Tag Archives: ทรัพยากรสารสนเทศ

การส่งและการรับหนังสือ Book Delivery

Book Delivery เป็นอีกบริการหนึ่งที่จำเป็นและถูกนำมาใช้หลังจากที่ทางมหาวิทยาลัยได้ตัดสินใจขยายมหาวิทยาลัยไปที่รังสิต เนื่องจากเพื่อรองรับความเจริญเติบโต ความก้าวหน้าทางวิชาการในอนาคต และ พื่้นที่อันจำกัด ซึ่งในระยะแรกของการเปิดการเรียนการสอน ระบบการติดต่อประสานงานของแต่ละฝ่ายยังไม่สมบูรณ์ เพื่อให้การเรียนดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ทันความต้องการของนักศึกษา ห้องสมุดจึงคิดวิธีจัดส่งหนังสือให้เร็วที่สุด นั้นคือบริการBook Deliveryที่นักศึกษาใช้บริการมาจนถึงวันนี้ ซึ่งมีวิธีการจัดส่งดังต่อไปนี้ Continue reading การส่งและการรับหนังสือ Book Delivery

ทำไม ! “นักศึกษาไม่ได้รับหนังสือตามคำขอ”

บริการ Book Delivery เป็นบริการยืมและส่งคืนหนังสือระหว่างห้องสมุดที่สังกัดสำนักหอสมุด ซึ่งมีทั้งหมด 11 ห้องสมุด (รวมทั้งห้องสมุดศูนย์พัทยา และห้องสมุดบุญชูตรีทอง ศูนย์ลำปาง) เป็นบริการที่เปิดควบคู่กับการขยายมหาวิทยาลัยไปที่รังสิตเพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นในทุกๆปีและความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ด้านการศึกษา Continue reading ทำไม ! “นักศึกษาไม่ได้รับหนังสือตามคำขอ”

สาเหตุที่หาหนังสือ Book Delivery ไม่ได้ตาม Mail ที่ขอมา

Book Delivery จะถูกดำเนินการจัดหาในทุกๆ เช้า เพื่อจัดส่งหนังสือตามคำขอ ของนักศึกษา ภายในระยะเวลาอันจำกัดเพื่อให้ทันในเวลา 10.00 น. ตามระเบียบที่ห้องสมุดกำหนดไว้ ซึ่งการค้นหาหนังสือตามคำขอแต่ละเล่มนั้น มีความยากง่ายและอุปสรรคดังต่อไปนี้

1. หนังสือยังไม่นิ่ง  ยังไม่ได้ถูกจัดเรียงเข้าชั้นตามหมวดหมู่ ยังกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ

2. ไม่พบหนังสือที่ชั้น เนื่่องจากมีผู้ใช้นำไปใช้อ่านในห้องสมุด แต่ยังไม่มีการยืมออก

Continue reading สาเหตุที่หาหนังสือ Book Delivery ไม่ได้ตาม Mail ที่ขอมา

ค่าทรัพยากรสารสนเทศ

สำนักหอสมุดมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการศึกษา ส่งเสริมการค้นคว้าและวิจัยของมหาวิทยาลัย การให้บริการที่มีคุณภาพสามารถสนองความต้องการของ อาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย และผู้ใช้ห้องสมุดอื่น ๆ รวมทั้งให้บริการแก่บุคคลภายนอก ทำให้การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการศึกษาเป็นไปอย่างกว้างขวาง ทรัพยากรสารสนเทศมีหลายรูปแบบ ได้แก่ หนังสือ วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ ฐานข้อมูล eBook หนังสืออ้างอิงอิเล็กทรอนิกส์

ในปีหนึ่งๆ สำนักหอสมุดใช้งบประมาณในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศมากขึ้นทุกปี ถ้าเปรียบเทียบการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศทั้งงบประมาณแผ่นดินและเงินรายได้ของสำนักหอสมุด ในปีงบประมาณ 2557 และ ปีงบประมาณ 2556 นั้น ตามประเภทเป็นหนังสือภาษาต่างประเทศและภาษาไทย วารสารต่างประเทศและภาษาไทย ฐานข้อมูล หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หนังสือพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ จะเห็นได้ว่าการใช้งบประมาณในการจัดหาทรัพยากรจะมีแนวโน้มมากขึ้น แต่สิ่งที่เป็นข้อสังเกตของผู้เขียนในฐานะทำเรื่องการเบิกจ่ายการจัดซื้อทรัพยกรสารสนเทศเข้าสำนักหอสมุด เห็นได้ชัดเจนว่า ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์มีการจัดซื้อเป็นจำนวนลดลง โดยมียอดจากจัดซื้อไปอยู่ที่ทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นเป็นการทดแทน เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วารสารสิ่งพิมพ์เปลี่ยนเป็นวารสารอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น และคงมีแนวโน้มเป็นวารสารสิ่งพิมพ์ลดน้อยลงไปเรื่อยๆ หรือการจัดซื้อหนังสือก็มีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปในรูปของสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งสำนักหอสมุดต้องใช้งบประมาณที่ได้รับอย่างคุ้มค่าโดยคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้ให้ได้รับประโยชน์สูงสุดและสอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับในแต่ละปี

ไม่กี่คลิก ก็สามารถตรวจสอบรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศที่ถูกยืมมากที่สุดได้ (Most popular)

ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร คุณก็สามารถตรวจสอบรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศที่ถูกยืมมากที่สุด ได้ง่ายๆ รู้ผลได้ไม่กี่คลิก

เรามารู้ขั้นตอนตรวจสอบรายชื่อเหล่านี้กันเถอะ

most popular searching

  1. จากหน้าจอสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ ให้คลิกที่ปุ่ม Most popular
  2. ด้านซ้ายมือของหน้าจอ จะเจอคำว่า ปรับปรุงการค้นหาของคุณ (Refine your search) ภายใต้คำนี้ จะมีปุ่ม drop down list ให้ปรับปรุงการค้นหา 4 ทางเลือกด้วยกัน

Continue reading ไม่กี่คลิก ก็สามารถตรวจสอบรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศที่ถูกยืมมากที่สุดได้ (Most popular)

หอสมุดปรีดี พนมยงค์กับความภาคภูมิใจกับบัณฑิต

ในเดือนสิงหาคมของทุกปี หอสมุดปรีดี พนมยงค์ จะได้พบกับรอยยิ้มแห่งความภาคภูมิใจของน้องๆ นักศึกษาธรรมศาสตร์ทุกท่านที่จบการศึกษา  หอสมุดปรีดีได้เป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของบรรดาบัณฑิต เพราะหอสมุดปรีดีได้จัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่มีความหลากหลายและมากด้วยเนื้อหาสาระความรู้ให้บริการแก่นักศึกษา

หอสมุดปรีดีฯ ได้ใช้งบประมาณปีละ สี่ล้านบาทในการจัดหาทรัพยากรทั้งที่เป็นรูปเล่ม และอยู่ในรูปแแบบดิจิทัล อีกทั้งยังจัดหาวารสารหนังสือพิมพ์ รวมทั้งฐานข้อมูลต่างๆ อีกประมาณสี่ล้านบาทเพื่อให้บริการแก่นักศึกษา

นอกจากนี้ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกในรูปแบบต่างๆ ไว้บริการนักศึกษาร่วมด้วย หอสมุดปรีดีฯ จึงเปรียบเหมือนแหล่งทรัพยากรสารสนเทศด้านสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้นักศึกษาของเราออกไปรับใช้สังคมได้อย่างสง่างาม

สำนักหอสมุด ปรีดี พนมยงค์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงมีความภูมิใจอย่างยิ่งในความสำเร็จของบรรดาบัณฑิตทุกท่าน

หาได้ไว หาได้เจอ

หนังสือที่ให้บริการในหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มีหลากหลายประเภท มีทั้งหนังสืออ้างอิง  วารสาร  หนังสือทั่วไป วิทยานิพนธ์  วิจัย เป็นต้น หนังสือมากมายเหล่านี้ จะหาพบได้อย่างไร

หอสมุดปรีดีฯ มีระบบห้องสมุดอัตโนมัติในการบริหารจัดการฐานข้อมูลบรรณานุกรมของหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ ที่มี เพราะฉะนั้น การค้นหาหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ ที่ต้องการนั้น จึงต้องค้นหาหรือสืบค้นผ่านระบบห้องสมุดฯ ดังกล่าว

การหาหนังสือในระบบห้องสมุดฯ ของหอสมุดปรีดีฯ มีวิธีง่ายๆ ดังนี้

  1. เข้าที่ http://main.library.tu.ac.th/tulib2013/ หรือ https://koha.library.tu.ac.th
  2. ใส่คำค้น ในช่องสืบค้น เช่น ต้องการค้นด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง หรือคำสำคัญ ฯลฯ ซึ่งถ้าค้นด้วยชื่อเรื่อง หรือชื่อผู้แต่ง จะเป็นกรณีที่ทราบชื่อมาอย่างแน่นอนแล้ว กรณีที่ไม่ทราบว่าจะชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง สามารถค้นได้ด้วยคำสำคัญ (keyword)  ซึ่งสามารถค้นได้แบบพื้นฐาน (basic search) และค้นแบบขั้นสูง (Advanced search)
  3. ขอยกตัวอย่าง วิธีการค้นหา ด้วยชื่อเรื่องที่เราต้องการ เช่น  พิมพ์คำว่า กาแฟ ลงไปในช่อง title (ชื่อเรื่อง)  แล้วคลิก ระบบจะประมวลผลออกมาเป็นรูปแบบดังภาพ ให้สังเกต 4 จุดตามหมายเลขดังนี้56
    หมายเลย 1
    Item Type   หมายถึง ชนิดของทรัพยากรสารสนเทศ เช่น Book,  Theses , Reference เป็นต้น
    หมายเลข 2
    Library หมายถึง ห้องสมุดที่มีทรัพยากรสารสนเทศให้บริการหมายเลย 3 Call number หมายถึง เลขเรียกหนังสือหมายเลข 4 Status หมายถึง สถานะของทรัพยากร ถ้าเป็น Available พร้อมให้บริการ (หนังสืออยู่ที่ชั้น ไม่ได้ถูกยืม) แต่ถ้าเป็น Checked out แปลว่า หนังสือถูกยืมออกไป เป็นต้น

    จากตัวอย่างข้างต้น หนังสือเล่มนี้ มีเลขหมู่ คือ  TX911.3.ค36 จ624 จัดเป็นประเภทหนังสือทั่วไป จะอยู่ที่ชั้น U3 (ดูแผนผังของชั้นหนังสือว่าอยู่ที่ชั้นใดของห้องสมุด) ให้ไปยังชั้นหนังสือและหาเลขหมู่ที่ค้นได้ (จากตัวอย่าง คือ TX911.3.ค36 จ624) จากระบบ

    กรณีที่หาตัวเล่มหรือหนังสือไม่พบ  ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์ให้บริการ เพื่อขอให้ติดตามตัวเล่มต่อไป

Pathfinder เส้นทางการหาสารสนเทศ

Pathfinder เป็นตัวช่วยให้ผู้ใช้บริการ เช่น นักศึกษา นักวิจัย  ในการวางแผนการหาสารสนเทศ เป็นเหมือนแผนที่นำทางสำหรับการบอกสารสนเทศที่สำคัญๆ หรืออาจจะพูดง่ายๆ ได้ว่า pathfinder เป็นเสมือนเนวิเกเตอร์ของสารสนเทศนั่นเอง

การสร้าง Pathfinder ต้องร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างบรรณารักษ์และการเรียน การสอนในชั้นเรียน เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีประโยชน์มากที่สุด วัตถุประสงค์ของ Pathfinder ก็คือ การนำเสนอทรัพยากรสารสนเทศที่เลือกสรรแล้ว ทั้ง สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อไม่ตีพิมพ์

Pathfinder เป็นเรื่องที่คุ้นเคยในห้องสมุดมานานหลายปีแล้ว เพราะช่วยประหยัดเวลาให้กับนักศึกษา นักวิจัยได้เป็นอย่างดี การสร้าง pathfinder จะช่วยเสริมทักษะการสืบค้นและเสริมความสามารถของบรรณารักษ์ในการเข้าใจหรือมีความชัดเจนในหัวข้อ เพื่อให้สามารถหาแหล่งสารสนเทศที่มีคุณภาพ การทำ pathfinder ที่ดีจะเป็นเสมือนเครื่องมืออ้างอิงอย่างหนึ่ง Continue reading Pathfinder เส้นทางการหาสารสนเทศ

แนวปฏิบัติที่ดีการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศสิ่งพิมพ์ (Printed materials) (พ.ศ. 2556-2560) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แนวปฏิบัติที่ดีการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศสิ่งพิมพ์ (Printed materials) (พ.ศ. 2556-2560) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วย นโยบายเพื่อการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศสิ่งพิมพ์ (Printed materials) (พ.ศ. 2556-พ.ศ. 2560) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ขั้นตอนและแนวปฏิบัติการดำเนินงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศสิ่งพิมพ์

แนวปฏิบัติที่ดีการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศสิ่งพิมพ์

คู่มือการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากรสารสนเทศที่มีค่าหายาก

คู่มือการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากรสารสนเทศที่มีค่าหายาก  โดย โสรัตน์ กาลออง ได้รวบรวมข้อมูลในด้านการป้องกันและวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศที่มีค่าหายาก และจัดทำเป็นคู่มือ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่า เนื้อหาประกอบด้วย ลักษณะของหนังสือหายาก ทำไมต้องอนุรักษ์หนังสือหายาก วัสดุอุปกรณ์ในการอนุรักษ์ การใช้ทำตัวทำละลายขจัดรอยเปื้อนบนเอกสาร การทำความสะอาด การลดกรด การซ่อมแซมเล็กน้อย การกำจัดแมลงในทรัพยากรสารสนเทศ การตรวจสอบอุณหภูมิและความชื้น การทำกล่องและซองเพื่อการเก็บรักษาเอกสารและหนังสือ

คู่มือการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากรสารสนเทศที่มีค่าหายาก