Tag Archives: บริการตอบคำถาม

การให้บริการผู้ใช้: แบบไหนดี

วิดีโอ การอบรมการให้บริการผู้ใช้ ของ North Hall Library, Mansfield University น่าสนใจดีค่ะ มีให้ดูเปรียบเทียบการให้บริการที่ไม่ให้ความสนใจกับผู้ใช้บริการ กับการเต็มใจให้บริการ เป็นอย่างไร ดูจากพฤติกรรมของบุคลากรในห้องสมุด วิธีการปฏิบัติ การใช้คำพูด และในทางตรงข้ามให้สังเกตสีหน้า และอาการของผู้ใช้บริการ นะคะ นอกจากนี้ ได้ฝึกภาษาอังกฤษอีกด้วยค่ะ ติดตามได้จาก  https://youtu.be/X9zFoD8v4LQ

รายการอ้างอิง

Mansfield University. North Hall Library. (Sep 26, 2011). Customer Service Training@North Hall Library, Mansfield University.[Video file]. Retrieved from https://youtu.be/X9zFoD8v4LQ

งานบริการตอบคำถามยุคใหม่

การเป็นบรรณารักษ์บริการตอบคำถามในสาขาวิชากฎหมายที่เราไม่ได้เรียนมา นอกจากเราจะต้องหาหนังสือกฎหมายอ่านเพื่อเป็นความรู้เบื้องต้นแล้ว ยังจะต้องหาเวลาท่องเว็บบ้าง โดยเฉพาะเว็บหน่วยราชการไทย หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย องค์กรต่างๆทั้งของไทยและต่างประเทศ ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้เอาไว้เป็นตัวช่วยเวลาที่ค้นข้อมูลจากระบบสืบค้นของห้องสมุดแล้วมันไม่มี

ตัวอย่าง case หนึ่ง มีนักศึกษาต้องการด่วนจี๋มาก ต้องการค้นเรื่อง ร่างกฎหมายนิวเคลียร์ ที่กำลังจะเอาเข้าที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นักศึกษาจำชื่อร่างพระราชบัญญัติไม่ได้เลย แต่มั่นใจว่าน่าจะมีคำว่านิวเคลียร์ และต้องการอ่านร่าง พรบ.  นี้ เพราะจะเอาข้อมูลไปทำหัวข้อรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ ส่งด่วนภายในสองวันนี้ นักศึกษาได้ค้นระบบห้องสมุดแล้ว ค้นอากู๋ (google) แล้วไม่เจอค่ะ

จากประสบการณ์เมื่อประมวลความคิดดูแล้วยังเป็นร่างอยู่เลย ฉบับพิมพ์เป็นเล่มเผยแพร่ โอกาสที่จะมาถึงห้องสมุดตอนนี้น่าจะมีน้อย แต่โดยปกติแล้วร่างกฎหมายก่อนเอาเข้าสู่สภาจะมีการทำประชาพิจารณ์ก่อนนี่นา

จึงถามนักศึกษาว่าเป็นของหน่วยงานไหนที่ออกร่างกฎหมายนี้ นักศึกษาบอกว่า ปรมาณูอะไรสักอย่างนึงนี่แหละค่ะ จำชื่อจริงไม่ได้ค่ะ  จากประสบการณ์ที่เรานั่งดูข่าวโทรทัศน์ทุกวันก็เดาว่าน่าจะเป็นของหน่วยงาน สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ  งานนี้เลยต้องพึ่งอากู๋ แล้วก็พบว่ามีร่างกฎหมายที่นักศึกษาต้องการอยู่ในเว็บของสำนักงานปรมาณูฯ เพื่อประชาพิจารณ์ก่อนเสนอ สนช.  แต่ว่าก็ต้องเดากันว่ามันควรอยู่เมนูไหน เพราะมันเลยช่วงเวลาประชาพิจารณ์มาระยะเวลาหนึ่งแล้ว ก็เลยเอาไปหลบไว้ในมุมหนึ่ง  ซึ่งผู้เขียนก็จำไม่ได้ว่าตรงไหนและจำชื่อร่าง พรบ. นี้ไม่ได้แล้วเพราะมันยาวมากๆ

ที่เขียนมานี้ก็เพื่อจะบอกว่าการดูข่าว การอ่านมากหน่อย หรือการท่องเว็บที่เกี่ยวข้องกับการทำงานไปเรื่อยๆเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบรรณารักษ์ยุคนี้มากจริงๆ

รัฐธรรมนูญไทย ฉบับแปลภาษาอังกฤษ

 

images (1)

ผู้เขียนนึกถึงเรื่องนี้ขึ้นมาได้ เพราะมีประสบการณ์การให้บริการข้อมูลด้านกฎหมาย  ที่มีชาวต่างชาติ มาหาข้อมูลเพื่อการศึกษาวิจัย เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญไทย ที่ห้องสมุดสัญญา ธรรมศักดิ์ ด้วยคิดว่าที่ห้องสมุดนี้คงมีบริการได้ครบถ้วน ตามที่เขาต้องการ ซึ่งการค้นคว้าของชาวต่างชาติจบลงตรงที่เอาที่เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น  พอค้นไปในระบบสืบค้นของห้องสมุดก็พบว่ามันมีแปลเป็นภาษาอังกฤษอยู่บ้าง แต่ไม่ครบทุกฉบับ  และที่เป็นปัญหาคือมันยังแยกย้ายกันไปเก็บอยู่หลายห้องสมุดใน ธรรมศาสตร์  ก็ต้องอธิบายกันไปว่าห้องสมุดที่ไหนอยู่ตรงไหนบ้าง

แต่เพื่อช่วยผุู้ใช้ในเบื้องต้นก่อน ไม่ต้องเดินไปโน่นนี่ ลองเข้าค้นจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องดูก่อนไหม  เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ  รัฐสภา ซึ่งก็มีรายการชื่อรัฐธรรมนูญเผยแพร่ครบหมดเลยทุกฉบับ  แต่หาฉบับภาษาอังกฤษได้น้อยมาก

ต่อนี้ไปพวกเราไม่ต้องไปหาข้อมูลที่ไหนแล้ว เข้าฐานข้อมูล HeinOnlineที่ห้องสมุดสัญญาฯ  บอกรับ ซึ่งเป็น package ใหม่สำหรับปี 2015  ซึ่งบริษัทผู้ผลิตบังคับเราให้บอกรับเป็นสมาชิกแบบ package เพราะถ้าไม่รับก็ไม่มีแบบเดิมขายแล้ว Continue reading รัฐธรรมนูญไทย ฉบับแปลภาษาอังกฤษ

การบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า

การบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า (Reference Service) เป็นงานบริการอย่างหนึ่งของห้องสมุด งานนี้ต้องมีการสนทนากับผู้ใช้บริการโดยตรง เพื่อสอบถามข้อมูลต่างๆ ที่ผู้ใช้ต้องการ และบรรณารักษ์จะได้ค้นหาข้อมูลได้ตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการ การบริการนี้รวมถึงการแนะนำแหล่งข้อมูลอื่นๆ ทั้งภายในและแหล่งข้อมูลภายนอกห้องสมุด

นอกจากนี้บรรณารักษ์ยังมีหน้าที่แนะนำการใช้ห้องสมุดและทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ด้วย   ในปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆ ช่วยในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และค้นข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง ทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวก รวดเร็วมากขึ้น การบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าได้มี หลายช่องทาง ได้แก่ ติดต่อด้วยตนเอง ผ่านทางโทรศัพท์ ผ่านทางเว็บไซต์ของห้องสมุดผ่าน Email ของบรรณารักษ์ ผ่านAsk a Librarian  ผ่าน social network ( Facebook/Twitter/Chat online)  ซึ่งบรรณารักษ์พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่