Tag Archives: หอสมุดปรีดี พนมยงค์

มุมสวยงานศิลป์

 

p1

งานศิลปกรรมฝาผนังกำแพงที่ชั้น U1 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ สร้างสรรค์โดย คุณสัมพันธ์ สารารักษ์ ศิลปินผู้มีชื่อเสียงทางด้านศิลปกรรม(จิตรกรรม) ระดับประเทศคนหนึ่ง  ในงานประกอบไปด้วย รูปท่านปรีดี พนมยงค์ นกปรีดี เสรีไทย ตึกโดม พระแก้วมรกต วัดพระแก้ว ธงชาติไทย พานรัฐธรรมนูญ เกลียวคลื่นแม่น้ำเจ้าพระยา งานศิลป์ชุดนี้ศิลปินรังสรรค์ขึ้นด้วยเทคนิควิธีการด้าน จิตรกรรมผสม อันประกอบด้วย

1. จิตรกรรม
2.ประติมากรรมนูนต่ำ
3. เซรามิคเขียนสี กระเบื้องสี
4. กลวิธีการปะติด

ซึ่งเทคนิคเหล่านี้เมื่อนำมาสร้างเป็นผลงานแล้วทำให้ดูมีพลังและน่าชื่นชมเป็นอย่างมาก

p13

เมื่อมีผู้มาเยือนหอสมุดปรีดีฯ จึงมักจะมีผู้คนมาถ่าย “เซลฟี่”ตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะในช่วงรับปริญญา มุมนี้จึงเป็นจุดที่บัณฑิตมักจะมาถ่ายรูปเดี่ยวหรือถ่ายหมู่ร่วมกันเสมอๆๆๆ

p111

ความทรงจำ Remembering Rewat

 

t3

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิ เรวัต พุทธินันทน์ และ บริษัท GMM แกรมมี่ จัดตั้งห้องสารนิเทศดนตรีเรวัต พุทธินันทน์ ณบริเวณ ชั้น U2 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ โดยแบ่งส่วนงานเป็น 3 ส่วนได้แก่

1. ส่วนบริการรับฟังและชมสื่อดนตรีตลอดจนภาพยนต์

2. ห้องกิจกรรมเรวัต พุทธินันทน์ สำหรับจัดเสวนา อบรม และฉายภาพยนตร์

3. ห้องบริการสื่อโสตทัศนูปกรณ์ และมัลติมีเดีย

t1

ห้องสารนิเทศดนตรีเรวัต พุทธินันทน์ มีตู้นิทรรศการที่ได้นำเอาเรื่องราวของพี่เต๋อ เรวัต พุทธินันทน์ ประกอบไปด้วยประวัติโดยย่อของพี่เต๋อ เรวัตฯ รูปถ่ายตั้งแต่สมัยเด็กๆ  สมัยวัยรุ่น   สมัยเล่นดนตรีตอนอยู่ มธ.  สมัยร่วมงานกับวงดนตรี The Impossible  การแสดงคอนเสริต์  รูปถ่ายกับครอบครัวและวัยทำงานตอนอยู่กับ GMM แกรมมี่ รวมถึงของใช้ส่วนตัวของพี่เต๋อ เรวัตฯ

ส่วนที่สำคัญและพิเศษสุดๆ เห็นจะได้แก่ กีต้าร์ตัวโปรดของพี่เต๋อ
เรวัตฯ  เพราะสมัยที่พี่เต๋อยังมีชีวิตอยู่มักจะใช้กีต้าร์ตัวนี้เล่นในการแสดงคอนเสริต์เสมอๆ

t2

การบริการหนังสือพิมพ์รายวัน

การบริการหนังสือพิมพ์รายวันของหอสมุดปรีดี พนมยงค์

เจ้าหน้าที่หอสมุดปรีดี พนมยงค์  ได้จัดเตรียมหนังสือพิมพ์ขึ้นชั้นทั้งหมด ก่อนที่ห้องสมุดจะเปิดบริการ หนังสือพิมพ์ที่ให้บริการที่หอสมุดปรีดีฯ  จะมีทั้งหมด 18 รายชื่อ  เช่น กรุงเทพธุรกิจ มติขน  สยามรัฐ  BANGKOK POST THE NATION เป็นต้น ขั้นตอนการเตรียมหนังสือพิมพ์เพื่อให้บริการ มีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้

  1. นำหนังสือพิมพ์จากตู้รับหนังสือพิมพ์ที่อยู่หน้าประตูชั้น 1 มาที่ หอสมุดปรีดีฯ
  2. ประทับตราห้องสมุด ที่หน้าแรกของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ
  3. จัดเรียงตามลำดับเลขหน้าหนังสือพิมพ์ให้เรียบร้อย ก่อนเย็บเล่มด้วยลวดเย็บกระดาษ
  4. จัดเรียงขึ้นชั้น ตามลำดับอักษรชื่อหนังสือพิมพ์

การเตรียมจัดทำหนังสือพิมพ์ให้บริการนี้ เพื่ออำนวยความสะดวก รวดเร็ว ในการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ

การตรวจผู้เข้าใช้ห้องสมุด

การตรวจผู้เข้าใช้ห้องสมุด

งานตรวจการเข้าใช้ห้องสมุดปรีดี พนมยงค์  โดยการบันทึกข้อมูลบัตรนักศึกษาในระบบอัตโนมัติ เพื่อให้นักศึกษาใช้บัตรนักศึกษาเปิดประตูอัตโนมัติ ถ้าเป็นอาจารย์หรือบุคลากรของมหาวิทยาลัย จะใชับัตรที่ทางมหาวิทยาลัยออกให้ ส่วนบุคคลภายนอกจะต้องเสียค่าบริการก่อนเข้าใช้ ซึ่งทางห้องสมุดจะออกคูปองให้ และนำคูปองมาแสดงให้เจ้าหน้าที่ ก็จะเปิดประตูให้   ในกรณีที่นักศึกษาไม่นำบัตรนักศึกษามา สามารถที่จะเข้าใช้ได้โดย

  1. นำบัตรประจำตัวประชาชนหรือใบขับขี่รถยนต์ มาสแกนไว้เป็นหลักฐาน
  2. ไม่ได้นำบัตรต่างๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น ให้นักศึกษาเขียนชื่อ นามสกุล และรหัสนักศึกษาลงในสมุด
  3. ตรวจสอบเลขทะเบียนนักศึกษาในระบบ WISERF CARD ถ้าไม่มีในระบบ ก็จะตรวจสอบฐานข้อมูลสมาชิกในระบบยืมหนังสือ

ระบบนี้เป็นการตรวจสอบและบันทึกหลักฐานของผู้เข้าใช้ห้องสมุด เมื่อเกิดปัญหาต่างๆ เช่น การลักขโมย ก็สามารถตรวจสอบผู้สงสัยได้ และเป็นการเก็บสถิติของผู้เข้าใช้ในแต่ละวันด้วย

ห้องประชุมกลุ่มย่อย (Study room )

ห้อง Study room เป็นบริการหนึ่งของหอสมุดปรีดี  พนมยงค์ที่ให้แก่นักศึกษา นักวิจัย อาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในการศึกษาค้นคว้า วิจัย ประชุมกลุ่มย่อย และบางครั้งอาจารย์ก็มาใช้เป็นห้องเรียนเพื่อสอนหนังสือแก่นักศึกษาที่เป็นกลุ่มเล็กประมาณ 10 คน

หอสมุดปรีดี พนมยงค์มีห้อง Study room  บริการอยู่ชั้น U 2 มีห้องใหญ่ 3 ห้อง  ห้องเล็ก 5 ห้อง  ชั้น U3 มีห้องใหญ่ 4 ห้อง ห้องเล็ก 4 ห้อง  ห้องใหญ่สามารถให้บริการนักศึกษาได้ถึง 10 คน และห้องเล็กบริการนักศึกษาได้ถึง 4 คน  การขอใช้บริการนั้น  นักศึกษาต้องมาขอแบบฟอร์มเพื่อเขียนรายการการขอใช้พร้อมให้บัตรประจำตัวประชาชนและบัตรนักศึกษาทุกคน
เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบความถูกต้องคืนบัตรนักศึกษาเก็บบัตรประชาชนไว้และให้กุญแจห้องแก่นักศึกษาไปเปิดห้องเอง เมื่อเลิกใช้ห้องนักศึกษาจะต้องนำกุญแจมาคืนเจ้าหน้าที่คืนบัตรประจำตัวประชาชนให้ บุคคลภายนอกไม่มีสิทธิขอใช้ห้อง Study room

การขอใช้ห้องผู้รับบริการต้องติดต่อขอใช้ห้องได้ที่ห้องวัสดุลักษณะพิเศษ 2 ชั้น U 1 เวลาเปิดบริการ

วันจันทร์-วันศุกร์ 8.00-20.30 น.

วันเสาร์-วันอาทิตย์8.00-20.30น.

ปิดตามวันหยุดนักขัตฤกษ์

วัสดุย่อส่วนในหอสมุดปรีดี พนมยงค์

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ได้นำหนังสือพิมพ์และวารสาร มาจัดทำวัสดุย่อส่วนเพื่อให้ผู้รับบริการได้อ่านข้อมูลหนังสือพิมพ์ และวารสารฉบับย้อนหลังได้สะดวก และเป็นการลดพื้นที่ในการจัดทรัพยากรสารสนเทศดังกล่าวด้วย  วัสดุย่อส่วนที่ให้บริการ มี 2 ประเภท ได้แก่ ไมโครฟิล์ม และไมโครฟิช

  • ไมโครฟิล์ม มีลักษณะเป็นฟิล์มโปร่งใส มีขนาด 16 มม. และ ขนาด 35 มม.ภายในม้วนจะบรรจุข้อมูลหนังสือพิมพ์ มีทั้งหนังสือพิมพ์ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศที่ตีพิมพ์ในประเทศไทย เช่น กรุงเทพธุรกิจ  มติชน  สยามรัฐ  Bangkok Post The Nation The Nation Review  เป็นต้น
  • ไมโครฟิช มีลักษณะเป็นแผ่นโปร่งใส มีกรอบภาพย่อส่วนเรียงกันเป็นแถวมีขนาด 4×6 นิ้ว  บนขอบแผ่นไมโครฟิชบรรจุข้อมูลได้แก่ ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ เดือน พ.ศของสิ่งพิมพ์ ภายในแผ่นไมโครฟิชแต่ละแผ่นจะบรรจุข้อมูลต่างๆ ทั้งฉบับของวารสารที่นำมาจัดทำเป็นไมโครฟิช

หาได้ไว หาได้เจอ

หนังสือที่ให้บริการในหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มีหลากหลายประเภท มีทั้งหนังสืออ้างอิง  วารสาร  หนังสือทั่วไป วิทยานิพนธ์  วิจัย เป็นต้น หนังสือมากมายเหล่านี้ จะหาพบได้อย่างไร

หอสมุดปรีดีฯ มีระบบห้องสมุดอัตโนมัติในการบริหารจัดการฐานข้อมูลบรรณานุกรมของหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ ที่มี เพราะฉะนั้น การค้นหาหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ ที่ต้องการนั้น จึงต้องค้นหาหรือสืบค้นผ่านระบบห้องสมุดฯ ดังกล่าว

การหาหนังสือในระบบห้องสมุดฯ ของหอสมุดปรีดีฯ มีวิธีง่ายๆ ดังนี้

  1. เข้าที่ http://main.library.tu.ac.th/tulib2013/ หรือ https://koha.library.tu.ac.th
  2. ใส่คำค้น ในช่องสืบค้น เช่น ต้องการค้นด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง หรือคำสำคัญ ฯลฯ ซึ่งถ้าค้นด้วยชื่อเรื่อง หรือชื่อผู้แต่ง จะเป็นกรณีที่ทราบชื่อมาอย่างแน่นอนแล้ว กรณีที่ไม่ทราบว่าจะชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง สามารถค้นได้ด้วยคำสำคัญ (keyword)  ซึ่งสามารถค้นได้แบบพื้นฐาน (basic search) และค้นแบบขั้นสูง (Advanced search)
  3. ขอยกตัวอย่าง วิธีการค้นหา ด้วยชื่อเรื่องที่เราต้องการ เช่น  พิมพ์คำว่า กาแฟ ลงไปในช่อง title (ชื่อเรื่อง)  แล้วคลิก ระบบจะประมวลผลออกมาเป็นรูปแบบดังภาพ ให้สังเกต 4 จุดตามหมายเลขดังนี้56
    หมายเลย 1
    Item Type   หมายถึง ชนิดของทรัพยากรสารสนเทศ เช่น Book,  Theses , Reference เป็นต้น
    หมายเลข 2
    Library หมายถึง ห้องสมุดที่มีทรัพยากรสารสนเทศให้บริการหมายเลย 3 Call number หมายถึง เลขเรียกหนังสือหมายเลข 4 Status หมายถึง สถานะของทรัพยากร ถ้าเป็น Available พร้อมให้บริการ (หนังสืออยู่ที่ชั้น ไม่ได้ถูกยืม) แต่ถ้าเป็น Checked out แปลว่า หนังสือถูกยืมออกไป เป็นต้น

    จากตัวอย่างข้างต้น หนังสือเล่มนี้ มีเลขหมู่ คือ  TX911.3.ค36 จ624 จัดเป็นประเภทหนังสือทั่วไป จะอยู่ที่ชั้น U3 (ดูแผนผังของชั้นหนังสือว่าอยู่ที่ชั้นใดของห้องสมุด) ให้ไปยังชั้นหนังสือและหาเลขหมู่ที่ค้นได้ (จากตัวอย่าง คือ TX911.3.ค36 จ624) จากระบบ

    กรณีที่หาตัวเล่มหรือหนังสือไม่พบ  ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์ให้บริการ เพื่อขอให้ติดตามตัวเล่มต่อไป

คณะเจ้าหน้าที่ Shizuoka University เยี่ยมชมหอสมุดปรีดี พนมยงค์

คณะเจ้าหน้าที่ Shizuoka University เยี่ยมชมหอสมุดปรีดี พนมยงค์

P1071093
คณะเจ้าหน้าที่จาก Shizuoka University เยี่ยมชมหอสมุดปรีดี พนมยงค์

วันที่ 7 มกราคม 2558 เวลา 10.30-11.30 น. คณะเจ้าหน้าที่จากมหาวิทยาลัยชิซึโอะกะ (Shizuoka University) จากประเทศญี่ปุ่น เดินทางเข้าเยี่ยมชมงานบริการของหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมี Mr.Benjamin Ivry เป็นวิทยากรนำชมภาคภาษาอังกฤษแก่เจ้าหน้าที่ทั้ง 4 ท่าน พร้อมทั้งบรรณารักษ์คอยให้การต้อนรับ ซึ่งได้พานำชมส่วนงานบริการต่างๆของหอสมุดปรีดี รวมถึงบริการผ่านหน้าเว็บไซต์ใหม่ของสำนักหอสมุด เช่น บริการการสืบค้นผ่านทาง KOHA OPAC บริการยืมระหว่างห้องสมุดระหว่างศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Book Delivery) และ บริการยืมระหว่างห้องสมุดระหว่างประเทศผ่าน World Share ILL ซึ่งเป็นบริการที่คณะเจ้าหน้าที่ให้ความสนใจและมีข้อซักถามเกี่ยวกับการให้บริการในส่วนของรูปแบบการยืมระหว่างประเทศ ทั้งนี้ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลมหาวิทยาลัย และข้อคิดเห็นบางประการกับคณะเจ้าหน้าที่ด้วยเช่นกัน

P1071098 P1071100

การอบรมโปรแกรม Dropbox

เมื่อวันที่  17 ธันวาคม 2557 เวลา 13.00-15.00 น. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดกิจกรรมการส่งเสริมการรู้สารสนเทศเรื่อง โปรแกรม Dropbox ให้แก่บุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ณ ห้องกิจกรรมส่งเสริมการรู้สารสนเทศ U2 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ โดยนายชัยสิทธิ์ อังคะปัญญาเดชเป็นผู้บรรยายขั้นตอนการใช้เบื้องต้นให้แก่บุคลากรผู้สนใจเข้าร่วม

1418876315211[1] Continue reading การอบรมโปรแกรม Dropbox

การอบรมโปรแกรม Microsoft Excel 2013 Basic Level

เมื่อวันที่  17 ธันวาคม 2557 เวลา 09.00-12.00 น. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดกิจกรรมการส่งเสริมการรู้สารสนเทศเรื่อง โปรแกรม Microsoft Excel 2013 Basic Level ให้แก่บุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ณ ห้องกิจกรรมส่งเสริมการรู้สารสนเทศ U2 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ โดยเชิญคุณจีระศักดิ์ เฮงศรีสมบัติ มาเป็นวิทยากรในครั้งนี้1418875277642[1]

โดยในการอบรมโปรแกรม Microsoft Excel 2013 Basic Level นั้นจะเป็นประโยชน์แก่บุคลากรของสำนักหอสมุดสำหรับการใช้โปรแกรม Microsoft Office ขั้นต้นเพื่อใช้สำหรับการปฏิบัติงานต่างๆในสำนักหอสมุดได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

1418875282733[1]