All posts by นางสาวยุวดี แก้วเอี่ยม

ห้องสมุดคณะสังคมฯ

ห้องสมุดคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ห้องสมุดคณะสังคมฯ   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เป็นห้องสมุดสาขาหนึ่งของสำนักหอสมุด  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยเปิดบริการที่ชั้น 4 ของอาคารคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ เป็นห้องสมุดที่ให้บริการแก่ อาจารย์ นักศึกษาและบุคลากร ทั้งสองคณะ

โครงสร้างการบริหารงานและการบริการด้านต่างๆของห้องสมุด เป็นแบบศูนย์รวม โดยมีสำนักหอสมุดเป็นศูนย์กลางของห้องสมุดสาขา ห้องสมุดได้รับความร่วมมือและประสานงานจากคณะทั้งสองแห่ง จนกระทั่งพื้นที่ให้บริการไม่พอรองรับกับจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างเช่น เวลาใกล้สอบนักศึกษาจะเข้ามานั่งที่ห้องสมุดทุกพื้นที่ เวลาเรียงหนังสือเข้าชั้นต้องรอเรียงช่วงเช้าและช่วงใกล้ปิดห้องสมุด ห้องสมุดมีปริมาณหนังสือมากและไม่สามารถเพิ่มชั้นเก็บหนังสือได้ ปริมาณหนังสือมีจำนวนมากทำให้น้ำหนักเกินและเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ตึกมีรอยร้าว อีกทั้งทางคณะต้องการพื้นที่เพื่อจัดทำห้องเรียน

ดังนั้นปลายปีพ.ศ. 2549 ห้องสมุดคณะสังคมฯ ต้องปิดบริการ เพราะเหตุหลายๆ ประการ รวมทั้งคณะสังคมฯ ก็ต้องการพื้นที่ในเรื่องการเรียนการสอน แต่ความสัมพันธ์ระหว่างคณะสังคมทั้งสองแห่งกับสำนักหอสมุดไม่ได้ปิดไปด้วย

หนังสือบริจาคของหอสมุดปรีดี พนมยงค์

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ได้รับบริจาคหนังสือจากหน่วยงานราชการ บุคลากรของมหาวิทยาลัย    นักศึกษาปัจจุบัน ศิษย์เก่า หน่วยงานและบุคลากรภายนอก โดยส่วนใหญ่จะมาที่หอสมุดปรีดีฯ ทั้งนี้เพราะสะดวกในการติดต่อด้วยตนเองหรือโทรศัพท์ติดต่อแจ้งความจำนงกับหอสมุด ทางหอสมุดปรีดีฯก็จะไปรับบริจาคหนังสือที่ทำงานหรือที่บ้านของผู้บริจาคเอง หนังสือบริจาคเหล่านี้บางชื่อเรื่องก็ไม่มีจำหน่ายในท้องตลาดเพราะเป็นหนังสือที่ผลิตใช้เฉพาะกิจ เช่น หนังสืองานศพหรือหนังสือรายงานประจำปี เป็นต้น หอสมุดปรีดีฯ ดำเนินการคัดเลือกหนังสือตามหลักเกณฑ์ดังนี้

  1. หนังสือทั่วไปที่มีรูปเล่มในสภาพที่ดี ไม่มีฉีกขาด ไม่มีรอยขีดเขียน
  2. ไม่รับหนังสือที่ถ่ายเอกสาร เอกสารประเภทชีท
  3. หนังสือด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีที่ล้าสมัย
  4. ไม่รับหนังสือที่มีสภาพเล่มเก่า ชำรุด กระดาษเป็นสีเหลือง หรือเปียกน้ำและขึ้นรา ถ้าหนังสือเก่าที่มีสภาพที่ดี มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และการเรียนการสอน หรือเกี่ยวกับประวัติ เหตุการณ์สำคัญของประเทศจะพิจารณาเป็นหนังสือหายาก
  5. รับบริจาคหนังสืองานศพ เพราะเนื้อหาบอกประวัติผู้วายชนม์และข้อมูลด้านต่างๆที่ให้ความรู้กับผู้อ่าน
  6. รับบริจาคด้านโสตทัศนวัสดุต่างๆ ที่เป็นแผ่นมาสเตอร์ ไม่รับแผ่นปลอม แผ่นหนังโป๊ฃ
  7. การรับบริจาคหนังสือ ทางหอสมุดปรีดี พนมยงค์ จะถือเป็นกรรมสิทธิ์โดยชอบธรรม และขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาโดยสามารถดำเนินการในลักษณะต่างๆ ได้ตามความเหมาะสมโดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้บริจาคทราบล่วงหน้า
  8. กรณีที่มาบริจาคหนังสือด้วยตนเอง เจ้าหน้าที่ที่จะขอที่อยู่ของผู้บริจาค เพื่อดำเนินการตอบขอบคุณ

รับบริจาควันจันทร์-ศุกร์ ระหว่าง เวลา 8.00 น.- 16.00 น. และสามารถโทรศัพท์ติดต่อที่ 02-6133539 หรือ 02-6133544

ห้องละหมาด

ละหมาด เป็นการประกอบกิจบูชาสักการะอัลลอหฺ ด้วยการอ่านบทสรรเสริญ และการวิงวอนในอาการต่างๆ เช่น ยืน ก้ม กราบและนั่ง การละหมาดเป็นการฝึกฝนให้เป็นคนตรงต่อเวลา มีความอดทน และไม่ประพฤติสิ่งใดในทางชั่วร้าย ผู้นับถือศาสนาอิสลามต้องปฏิบัติการละหมาดเป็นเวลาและเป็นกิจวัตรประจำวัน

แต่เดิมหอสมุดปรีดี พนมยงค์ ไม่มีห้องละหมาดให้บริการกับบุคลากรและนักศึกษาที่นับถือศาสนาอิสลาม ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะไปละหมาด ที่ห้องวัสดุลักษณะพิเศษ 2 หรือห้องเก็บวารสารฉบับย้อนหลัง

หอสมุดปรีดี พนมยงค์  เห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดทำห้องละหมาดเพื่อความเป็นสัดส่วนในการปฏิบัติพิธีทางศาสนาของอิสลาม อยู่ที่ชั้น U1 ใกล้ห้องวัสดุสารสนเทศลักษณะพิเศษ 2  เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติศาสนกิจของบุคลากรและนักศึกษาที่นับถือศาสนาอิสลาม

บริการวารสารและหนังสือพิมพ์

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ได้จัดบริการวารสารและหนังสือพิมพ์ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ที่ครอบคลุมเนื้อหาหลากหลายสาขาวิชา มีบริการในรูปซื้อตัวเล่ม E-journals และวัสดุย่อส่วน บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเป็นผู้จัดซื้อ และทำดรรชนีวารสาร ลงในฐานข้อมูลของสำนักหอสมุด เมื่อผู้ใช้บริการห้องสมุดต้องการบทความจากวารสารและหนังสือพิมพ์ ก็สามารถค้นหาบทความได้จากเว็บไซต์ (http://koha.library.tu.ac.th)

opac

และคลิกที่คำว่า Articles จะได้หน้าจอค้นบทความได้ตามต้องการ

clip_image002

ถ้าผู้ใช้บริการห้องสมุดต้องการบทความวารสารและหนังสือพิมพ์เพิ่มเติม ก็สามารถค้นหาได้จาก  E-Resources ฐานข้อมูล NewSCenter และฐานข้อมูล Matichon E-library ได้   บริการวารสารและหนังสือพิมพ์ ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อได้ที่ชั้น U1 ห้องวัสดุสารสนเทศลักษณะพิเศษ 2

การบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า

การบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า (Reference Service) เป็นงานบริการอย่างหนึ่งของห้องสมุด งานนี้ต้องมีการสนทนากับผู้ใช้บริการโดยตรง เพื่อสอบถามข้อมูลต่างๆ ที่ผู้ใช้ต้องการ และบรรณารักษ์จะได้ค้นหาข้อมูลได้ตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการ การบริการนี้รวมถึงการแนะนำแหล่งข้อมูลอื่นๆ ทั้งภายในและแหล่งข้อมูลภายนอกห้องสมุด

นอกจากนี้บรรณารักษ์ยังมีหน้าที่แนะนำการใช้ห้องสมุดและทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ด้วย   ในปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆ ช่วยในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และค้นข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง ทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวก รวดเร็วมากขึ้น การบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าได้มี หลายช่องทาง ได้แก่ ติดต่อด้วยตนเอง ผ่านทางโทรศัพท์ ผ่านทางเว็บไซต์ของห้องสมุดผ่าน Email ของบรรณารักษ์ ผ่านAsk a Librarian  ผ่าน social network ( Facebook/Twitter/Chat online)  ซึ่งบรรณารักษ์พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่