค้นหนังสือที่หอสมุดป๋วย ซิคะ ใช้คำค้นว่า ผู้สูงวัย ผู้สูงอายุ ประมาณ นี้ ก็จะได้หนังสือเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ผู้สูงวัย และก็คงมีเรื่องการดูแลผิวพรรณอยู่ด้วยค่ะ หรือว่าถ้าไม่อยากค้นหาจากฐานข้อมูลมาเดินดูที่ชั้นหนังสือ หมวด QT ก็ได้ค่ะ

ว่าด้วยเรื่อง เงินๆ ทองๆ ของชาวญี่ปุ่น

ตัวเองเป็นคนชอบคนญี่ปุ่น ชอบดูสารคดีของญี่ปุ่น ฝันว่าอยากจะไปเที่ยวญี่ปุ่น ซักครั้ง  ยิ่งตอนนี้ เปิดให้ทำวีซ่า ฟรี ความฝันของเราคงใกล้จะเป็นจริง แต่ตอนนี้ ขอเก็บเงินก่อน และอ่านเรื่องราวของคนญี่ปุ่น เป็นข้อมูลสะสมไปเรื่อยๆ  ได้อ่านบทความเรื่อง ว่าด้วยเงินๆทองๆ ของชาวญี่ปุ่น ซึ่งเขียนโดย ดร. ธนัยวงศ์ กีรติวนิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งเป็นอีกมุมหนึ่งที่วิเคราะห์คนญี่ปุ่น เลยอยากจะขอนำมาเขียนหรือเล่าให้อ่านกันค่ะ

ดร. ธนัยวงศ์ เขียนไว้ว่า เดิมคนญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมการออมเข้มแข็งกว่าประเทศอื่นๆ เนื่องจากประสบกับความทุกข์ยากจากสงครามโลกครั้งที่ 2  แต่ปัจจุบัน พฤติกรรมการออมลดลง เนื่องจาก คนรุ่นใหม่ มีนิสัยรักการออมน้อยลง แถมก่อหนี้ภาคครัวเรือนสูงกว่าสมัยก่อนอีกด้วย  อีกประการหนึ่งก็คือ ประชากรผู้สูงอายุมากขึ้น คนหนุ่มสาวแต่งงานช้า ไม่นิยมมีบุตรมาก กำลังการซื้อจึงอยู่ที่ประชากรผู้สูงอายุ  นอกจากนี้ยังมีอีกหลายมุมมอง ที่ ดร. ธนัยวงศ์ เขียนไว้ซึ่งน่าสนใจมากค่ะ สามารถติดตามอ่านได้ที่  ว่าด้วยเรื่อง เงินๆ ทองๆ ของชาวญี่ปุ่น

รายการอ้างอิง:

ธนัยวงศ์ กีรติวานิชย์. ว่าด้วยเรื่อง เงินๆ ทองๆ ของชาวญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 จาก http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1153&read=true&count=true