การใช้หัวเรื่องย่อยในหัวเรื่องทางการแพทย์

หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาทางการแพทย์เข้าห้องสมุดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ทางฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศจึงกำหนดหัวเรื่องเฉพาะสำหรับทรัพยากรฯทางการแพทย์ เพื่อให้หัวเรื่องที่ครอบคลุมและตรงกับเนื้อหาของทรัพยากรมากที่สุด โดยใช้หัวเรื่องของLC (Library of Congress) และNLM (National Library of Medicine)  ถ้าเนื้อหาส่วนใหญ่ของทรัพยากรเป็นทางด้านสังคมศาสตร์จะให้หัวเรื่อง LC แต่ถ้าเนื้อหาเป็นทางแพทยศาสตร์จะให้หัวเรื่อง NLM
สำหรับหัวเรื่องทางการแพทย์NLM ที่หอสมุดใช้อยู่ในปัจจุบัน มีกฎการให้หัวเรื่องย่อยกลุ่มบุคคลและชื่อภูมิศาสตร์ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการให้หัวเรื่องทางการแพทย์แก่บรรณารักษ์ ดังต่อไปนี้

การใช้หัวเรื่องย่อยกลุ่มบุคคล    ได้แก่ In adulthood, In adolescence, In infancy & childhood, In middle age, In old age, In pregnancy      NLM ได้ยกเลิกการใช้หัวเรื่องย่อยดังกล่าว แต่กำหนดให้เป็นหัวเรื่องเพิ่มเติมอีก 1 หัวเรื่อง ดังตัวอย่าง

Acquired bleeding disorders in children
650   ฿2  $a Blood coagulation disorders
650   ฿2  $a Hemorrhage
650   ฿2  $a Hemostasis
650   22  $a Infant
650   22  $a Child

การลงรายการสำหรับหอสมุดแห่ง มธ.    หากทรัพยากรฯมีเนื้อหากล่าวถึงโรค/กลุ่มอาการในกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ให้กำหนดหัวเรื่องโรคของNLM และเพิ่มเติมหัวเรื่องกลุ่มบุคคลของ LC และแบ่งหัวเรื่องย่อย โรค (Diseases)  ดังตัวอย่าง

Acquired bleeding disorders in children
650   ฿4  $a Blood coagulation disorders
650   ฿4  $a Hemorrhage
650   ฿4  $a Hemostasis
650   ฿4  $a Children $x Diseases
650   ฿4  $a Infants $x Diseases

การใช้หัวเรื่องย่อยชื่อภูมิศาสตร์     หัวเรื่อง NLM บางส่วนมีการยกเลิกการใช้หัวเรื่องย่อยภูมิศาสตร์ โดยกำหนดให้ใช้ชื่อภูมิศาสตร์เป็นหัวเรื่องหลักเพิ่มเติมอีก 1 หัวเรื่อง ดังตัวอย่าง

Human immunodeficiency virus infection in Thailand
650   ฿2  $a Acquired immunodeficiency syndrome
650   ฿2  $a HIV infections
651   ฿2  $a Thailand

แต่ในบางหัวเรื่องยังคงให้หัวเรื่องย่อยชื่อภูมิศาสตร์ได้ โดยสังเกตที่ Annotation จะระบุว่า “specify geog if possible” หมายถึงอนุญาตให้แบ่งย่อยชื่อภูมิศาสตร์ได้ เช่น หัวเรื่อง Insurance, Dental
ตัวอย่าง
650   ฿2  $a Insurance, Dental $z United States

Nlm

หรือ  การแบ่งย่อยชื่อภูมิศาสตร์ตามหลังหัวเรื่องย่อย History, Prevention & control, Trends สามารถทำได้เมื่อเนื้อหาเจาะจงสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น

การลงรายการสำหรับหอสมุดแห่ง มธ.

  • ไม่กำหนดหัวเรื่องทางภูมิศาสตร์เป็นหัวเรื่องหลักเพิ่ม ดังเช่น NLM ยกเว้น หัวเรื่องNLM ได้ระบุว่าสามารถแบ่งย่อยชื่อภูมิศาสตร์ได้ จึงจะสามารถแบ่งหัวเรื่องย่อยทางภูมิศาสตร์ เช่น หัวเรื่อง Insurance, Dental 

ตัวอย่าง
Human immunodeficiency syndrome
650   ฿4  $a Acquired immunodeficiency syndrome
650   ฿4  $a HIV infections

Dental Insurance in America
650   ฿4   $aInsurance, Dental $z United States

  • การแบ่งย่อยชื่อภูมิศาสตร์ตามหลังหัวเรื่องย่อย History, Prevention & control, Trends ให้ใช้ตามNLM

หัวเรื่องย่อยที่ใช้ตามหลังชื่อภูมิศาสตร์    NLM ได้กำหนดหัวเรื่องย่อยที่สามารถใช้ตามหลังชื่อภูมิศาสตร์ได้ 2 หัวเรื่อง คือ Epidemiology และ Ethnology  ดังตัวอย่าง

Diabetes in mimorities
650   ฿2  $a Diabetes mellitus $x Epidemiology
650   ฿2  $a Diabetes mellitus $x Ethnology
651   ฿2  $a United States $x Epidemiology
651   ฿2  $a United States $x Ethnology

การลงรายการสำหรับหอสมุดแห่ง มธ.    

  • หัวเรื่องย่อย Ethnology ไม่กำหนดใช้ ให้ใช้ตามที่ LC กำหนด
  • หัวเรื่องย่อย Epidemiology ให้ใช้ตาม NLM

ตัวอย่าง
Diabetes in minorities
650   ฿4  $a Diabetes mellitus $x Epidemiology
651   ฿4  $a United States $x Epidemiology

หัวเรื่องย่อยที่เป็น Form subdivision   NLM ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Publication types สำหรับหอสมุดแห่ง มธ. การกำหนดหัวเรื่องย่อยที่เป็น Publication types  ให้ใช้หัวเรื่องย่อยที่มีการกำหนดใช้ใน LC เท่านั้น  แม้ว่า NLM จะมี Publication types เดียวกันก็ตาม  เช่น Handbooks (LC = Handbooks, manuals, etc.), Outlines (LC = Outlines, syllabi, etc.), Periodicals (LC = Periodicals)   เนื่องจาก LC ให้หัวเรื่องย่อยที่ครอบคลุมกว่าของ NLM

***หมายเหตุ การกำหนดใช้หัวเรื่องย่อยจำเป็นต้องตรวจสอบในฐานข้อมูลหัวเรื่อง (MESH) ของ NLM ในส่วน “Allowable Qualifiers”, “Annotation” หรือ “Scope Note” ทุกครั้งว่าสามารถใช้ได้หรือไม่