หลักเกณฑ์ที่สำคัญและข้อตกลงในการ Romanization เบื้องต้น ของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การจัดทำรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์ภาษาไทย ของบรรณารักษ์ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น ต้องเทียบเสียงอ่านข้อมูลบรรณานุกรมภาษาไทยเป็นอักษรโรมันควบคู่กันโดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเทียบเสียงอ่านของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress) ที่เป็นมาตรฐานสากลให้ถูกต้องซึ่งจะทำให้ผู้ใช้บริการทั่วโลกสามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยที่มีในหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้

ซึ่งในปัจจุบันบรรณารักษ์ปฏิบัติงานที่มีความชำนาญได้เกษียณอายุงานเป็นจำนวนมาก ประกอบกับมีบรรณารักษ์ปฏิบัติการใหม่ ทำให้ต้องมีการทบทวนหลักเกณฑ์การเทียบเสียงอ่านของหอสมุดรัฐสภาอเมริกันอีกครั้ง เพื่อสร้างความเข้าใจและเป็นแนวทางให้ปฏิบัติงานไปในแนวทางเดียวกัน Catalog CoP จึงได้จัดการฝึกอบรม หน่วย Catalog งานจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เรื่อง การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันโดยวิธีเทียบเสียงอ่าน (Romanization) ในวันที่ 5 เมษายน 2561 โดยสรุปหลักเกณฑ์ที่สำคัญได้ดังนี้

  1. เสียงวรรณยุกต์ ไม่มีการเทียบเสียง
  2. เครื่องหมาย ฯ ให้เปลี่ยนเป็น   …
  3. คำที่มีเครื่องหมาย ๆ  ให้เขียนคำหรือพยางค์นั้น ซ้ำ
  4. เครื่องหมาย ฯลฯ ให้เปลี่ยนเป็น
  5. พยัญชนะซึ่งโดยปกติจะทำหน้าที่เป็นพยัญชนะ แต่บางครั้งอาจใช้เป็นอักษรแทนเสียงสระ ซึ่งจะต้องถอดตัวอักษรเป็น o,  a,  ō̜  ขึ้นอยู่กับการออกเสียง
  6. อักษรที่ไม่ออกเสียงไม่ต้องถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน
  7. สำหรับพยัญชนะที่ทำหน้าที่เป็นทั้งตัวสะกดของคำแรกและเป็นพยัญชนะต้นของคำต่อไปให้ถอดตัวอักษรซ้ำตามเสียงอ่าน เช่น   นพมาศ   Nopphamāt     ศิลปะ   sinlapa
  8. ตัวเลขไทย ให้เปลี่ยนเป็น  ตัวเลขอารบิค
  9. ภาษาไทยจะไม่เขียนแยกเป็นคำ ๆ แต่ในการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันจะมีการเขียนแยกคำตาม หลักเกณฑ์การแยกคำ romanization-pdf

หลังจากการฝึกอบรมฯ ได้มีการสรุปข้อคำถามและข้อสงสัยเกี่ยวกับการ Romanization จากการปฏิบัติงาน เพื่อเพิ่มความเข้าใจและเสนอข้อตกลงให้เป็นแนวปฏิบัติเดียวกัน ดังนี้

  1. การลงรายการ Authority บุคคล ที่เป็น พระราชวงศ์

การลงรายการ Authority บุคคล ที่เป็น พระราชวงศ์ ต้องตรวจสอบในฐานข้อมูล Library of Congress Authorities (https://authorities.loc.gov/) ก่อน หากพบ ให้ใช้ตามที่ปรากฎในฐานฯ  เช่น

ǂa เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี,ǂc สมเด็จพระ,ǂd 2498
ǂa Sirindhorn, ǂc Princess, daughter of Bhumibol Adulyadej, King of Thailand, ǂd 1955-

 

ǂa ภูมิพลอดุลยเดช, ǂc พระบาทสมเด็จพระฯ, ǂd 2470-2559
ǂa Bhumibol Adulyadej, ǂc King of Thailand, ǂd 1927-2016

หากตรวจสอบในฐานฯ แล้วไม่พบ ให้ Romanization ตามเสียงอ่านภาษาไทย

  1. การลงรายการ Authority นิติบุคคล

การลงรายการนิติบุคคลให้อิงตามหลักเกณฑ์การลงรายการชื่อนิติบุคคล การ    ลงรายการหน่วยงานรัฐบาล (ข้อ24.18) ซึ่งส่วนใหญ่จะลง Thailand และตามด้วย กระทรวง กรม ฯ

ǂa กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
ǂa Thailand. ǂb Krasūang Kānphatthanā Sangkhom læ Khwāmmankhong khō̜ng Manut

โดยพิจารณาจาก ฐานข้อมูล Library of Congress Authorities เป็นหลัก

3. การ Romanization ชื่อพระราชบัญญัติ กฎหมาย ชื่อศาล ต้องใช้อักษรตัวใหญ่

เนื่องจากเป็นชื่อเฉพาะจึงต้องใช้อักษรตัวใหญ่

ǂa คำอธิบายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540)
ǂa Khamʻathibāi Ratthathammanūn hǣng Rātchaʻanāčhak Thai (Phō̜. Sō̜. 2540)

4. การลงรายการ กรณีหนังสือที่จัดพิมพ์ 2 ภาษา

ในกรณีหนังสือที่จัดพิมพ์ 2 ภาษา จะดำเนินการ Romanization ตามเสียงอ่าน ในข้อความที่เป็นภาษาไทย ยกเว้นในเขตข้อมูล Authority ที่ต้องลงรายการเป็นอักษรโรมัน ดังภาพตัวอย่างประกอบ

romniz1

5. การ Romanization คำราชาศัพท์

ให้ใช้ตาม หลักเกณฑ์การแยกคำ ในข้อ 23 คือ โดยทั่วไปให้เขียนแยกกริยาที่ใช้กับพระราชวงศ์และคำที่ใช้แสดงว่าเป็นราชาศัพท์ เช่น

ทรงเลี้ยง = song līang