Tag Archives: ปรีดี พนมยงค์

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ เปิดประตูสู่เสรีภาพทางความคิดและการเรียนรู้

วันที่ 11 พฤษภาคม ของทุกปี ถือเป็นวันพิเศษวันหนึ่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยเป็นวันคล้ายวันเกิดของ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ผู้ก่อตั้ง และเป็นผู้ประศาสน์การคนแรกและคนเดียวของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

DSC_0024
อนุสาวรีย์ปรีดี พนมยงค์ เคียงคู่ตึกโดม

Continue reading หอสมุดปรีดี พนมยงค์ เปิดประตูสู่เสรีภาพทางความคิดและการเรียนรู้

ภาพวาด อ.ปรีดี โดย 3 ศิลปินร่วมสมัย

 

ในหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มีภาพวาดรูปเหมือน อ.ปรีดี พนมยงค์ อยู่ 3 รูป ที่ทรงคุณค่ามากในด้านงานศิลปะและเป็นผลงานมาสเตอร์จริงที่วาดโดยศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับแนวหน้าของประเทศไทย ภาพวาดจะมีสไตล์แตกต่างกันและมีเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคลที่สะท้อนมองแง่คิดที่มีต่อ อ.ปรีดี พนมยงค์

1
ภาพวาดโดย อุกฤษณ์ ทองระอา

 

อุกฤษณ์ ทองระอา ผู้เคยฝากผลงานการเขียนภาพปกและภาพประกอบไว้ในหนังสือและนิตยสารหลายเล่ม โดยเฉพาะภาพปกนิตยสาร WRITER ทำให้เขาโด่งดังในสไตล์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเขียนภาพคนเหมือนเป็นที่รู้จัก

 

 

 

2
ภาพวาดโดย ลาวัณย์ อุปอินทร์ (ดาวราย)

ลาวัณย์ อุปอินทร์ (ดาวราย) อาจไม่เป็นที่คุ้นหูนัก สำหรับผู้ที่ไม่อยู่ในแวดวงศิลปะ หากแต่ในวงการเดียวกัน ชื่อของเธอถูกจัดให้เป็นจิตรกรชื่อดัง เจ้าของผลงานภาพเหมือนพระมหากษัตริย์ไทยในอดีตหลายพระองค์ 3และได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจาก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ให้ตามเสด็จเพื่อถวายงานจนเรียกได้ว่าเป็น ศิลปินในราชสำนัก” ยุคต้นๆ

 

 4

ภาพวาดโดย เพ็ญสิน นีลวัฒนานนท์

เพ็ญสิน นีลวัฒนานนท์ เริ่มเป็นที่รู้จักในวงการศิลปะในประเทศไทย ด้วยเหตุผลที่เธอได้แสดงผลงานเดี่ยวถึง 6 ครั้ง และแสดงร่วมกับ ศิลปินอื่นๆ อีกหลายครั้ง เธอใช้ชีวิตอยู่ในฝรั่งเศส โดยเฉพาะ กรุงปารีส เมืองที่เต็มไปด้วยศิลปะระดับสุดยอดของโลก และก่อนหน้านั้นเธอศึกษาศิลปะในเมืองไทยมาก่อนเป็นพื้นฐาน และได้ศึกษาต่อที่สถาบันศิลปะในกรุงปารีสผล5งานจิตรกรรมของ เพ็ญสิน ส่วนใหญ่ ใช้รูปแบบของทิวทัศน์ในหลายประเทศที่เธอได้เดินทางไปเยี่ยมเยือน แต่มิได้ยึดถือความเหมือนจริง และความคมชัดของสิ่งที่เธอเห็น มันเป็นรูปแบบที่ถูกปรับปรุง เพื่อให้เกิดความประสานสัมพันธ์ระหว่างกันของสิ่งที่มีอยู่ในภาพ เพ็ญสินใช้สีอย่างอิสรเสรี ไม่มีขอบเขตจำกัด เป็นสีที่เกิดขึ้นจากจินตนาการที่เธอได้รับจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวและบรรยากาศ ในบางครั้งก็เกิดขึ้นจากส่วนลึกภายในจิตใจของเธอเอง เป็นสีสันที่แต่งแต้มขึ้นภายในขอบเขตที่ไร้ขอบเขต ภายใต้ทฤษฎีที่ไร้ทฤษฎี เพื่อก้าวเข้าสู่การสัมผัสด้วย ใจ เป็นความรู้สึกที่ไม่ต้องการคำตอบ

7

***ผลงานเหล่าอยู่บริเวณชั้น U1 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

งานศิลป์ลายเส้นสวย

1ณ ห้องอนุสรณ์ 100 ปี ปรีดี พนมยงค์ อยู่ภายในหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีงานศิลป์สวยงามน่าประทับใจ จนสามารถพาเราจินตนาการไป่สู่ ยุค 2475 จุดเริ่มต้นแห่งประชาธิปไตยในบ้านเรา ด้วยการถ่ายทอดงานศิลป์จากมุมมองของ อ.เทพศิริ สุขโสภา ซึ่งเป็นจิตรกรที่มีชื่อเสียงและค่ำหวอดในวงการศิลปะมาอย่างยาวนาน2

งานศิลปะชุดนี้ อ.เทพศิริ สุขโสภา ได้แรงบันดาลใจจาก อ.ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโสของประเทศไทยเรา โดยทำงานในหัวชื่อเรื่องว่า “เรือกับรั้ว” ในภาพแต่ละภาพ ในอณูเส้นสี แต่ละ เส้นสี ล้วนถ่ายทอดออกมาได้อย่างอิสระ สวยงาม น่าประทับใจ โดยมีนัยยะแฝงถึงความหมายบางอย่างในยุคนั้น

4 5

 หากมีเวลาลองไปสัมผัสกับจินตนาการและเส้นสีในงานศิลป์ของ อ.เทพศิริ สุขโสภา ได้ที่ ชั้นU1 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ทุกวันตามเวลาที่ห้องสมุดเปิดบริการ

115 ปี ชาตกาล ปรีดี พนมยงค์

115 ปี ชาตกาล ปรีดี พนมยงค์
115 ปี ชาตกาล ปรีดี พนมยงค์

สืบเนื่องจากวันที่ 11 พฤษภาคม 2558 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดงานเพื่อระลึกถึงและแสดงกตเวทิตาต่อศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย ในวันดังกล่าวนอกเหนือจากพิธีการทางสงฆ์ การวางพานพุ่ม และการเสวนา แล้ว ยังมีการเผยแพร่หนังสือ “115 ปี ชาตกาล ปรีดี พนมยงค์” และเข็มกลัดที่ระลึก แก่ผู้ที่มาร่วมงานในวันนั้นด้วย ซึ่งวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นวันครบรอบ 115 ปี ของ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส และผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้รับการประกาศเกียรติคุณจากยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกในปี พ.ศ. 2542

ในหนังสือ 115 ปี ชาตกาล ปรีดี พนมยงค์ มีเนื้อหา อาทิเช่น ร้าน Café de la Paix ร้านกาแฟในกรุงปารีส กับนายปรีดี พนมยงค์ (โดย ดุษฎี พนมยงค์) ปาฐกถา เรื่อง ตำรวจชาวนา ของ นักศึกษาปรีดี พนมยงค์ การเสวนาในงานวันปรีดี พนมยงค์ (ประจำปี) 2557 ในหัวข้อ “ปรีดี พนมยงค์ กับ 80 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม 2557 ณ ห้องประชุมสัญญา ธรรมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำนักหอสมุด มธ. ร่วมงานวันปรีดี ประจำปี 2558

นิทรรศการ “ปรีดี พนมยงค์”

จิตรกรรม ประติมากรรมเซรามิกที่หอสมุดปรีดี พนมยงค์

สมบัติล้ำค่าของห้องสมุดในความคิดของคนทั่วไปในปัจจุบัน คือ “หนังสือ/สื่อความรู้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์หลากหลาย”  แต่ที่หอสมุดปรีดี  พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ นอกจากจะมี 2 สิ่งดังกล่าวแล้ว  ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่หาได้ยากในห้องสมุดในประเทศไทย นั่นคือ ภาพจิตรกรรมฝาผนังทำด้วยแผ่นเซรามิกและการปั้นนูนต่ำ  ชื่อ ภาพจิตวิญญาณธรรมศาสตร์และ ฯพณฯ ปรีดี  พนมยงค์   เป็นภาพขนาดใหญ่เต็มฝาผนัง 1 ด้านที่มีความงดงามโดดเด่นสะดุดตา อยู่ที่บริเวณห้องโถงนิทรรศการ ชั้นใต้ดิน 1

11111          2222

ภาพจิตวิญญาณธรรมศาสตร์และฯพณฯปรีดี  พนมยงค์  ประกอบด้วยรูปภาพและสัญลักษณ์อยู่ในวงกลมน้อย-ใหญ่  จำนวน 13 ภาพ  เริ่มต้นด้วยภาพแม่โดม  สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสุดท้ายเป็นภาพเหมือนของฯพณฯปรีดี  พนมยงค์  ซึ่งล้อมรอบด้วยดอกบัว 11 ดอกที่มีสีสรรแตกต่างกันเป็นการเปรียบเทียบชีวิตของท่านโดยในแต่ละภาพก็ล้อมรอบด้วยเส้นโค้งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงความเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันตลอด มีสีสรรสวยงาม และสอดคล้องกลมกลืนกัน ในตอนกลางของภาพเป็นรูปธงชาติและรัฐธรรมนูญปรากฏอย่างเป็นสง่า

33       44

การสร้างสรร “ภาพจิตวิญญาณธรรมศาสตร์และฯพณฯปรีดี  พนมยงค์”   ศิลปินใช้เวลานานกว่า 2 ปี    ใช้แผ่นเซรามิกประมาณ 1ล้านแผ่น  การจัดเรียงแผ่นเซรามิกให้มีความหมายตามโครงสร้างของภาพใช้เวลานานถึง 4 เดือน   ดังนั้นกว่าจะมาเป็นภาพที่ปรากฏความงดงามสมบูรณ์แบบบนผนังแห่งนี้ได้  ศิลปินก็ต้องใช้ทั้งแรงใจ แรงกาย หยาดเหงื่อ เวลา  และการทุ่มเทสุดฝีมือ  จึงอยากให้ทุกคนที่ได้ชมภาพนี้สำนึกในคุณค่าและช่วยกันรักษาให้คงอยู่คู่หอสมุดปรีดี  พนมยงค์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปนานเท่านาน

55
        66

เอกสารอ้างอิง :

1.   สัมพันธ์ สารารักษ์.  จิตวิญญาณธรรมศาสตร์และ ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์   [ม.ป.ท. : ม.ป.พ.], 2548     54 แผ่น : ภาพสีประกอบ

2.  จุลสารธรรมศาสตร์ปี่ที่ 38 ฉบับที่10  พ.ย 48  หน้า 7

สำนักหอสมุด มธ. ร่วมงานวันปรีดี ประจำปี 2558

บุคลากรสำนักหอสมุด มธ. ร่วมงานวันปรีดี ประจำปี 2558 ในวันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม 2558 ณ มธ. ท่าพระจันทร์ เพื่อเป็นการระลึกถึงและแสดงกตเวทิตาต่อศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การวางพานพุ่มเพื่อระลึกถึง อ. ปรีดี พนมยงค์
                     การวางพานพุ่มเพื่อระลึกถึง อ. ปรีดี พนมยงค์
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยร่วมงาน
                                  ผู้บริหารมหาวิทยาลัยร่วมงาน
บุคลากรของสำนักหอสมุด ร่วมวางพานพุ่ม
                    บุคลากรของสำนักหอสมุด ร่วมวางพานพุ่ม

โดยกิจกรรมในวันนี้ เริ่มตั้งแต่เวลา 07.30 น. ประกอบด้วยพิธีสงฆ์ การขับร้องเพลงประสานเสียง และการวางพานพุ่มดอกไม้ ณ บริเวณลานปรีดี หน้าตึกโดม นอกจากนี้ มีพิธีมอบรางวัลทุนการศึกษา “ทุนปาล พนมยงค์” และการเสวนา เรื่อง “ธรรมศาสตร์ก้บขบวนการเสรีไทย” โดย ดร. ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายสันติสุข โสภณสิริ กรรมการมูลนิธีเสถียรโกเศศ-นาคะประทีป

นอกจากการร่วมวางพานพุ่มดอกไม้แล้ว สำนักหอสมุด มธ. ยังได้ร่วมจัดนิทรรศการ อ.ปรีดี พนมยงค์ บริเวณตึกโดม ฝั่งสนามฟุตบอล ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2558 หลังจากนั้น ในวันที่ 12-31 พฤษภาคม 2558 นิทรรศการชุดนี้จะย้ายมาแสดง ณ บริเวณโถงนิทรรศการ ชั้น U1 หอสมุดปรีดี พนมยงค์

นิทรรศการ อ.ปรีดี
                                              นิทรรศการ อ.ปรีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง นิทรรศการ “ปรีดี พนมยงค์”

นิทรรศการ “ปรีดี พนมยงค์”

1

สืบเนื่องจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แต่งตั้ง สำนักหอสมุดเป็นตัวแทนในการจัดนิทรรศการ อ.ปรีดี พนมยงค์ เพื่อจัดแสดง ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2558ข้าพเจ้าจึงขอนำเสนองานดังนี้

111

112

113

14

*นิทรรศการ อ.ปรีดี พนมยงค์ จะจัดบริเวณตึกโดม ฝั่งสนามฟุตบอล ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2558 หลังจากนั้น ในวันที่ 12-31 พฤษภาคม 2558 นิทรรศการชุดนี้จะย้ายมาแสดง ณ บริเวณโถงนิทรรศการ ชั้น U1 หอสมุดปรีดี พนมยงค์

แนะนำมุม/ห้อง/Collection พิเศษ หอสมุดปรีดี อันทรงคุณค่า น่าค้นหา

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ใช่ว่าจะมีแต่หนังสือดีที่จัดหาไว้เพื่อสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า วิจัยเท่านั้น แต่ยังมีการสะสมหนังสือ หรือมี Collection สารสนเทศของบุคคลสำคัญและ/หรือสาระความรู้ที่มีความโดดเด่นและทรงคุณค่า ทั้งนี้ หอสมุดปรีดีฯ ได้พยายามจัดตกแต่งสถานที่ เพื่อให้มีบรรยากาศของการศึกษาความรู้ รวมทั้งค้นหาความสบายในการเข้านั่งในมุม/ห้องสถานที่นั้นๆด้วย

มุม/ห้อง/Colletion ที่มีในหอสมุดปรีดีฯ ได้แก่

ห้องอนุสรณ์ 100 ปี  ปรีดี พนมยงค์

IMG25580213002

ห้องอนุสรณ์ 100 ปี มีหนังสือเกี่ยวกับอาจารย์ปรีดีซึ่งท่านเป็นผู้ประศาสน์การของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสิ่งพิมพ์ต้นฉบับ ทั้งลายมือของอาจารย์ปรีดีเก็บไว้ในตู้นิทรรศการ  รวมทั้งภาพเขียน ของศิลปิน เทพศิริ สุขโสภา และคณะ ซึ่งเป็นผู้ให้ความอนุเคราะห์ในการจัดจ้างสร้างห้องอนุสรณ์ 100 ปี ปรีดี พนมยงค์ ไว้เป็นอนุสรณ์เพื่อการศึกษา Continue reading แนะนำมุม/ห้อง/Collection พิเศษ หอสมุดปรีดี อันทรงคุณค่า น่าค้นหา