Tag Archives: การสืบค้นข้อมูล

ปฐมนิเทศนักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ฯ

เมื่อวันเสาร์ที่  8 สิงหาคม 2558 เวลา 9.00-12.00 น. ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดปฐมนิเทศนักศึกษาระดับปริญญาโท โดยสำนักหอสมุดได้รับเชิญไปอบรมเรื่อง “ระบบบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ MyCat การทำวิทยานิพนธ์ การใช้โปรแกรม EndNote และการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์”  โดยมีวิทยากร คือ คุณปทุมทิพย์ ลิ้มพงศานุรักษ์ และคุณกรวรรณ ดีวาจา

IMG_2346

ในหัวข้อการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์และการใช้โปรแกรมสำหรับการจัดทำรายการบรรณานุกรม วิทยากรได้อธิบายเทคนิคต่างๆในการสืบค้น เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับนักศึกษาและสามารถนำไปอ้างอิงในงานวิจัยของตนเองได้ และในตอนท้ายได้อธิบายการทำงานของระบบ MyCat เพื่อให้นักศึกษาเห็นภาพคร่าวๆ ก่อนที่จะใช้งานจริง ซึ่งนักศึกษาให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

IMG_2344

Customer journey

คำๆ นี้ ได้มาจากการฟัง อ. ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ เล่าประสบการณ์การเป็นนักวิจัย การทำงานร่วมกับนักวิจัย ของอาจารย์ ในโอกาสที่ Digital Literacy CoP และ Training the Trainers CoP ของสำนักหอสมุด มธ. เชิญอาจารย์มาเล่าประสบการณ์ของอาจารย์ ด้วยเหตุที่มองเห็นว่า บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ จะทำอย่างไรที่จะนำความสามารถของเราให้เป็น research supporter ได้

อาจารย์ทรงพันธ์ ในฐานะที่เป็นนักวิจัย  เป็นอาจารย์สอนบรรณารักษศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์ ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เล่าประสบการณ์การเป็น informationist ที่ Vanderbilt University Medical Center, Nashville, Tennessee ตำแหน่ง Knowledge Management Leadership and Research Fellow อาจารย์ได้รวบรวมประเด็นต่างๆ ได้แก่ แนวคิดของการทำงานร่วมกับนักวิจัย ความต้องการของนักวิจัย โอกาสในการทำงานร่วมกับนักวิจัย ความรู้ ทักษะ และสมรรถนะของคนที่จะทำงานร่วมกับนักวิจัย การพัฒนาตนเองให้สามารถทำงานร่วมกับนักวิจัยได้ ไว้ในการพูดแบบเล่าเรื่องด้วยความสนุก เรียกได้ว่า ฟังเพลินกันเลยทีเดียว ในเวลา 3 ชั่วโมงครึ่ง หมดเวลาโดยไม่รู้ตัว

การจะเป็น Informationist หรือ Embedded librarian ได้ยินอะไร ต้องตั้งคำถามไว้ก่อน เหมือนกับนักวิทยาศาสตร์ ที่มีความอยากรู้ อยากเห็น ในเมื่อ Vanderbilt University Medical Center เป็นมหาวิทยาลัยทางการแพทย์ มีนักศึกษาประมาณ 5,000 คน พนักงาน ประมาณ 20,000 คน หน่วยที่ใหญ่ที่สุดคือ โรงพยาบาล เรียนเกี่ยวกับ สุขภาพทุกอย่าง เพราะฉะนั้น philosophy ของ Vanderbilt คือ อย่ารอให้คิดทุกอย่างสมบูรณ์ ชัดเจน ถามมา ทำได้จริง งานได้ 50% ก็จะผลักออกมาก่อน ดังนั้น องค์กรจะดีได้ ต้องมีข้อมูลที่ดี Vanderbilt ต้องตอบโจทย์ให้กับผู้บริหาร คนไข้ ญาติคนไข้ หมอ นักศึกษา โรงพยาบาล แต่กลุ่มใหญ่สุด คือ นักวิจัย ดังนั้น information และ Knowledge เป็นสิ่งสำคัญ หมอจึงต้องการได้ข้อมูลแบบที่เป็น Evidence Based Medicine เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ การที่หมอไม่มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ จะทำอย่างไร ต้องพยายามนำข้อมูลที่มีอยู่ในห้องสมุดไปเข้ากับระบบที่หมอจะสามารถค้นและใช้ข้อมูลได้ทันที ซึ่งจะตัดสินใจผิดไม่ได้เลย เพราะคนที่ตัดสินใจไม่มีเวลามาหาข้อมูล Continue reading Customer journey

บริการวารสารและหนังสือพิมพ์

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ได้จัดบริการวารสารและหนังสือพิมพ์ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ที่ครอบคลุมเนื้อหาหลากหลายสาขาวิชา มีบริการในรูปซื้อตัวเล่ม E-journals และวัสดุย่อส่วน บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเป็นผู้จัดซื้อ และทำดรรชนีวารสาร ลงในฐานข้อมูลของสำนักหอสมุด เมื่อผู้ใช้บริการห้องสมุดต้องการบทความจากวารสารและหนังสือพิมพ์ ก็สามารถค้นหาบทความได้จากเว็บไซต์ (http://koha.library.tu.ac.th)

opac

และคลิกที่คำว่า Articles จะได้หน้าจอค้นบทความได้ตามต้องการ

clip_image002

ถ้าผู้ใช้บริการห้องสมุดต้องการบทความวารสารและหนังสือพิมพ์เพิ่มเติม ก็สามารถค้นหาได้จาก  E-Resources ฐานข้อมูล NewSCenter และฐานข้อมูล Matichon E-library ได้   บริการวารสารและหนังสือพิมพ์ ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อได้ที่ชั้น U1 ห้องวัสดุสารสนเทศลักษณะพิเศษ 2

สอนการใช้ห้องสมุดและวิธีสืบค้นข้อมูล

บรรณารักษ์สอนการใช้ห้องสมุด
บร.ปทุมทิพย์  ลิ้มพงศานุรักษ์ สอนการใช้ห้องสมุดให้แก่นักศึกษา

วันนี้ (2 ก.พ.) เริ่มสัปดาห์แห่งการสอนการใช้ห้องสมุดและวิธีสืบค้นข้อมูลเบื้องต้นให้แก่นักศึกษา ที่ลงเรียนในรายวิชา การเขียนรายงานวิชาการ (ท.162) ภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ ณ ห้องนิเทศการศึกษา ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มธ.ศูนย์รังสิต ซึ่งจะมีไปจนถึงเดือนมีนาคม เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่สำนักหอสมุดมุ่งหวังให้นักศึกษา มธ.ได้รู้จักการใช้ห้องสมุดและรู้จักการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ทั้งนี้ จะมีบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่สำนักหอสมุดคอยสับเปลี่ยนหมุนเวียนเป็นวิทยากรเพื่อให้ความรู้และแนะนำเทคนิคดีๆ เพื่อการใช้ห้องสมุดอย่างมีความสุข การใช้ TULIBs App. ช่วยให้การใช้บริการและสืบค้นข้อมูลห้องสมุดใน smart phone ได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น รวมถึงเครื่องมือที่จะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาในการทำรายงาน ได้แก่  Endnote (โปรแกรมการจัดการรายการบรรณานุกรม) เป็นต้น ซึ่งได้รับความสนใจจากนักศึกษาเป็นอย่างดี