พระเจ้ากรุงสยามกับเซอร์จอห์น เบาว์ริง (The King of Siam and Sir John Bowing) โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ กัณธิกา ศรีอุดม เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้ากรุงสยามคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะสนธิสัญญา เบาว์ริง กับประเทศอังกฤษ ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่
Tag Archives: ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ไพร่สมัย ร.5
ไพร่สมัย ร.5 โดย อัญชลี สุสายัณห์ บรรณาธิการโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เป็นหนังสือเกี่ยวกับระบบไพร่สมัยรัตนโกสินทร์ ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่
รัชกาลที่ 5 : สยามอุษาอาคเนย์และชมพูทวีป (King Chulalongkorn : Siam-Southeast Asia-Jambudvipa)
รัชกาลที่ 5 : สยามกับอุษาคเนย์และชมพูทวีป (King Chulalongkorn : Siam-Southeast Asia-Jambudvipa) บรรณาธิการ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, อรอนงค์ ทิพย์พิมล เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับประเทศเพื่อนบ้านและเจ้าอาณานิคมของแต่ละประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่
สังคมจีนในประเทศไทย : ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ (Chinese Society in Thailand : An Analytical History)
สังคมจีนในประเทศไทย : ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ (Chinese Society in Thailand : An Analytical History) เขียนโดย จี.วิลเลียม สกินเนอร์ (G. William Skinner) แปลโดย พรรณี ฉัตรพลรักษ์ และคณะ ส่วนบรรณาธิการ คือ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เป็นการศึกษาวิเคราะห์เรื่องราวของชาวจีนโพ้นทะเลในไทย ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและความเจริญทางสังคมของประเทศไทย ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงรัชกาลที่ 3 ประมาณ พ.ศ.2499 สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่นี่
30 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน 600 ปี ซำปอกง/เจิ้งเหอ กับอยุธยาและอุษาคเนย์
30 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน 600 ปี ซำปอกง/เจิ้งเหอ กับอยุธยาและอุษาคเนย์ เป็นหนังสือในชุดสัมมนาประจำปี บรรณาธิการโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และสมถวิล ลือชาพัฒนพร เป็นบันทึกการจัดสัมมนาเมื่อปลายปี 2549 หนังสือเล่มนี้ประเด็นหลัก ๆ กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
การแถลงข่าว 99 ปี ป๋วย อึ๊งภากรณ์ พร้อมฟังปาฐกถา “เทคโนแครต กับ เศรษฐกิจไทย”
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมงานแถลงข่าว 99 ปี ป๋วย อึ๊งภากรณ์ พร้อมฟังปาฐกถา “เทคโนแครต กับ เศรษฐกิจไทย” ในวันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2558 เวลา 13.30-16.00 บริเวณโถงทางเข้าหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
กำหนดการ
13.30 น. ลงทะเบียน
14.00 น.
– กล่าวต้อนรับ โดย ศ.เกียรติคุณ เพ็ชรี สุมิตร ราชบัณฑิต ประธานมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
– กล่าวเปิดงาน โดย ศ.(พิเศษ) ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ผู้ปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 11 ประจำปี 2552 กรรมการและเลขานุการมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แผนกิจกรรมโครงการรำลึก 100 ปี ชาตกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (จัดทำหนังสือชุด และเสวนา 100 ปี ชาตกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ พุธที่ 9 มีนาคม 2559 ณ หอประชุมศรีบูรพา มธ.) โดย ผศ.ปกป้อง จันวิทย์ คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ บรรณาธิการจัดทำหนังสือรำลึก 100 ปี ชาตกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และกรรมการมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
– เปิดตัวเว็บไซต์-อีไลบรารี มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คลังหนังสือและเอกสารดิจิตอล เพื่อมอบให้เป็นสาธารณะสมบัติ ให้ประชาชนเข้าถึงฟรี จัดทำขึ้นในวาระครบรอบ 100 ปี ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (2459-2559) ผู้ก่อตั้งมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาตร์ และครบรอบ 50 ปี (2509-2559) มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาตร์และมนุษยศาสตร์ โดย ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ประธานหลักสูตรรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการมูลนิธิโครงการตำราฯ (www.textbooksproject.com)
14.40 น. ปาฐกถา “เทคโนแครต กับ เศรษฐกิจไทย” เนื่องในวาระครบรอบ 99 ปี ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (2459-2558) โดย ผศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาค และเศรษฐศาสตร์การพัฒนา
15.40 น. เปิดนิทรรศการ “คนชื่อป๋วย” (A Man Called Puey) ประวัติ ผลงาน และเกียรติยศ จัดแสดงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ MBE ที่ ศ.ดร.ป๋วย ได้รับพระราชทานจากพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่ง สหราชอาณาจักร จากวีรกรรมเสรีไทย สู่สาธารณะชนเป็นครั้งแรก พร้อมจัดแสดงรางวัลรามอน แมกไซไซ หรือโนเบลสาขาสันติภาพแห่งเอเชีย เชิดชูเกียรติคุณความดีสูงสุดในการทำงานเพื่ออุทิศตนทำงานบริการประชาชนในสังคมประชาธิปไตย
ร่วมเปิดนิทรรศการโดย (1) ศ.เกียรติคุณ เพ็ชรี สุมิตร ราชบัณฑิต (2) คุณจอน อึ๊งภากรณ์* (3) ศ.(พิเศษ) ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (4) ดร.ธาริษา วัฒนเกส* (5) นายแพทย์ วิชัย โชควิวัฒน* (6) คุณเตือนใจ ดีเทศน์* (7) คุณกาญจนาภรณ์ จิตต์สง่า
พิธีกรตลอดงาน คุณอดิศักดิ์ ศรีสม
จัดโดย มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
*อยู่ในระหว่างการติดต่อ
แนะนำมุม/ห้อง/Collection พิเศษ หอสมุดปรีดี อันทรงคุณค่า น่าค้นหา
หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ใช่ว่าจะมีแต่หนังสือดีที่จัดหาไว้เพื่อสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า วิจัยเท่านั้น แต่ยังมีการสะสมหนังสือ หรือมี Collection สารสนเทศของบุคคลสำคัญและ/หรือสาระความรู้ที่มีความโดดเด่นและทรงคุณค่า ทั้งนี้ หอสมุดปรีดีฯ ได้พยายามจัดตกแต่งสถานที่ เพื่อให้มีบรรยากาศของการศึกษาความรู้ รวมทั้งค้นหาความสบายในการเข้านั่งในมุม/ห้องสถานที่นั้นๆด้วย
มุม/ห้อง/Colletion ที่มีในหอสมุดปรีดีฯ ได้แก่
ห้องอนุสรณ์ 100 ปี ปรีดี พนมยงค์
ห้องอนุสรณ์ 100 ปี มีหนังสือเกี่ยวกับอาจารย์ปรีดีซึ่งท่านเป็นผู้ประศาสน์การของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสิ่งพิมพ์ต้นฉบับ ทั้งลายมือของอาจารย์ปรีดีเก็บไว้ในตู้นิทรรศการ รวมทั้งภาพเขียน ของศิลปิน เทพศิริ สุขโสภา และคณะ ซึ่งเป็นผู้ให้ความอนุเคราะห์ในการจัดจ้างสร้างห้องอนุสรณ์ 100 ปี ปรีดี พนมยงค์ ไว้เป็นอนุสรณ์เพื่อการศึกษา Continue reading แนะนำมุม/ห้อง/Collection พิเศษ หอสมุดปรีดี อันทรงคุณค่า น่าค้นหา