Tag Archives: การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เยี่ยมห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

ผู้อำนวยการหอสมุดแห่ง มธ. มอบของที่ระลึกแด่หัวหน้าห้องสมุดสตางค์ในโอกาสมาเยี่ยมชมและดูงานห้องสมุด
ผู้อำนวยการหอสมุดแห่ง มธ. มอบของที่ระลึกแก่หัวหน้าห้องสมุดสตางค์ในโอกาสมาเยี่ยมชมและดูงานห้องสมุด

วันที่ 7 ธันวาคม 2559 ผศ.เอกรินทร์ ยลระบิล ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำทีมผู้บริหารหอสมุดฯ เยี่ยมชมและดูงานห้องสมุด ณ ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมกับแลกเปลี่ยนรู้ด้านการบริหารจัดการห้องสมุด การพัฒนาบริการห้องสมุด การบริการสารสนเทศเพื่อการวิจัย และการจัดการความรู้ภายในองค์กรระหว่างกัน โดยได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากบุคลากรและเจ้าหน้าที่ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

3 สิ่งสำคัญในการจัดประชุมวิชาการสำหรับบรรณารักษ์และงานห้องสมุด

paper_people_free_photo1-690x457

จากประสบการณ์ในการเป็นคณะทำงานในจัดประชุมวิชาการประจำปี ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งในรูปแบบทางการและไม่เป็นทางการ การได้มีโอกาสได้ช่วยงานหลายๆ ส่วน และได้ร่วมทำงานกับพี่ๆ ที่เก่งงาน และเก่งในการจัดการแก้ปัญหา ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีในการทำงาน ถึงแม้ว่าโดยส่วนตัวแล้วอาจจะรับผิดชอบงานเฉพาะส่วนเท่านั้น แต่เบื้องหลังการทำงานที่ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันและมีการสื่อสารกันอย่างใกล้ชิดทำให้เห็นภาพการจัดงานและการเชื่อมประสานกันในแต่ละส่วนเพื่อให้งานประสบความสำเร็จ     Continue reading 3 สิ่งสำคัญในการจัดประชุมวิชาการสำหรับบรรณารักษ์และงานห้องสมุด

วันวาน…สู่วันนี้ ของปรีดารัตน์ อินทสุวรรณ

20150808-Preedarat
คุณปรีดารัตน์ อินทสุวรรณ

สืบเนื่องจาก กิจกรรม เรื่องเล่าจาก … Guru สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา  คุณปรีดารัตน์ อินทสุวรรณ  บรรณารักษ์ ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เป็น 1 ใน Guru ที่มาเล่าเรื่องชีวิตการทำงาน ตั้งแต่แรกเริ่มที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ความภาคภูมิใจในการทำงาน และเทคนิคการทำงานต่างๆ รวมทั้งข้อคิดที่ฝากให้กับน้องๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ตอนเรียนมัธยม เริ่มเรียนทางสายวิทยาศาสตร์ ปริญญาตรี ก็สายวิทยาศาสตร์  โอนไปเรียนมหาวิทยาลัยเปิด เพราะต้องดูแลที่บ้าน จบบรรณารักษ์ประมาณปี 2520 ตอนนั้นไปรับจ้างทำงานที่สภาสตรีแห่งชาติฯ ได้ค่าแรงวันละ 50 บาท  ที่นี่เองทำให้ได้รู้จักกลุ่มคนในแวดวงคนดัง ได้เรียนรู้บุคลิกของแต่ละคน เป็นช่องทางให้รู้จักคนมากมาย ทำให้ซึมซับความเป็นผู้ใหญ่มาโดยไม่รู้ตัว   ตอนหลังไปสอบที่ท้บแก้ว (มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์) ทำงานที่ทับแก้ว 1 ปีหรือประมาณนี้ กลับมากรุงเทพฯ มาทำงานเป็น cataloger ภาษาอังกฤษ เพราะเก่งภาษา ทำภาษาอังกฤษมาเรื่อย ห้องสมุด ป๋วยฯ ห้องสมุดรังสิตแห่งแรก และห้องสมุดศูนย์ญี่ปุ่น แม่บ้านยามากูจิเขียนมา ก็มาแกะเป็นตัวภาษาอังกฤษ แล้วมาทำบัตร manual  ตัวเล่มอ่านไม่ออก ทำเสร็จส่งตัวเล่มส่งมาให้ทางโน้นให้บริการ เป็นการเริ่มในการตั้งห้องสมุดใหม่ทางรังสิต Continue reading วันวาน…สู่วันนี้ ของปรีดารัตน์ อินทสุวรรณ

จากวันวาน … สู่วันนี้ ของ ณัฐพร หรดี

Guru 5

สืบเนื่องจาก กิจกรรม เรื่องเล่าจาก … Guru สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา  คุณณัฐพร หรดี  พนักงานห้องสมุดชำนาญงาน  สังกัดหอสมุดปรีดี พนมยงค์ เป็น 1 ใน Guru ที่มาเล่าเรื่องชีวิตการทำงาน ตั้งแต่แรกเริ่มที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ความภาคภูมิใจในการทำงาน และเทคนิคการทำงานต่างๆ รวมทั้งข้อคิดที่ฝากให้กับน้องๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2518-2522 ทำงานที่กองพัสดุและจัดซื้อ สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท กระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. 2522-2527 ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ทำงานที่ฝ่ายวิเคราะห์บัตรรายการภาษาไทย (ห้องซ่อม)สำนักหอสมุด มธ.
พ.ศ. 2527-2540 ทำงานที่ฝ่ายพัฒนาวัสดุสารนิเทศ สำนักหอสมุด มธ.
พ.ศ. 2541-2543 ทำงานฝ่ายบริการ หอสมุดปรีดี พนมยงค์
พ.ศ. 2543-ปัจจุบัน ตำแหน่งพนักงานห้องสมุดชำนาญงาน ประจำที่งานบริการช่วยค้นคว้า  (ห้องสิ่งพิมพ์วัสดุลักษณะพิเศษ 2) หอสมุดปรีดี พนมยงค์ Continue reading จากวันวาน … สู่วันนี้ ของ ณัฐพร หรดี

จากวันวาน …สู่วันนี้ ของโสรัตน์ กาลออง

Guru (1)

สืบเนื่องจาก กิจกรรม เรื่องเล่าจาก … Guru สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา  คุณโสรัตน์ กาลออง  เจ้าหน้าที่ห้องสมุด สังกัดฝ่ายสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ 1 ใน Guru ที่มาเล่าเรื่องชีวิตการทำงาน ตั้งแต่แรกเริ่มที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ความภาคภูมิใจในการทำงาน รวมทั้งข้อคิดที่ฝากให้กับน้องๆ

คุณโสรัตน์ กาลออง เล่าถึงการทำงานที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า เริ่มต้นทำงานที่สำนักหอสมุด มธ.ตั้งแต่ปี 2528 ถือเป็นที่ทำงานแห่งแรกและแห่งเดียวหลังจากที่เปลี่ยนชีวิตมาเป็นฆราวาส เพราะก่อนหน้านี้บวชเป็นพระภิกษุมาตลอด Continue reading จากวันวาน …สู่วันนี้ ของโสรัตน์ กาลออง

จากวันวาน … สู่วันนี้ ของ วรรณา โตพิบูลย์พงศ์

คุณวรรณา โตพิบูลย์พงศ์
คุณวรรณา โตพิบูลย์พงศ์

สืบเนื่องจาก กิจกรรม เรื่องเล่าจาก … Guru สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา  คุณวรรณา โตพิบูลย์พงศ์  1 ใน Guru ที่มาเล่าเรื่องชีวิตการทำงาน ตั้งแต่แรกเริ่มที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ความภาคภูมิใจในการทำงาน และเทคนิคการทำงานต่างๆ รวมทั้งข้อคิดที่ฝากให้กับน้องๆ

จากวันวาน…สู่วันนี้ (เส้นทางตั้งแต่เริ่มทำงาน ทำงานอะไรบ้าง จนถึงปัจจุบัน)

ดิฉันเริ่มต้นทำงานที่สมาคมฝรั่งเศส ในตำแหน่งบรรณารักษ์หัวหน้าห้องสมุด เนื่องจากดิฉันจบปริญญาตรี วิชาเอกบรรณารักษศาสตร์ วิชาโทภาษาอังกฤษ และ ภาษาฝรั่งเศส จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากที่ดิฉันทำงานที่ห้องสมุดสมาคมฝรั่งเศสได้ 1 ปี ก็มาสอบเข้ารับราชการที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2522 โดยได้รับบรรจุในตำแหน่งบรรณารักษ์ ปฏิบัติงานวารสาร และ งานขอบริจาคและแลกเปลี่ยนทรัพยากรฯ กับต่างประเทศ ที่ห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์ หลังจากที่ทำงานได้ประมาณ 3 ปี ดิฉันก็ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วยังปฏิบัติงานที่ห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์ต่อ จนกระทั่งผู้อำนวยการสำนักหอสมุด ได้ให้บรรณารักษ์ Continue reading จากวันวาน … สู่วันนี้ ของ วรรณา โตพิบูลย์พงศ์

38 ปี กับการทำงานในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คุณอัชนา แสงกระจ่าง
คุณอัชนา แสงกระจ่าง

สืบเนื่องจาก กิจกรรม เรื่องเล่าจาก … Guru สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา คุณอัชนา แสงกระจ่าง 1 ใน Guru ที่มาเล่าเรื่องชีวิตการทำงาน ตั้งแต่แรกเริ่มที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยทำงานในหน้าที่บรรณารักษ์บริการยืม-คืน ของหอสมุดกลางหรือหอสมุดปรีดี พนมยงค์ ตั้งแต่เริ่มต้น-เกษียณ รวมเวลา 38 ปี มีหัวหน้างานรวม 5 คน หัวหน้าที่ประทับใจ คือ คุณราตรี ชื่นประทีป และ คุณสมลักษณ์ สุวรรณพานิช คุณอัชนาได้เล่าเรื่องราวผ่านสไลด์และรำลึกถึงผู้มีบุญคุณต่อห้องสมุด เช่น อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ รวมทั้งผู้บริหารสำนักหอสมุด อาจารย์ผกายวรรณ เจียมเจริญ รวมทั้งอาจารย์ทองหยด ประทุมวงศ์ อาจารย์สอนวิชาบรรณารักษ์ให้กับคุณอัชนา นอกจากนี้ คุณอัชนา ยังได้ฝากหลักที่ใช้ในการปฏิบัติงานมาด้วยค่ะ Continue reading 38 ปี กับการทำงานในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เรื่องเล่าจาก…GURU สำนักหอสมุด มธ.

เรื่องเล่าจาก ... GURU
เรื่องเล่าจาก … GURU

เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา สำนักหอสมุด โดยคณะกรรมการจัดการความรู้ ได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อเรื่อง  “เรื่องเล่าจาก … GURU” ณ ห้องกิจกรรมเรวัต พุทธินันทน์ ชั้น U2 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มธ.ท่าพระจันทร์ Continue reading เรื่องเล่าจาก…GURU สำนักหอสมุด มธ.

ถอด…ความรู้จากภูมิปัญญา ครู/ศิลปิน/ปราชญ์พื้นถิ่นเพื่อการเรียนรู้และแบ่งปัน

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน 2558 บุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ รองผู้อำนวยการสายบริหารและพัฒนา และนางสาวนพวรรณ วัฒนะนนท์ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาห้องสมุด เข้าร่วมการสัมมนาโครงการการจัดการความรู้ (Knowledge Management) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ “ดี” ในการจัดการความรู้ของคณะ/หน่วยงาน/ส่วนกลาง มธ. ปีการศึกษา 2556 ณ ห้องประชุมแพทย์โดม 2 อาคารคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

วิทยากรภายนอกที่ได้ร้บเชิญมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “ถอด…ความรู้จากภูมิปัญญา ครู/ศิลปิน/ปราชญ์พื้นถิ่นเพื่อการเรียนรู้และแบ่งปัน” คือ อาจารย์วัลลภ ทองอ่อน จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร ซึ่งเป็นการแบ่งปันประสบการณ์ภาคสนาม ที่อาจารย์ได้ลงพื้นที่ในการนำศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เพื่อหาพื้นที่ๆ เหมาะสมในการปลูกพืช และต่อมามีการขยายขอบเขตมาในเรื่องการจัดการทรัพยากร/อุบัติภัย

ประสบการณ์แรกที่อาจารย์วัลลภ นำมาเล่าสู่กันฟัง คือ ความรู้การทำนาเหมืองฝาย ที่หมู่บ้านหนองปิ้งไก่ นาบ่อคำ กำแพงเพชร ของลุงแปง วงค์ตา เนื่องจากชุมชนในพื้นที่นี้ อพยพมาจากลำปาง จึงมีความรู้ในการทำนาเหมืองฝายในพื้นที่เชิงเขา ทำนาเหมืองฝายได้ปีละ 2 ครั้ง หรือ 3 ครั้ง ในการถอดความรู้การทำนาเหมืองฝาย จากชุมชน นั้น เริ่มจาก

  1. การเตรียม ตัวเรา เตรียมตัวคนที่จะไปขอความรู้
  2. เครื่องมือ “เรื่องเล่าของลุงแปง”
  3. พลังคำถาม เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะต้องตั้งคำถาม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ เช่น คืออะไร เป็นอย่างไร ทำไมต้องเป็นเช่นนั้น
    เมื่อได้รับเรื่องราวที่ถ่ายทอดจากลุงแปง ซึ่งเป็นความรู้ชุมชนแล้ว นำมาผนวกกับความรู้ทางสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อจะได้เป็นความรู้ใหม่ส่งต่อให้ชุมชนต่อไป

Continue reading ถอด…ความรู้จากภูมิปัญญา ครู/ศิลปิน/ปราชญ์พื้นถิ่นเพื่อการเรียนรู้และแบ่งปัน

แนวทางการจัดการความรู้ ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

มีงานวิจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับด้านการจัดการความรู้ ในสถาบันอุดมศึกษา ชื่อว่า  “แนวทางการจัดการความรู้ ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง Knowledge Management Tendency in King Mongkut’s Institute of Technology Lard Krabang”   ซึ่งผู้เขียน คุณกาญจนา จันทร์วัน  ดร.นันทวัน อินทชาติ  และ ดร.ศิรินทร ภู่จินดา ได้สรุปว่ามีกระบวนการจัดการความรู้ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังมี 6 กระบวนการ ดังนี้

  1. การสร้างและแสวงหาความรู้
  2. การจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบ
  3. การประมวลและกลั่นกรองความรู้
  4. การเข้าถึงความรู้
  5. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
  6. การประยุกต์ใช้ความรู้

ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง

กาญจนา จันทร์วัน  นันทวัน อินทชาติ  และ ศิรินทร ภู่จินดา (2552)  “แนวทางการจัดการความรู้ ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง Knowledge Management Tendency in King Mongkut’s Institute of Technology Lard Krabang”                             วารสารโดมทัศน์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2552)