Tag Archives: หอสมุดปรีดี พนมยงค์

นิทรรศการ “ปรีดี พนมยงค์”

1

สืบเนื่องจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แต่งตั้ง สำนักหอสมุดเป็นตัวแทนในการจัดนิทรรศการ อ.ปรีดี พนมยงค์ เพื่อจัดแสดง ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2558ข้าพเจ้าจึงขอนำเสนองานดังนี้

111

112

113

14

*นิทรรศการ อ.ปรีดี พนมยงค์ จะจัดบริเวณตึกโดม ฝั่งสนามฟุตบอล ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2558 หลังจากนั้น ในวันที่ 12-31 พฤษภาคม 2558 นิทรรศการชุดนี้จะย้ายมาแสดง ณ บริเวณโถงนิทรรศการ ชั้น U1 หอสมุดปรีดี พนมยงค์

หนังสือใต้ทางลอด หน้าหอสมุดปรีดี พนมยงค์

ในช่วงวันพฤหัสบดี ศุกร์ และเสาร์ สัปดาห์สุดท้ายของทุกเดือน บริเวณทางเข้าหอสมุดปรีดี พนมยงค์ สำนักหอสมุดได้อนุญาตให้ร้านค้าเข้ามาจำหน่ายหนังสือในราคาลดพิเศษให้แก่ นักศึกษา บุคลากรของมหาวิทยาลัย และบุคคลภายนอกที่เดินผ่านทางเดินดังกล่าว โดยทางสำนักหอสมุดได้เก็บค่าสถานที่เป็นหนังสือจากร้านต่างๆ ในราคาไม่เกิน 2,000 บาท/1 ร้านค้า จากราคาที่ปรากฎที่หน้าปก
Picture 021         Picture 017
ในแต่ละเดือนมีร้านค้าหมุนเวียนเข้ามาจำหน่ายหนังสืออยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีทั้งที่มาจาก สำนักพิมพ์ บริษัท มูลนิธิ และบุคคลภายนอก ตัวอย่างร้านค้าที่เข้ามาจำหน่ายหนังสือ เช่น ร้านขายหนังสือสำหรับเด็ก ได้แก่ ร้านหนังสือชมรมเด็ก หนังสือหมวด ปรัชญา ศาสนา ได้แก่ สำนักพิมพ์ กรีน ปัญญาญาณ จำกัด  หนังสือประเภทสารดคี วิชาการทั่วไป ได้แก่ สำนักพิมพ์ Open Book บริษัท ยิปซี กรุ๊ป จำกัด สำนักพิมพ์ ฟ้าเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีตัวแทนจำหน่ายนิตยสารต่างประเทศชั้นนำ เช่น TIME ซึ่งได้แก่ บริษัท แมกกาซีน อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด

Picture 020

ซึ่งในส่วนของห้องสมุดจะมีผู้รับผิดชอบทำหน้าที่คัดเลือกหนังสือจากร้านต่างๆ นำมาพิมพ์รายชื่อเพื่อเก็บเป็นหลักฐาน และนำตัวเล่มมาตรวจสอบกับฐานข้อมูล Koha เพื่อพิจารณาเลือกเข้าห้องสมุด ถ้าเป็นฉบับพิมพ์ซ้ำและหอสมุดปรีดีมีตัวเล่มแล้ว ก็อาจรับเข้าห้องสมุดสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณาจากเนื้อหาของหนังสือ เช่น หมวดกฎหมาย อาจพิจารณาเพิ่มให้ห้องสมุดบุญชู ตรีทอง (ลป) หรือหมวดบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณาให้ห้องสมุดศูนย์พัทยา เป็นต้น

Picture 022

ประโยชน์ที่หอสมุดปรีดี พนมยงค์ได้รับจากการเข้ามาขายหนังสือใต้ทางลอด คือ ห้องสมุดได้รับหนังสือใหม่ หลากหลายประเภท เป็นการประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อ ทำให้ห้องสมุดมีปริมาณทรัพยากรฯ ให้บริการเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการห้องสมุดยังได้เลือกซื้อหนังสือเพื่อใช้ส่วนตัวได้ในราคาถูกด้วย

นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ศึกษาดูงาน หอสมุดปรีดีพนมยงค์

DSC_0719
ภาพจาก นักศึกษาภาควิชาภาควิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2558 เวลา 13.00 น.-15.00 น. อาจารย์และนักศึกษา ชั้นปีที่ 3 จาก ภาควิชาภาควิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ได้เข้าศึกษาดูงาน ณ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ โดยมีคุณกฤตนันท์ ดุษฎีเมธานนท์ เป็นวิทยากรกล่าวต้อนรับพร้อมทั้งกล่าวถึงภาพรวมโดยสังเขปของหอสมุด Continue reading นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ศึกษาดูงาน หอสมุดปรีดีพนมยงค์

นักศึกษาชมรมอาสา ศึกษาดูงานหอสมุดปรีดี พนมยงค์

นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ชมรมอาสา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากศูนย์รังสิต ได้มาศึกษาดูงาน ณ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาิวทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2558  เวลา 10.00 – 11.30 น. โดยมีคุณยุวดี แก้วเอี่ยม และคุณบุษยา เฟื่องประเสริฐ เป็นผู้นำชม

บรรยากาศในการนำชม
บรรยากาศในการนำชม
S__4513903
บรรยากาศในการนำชม

Continue reading นักศึกษาชมรมอาสา ศึกษาดูงานหอสมุดปรีดี พนมยงค์

เกร็ดจาก “คนชื่อป๋วย (A Man Called Puey)”

คนชื่อป๋วย  (A Man Called Puey)
คนชื่อป๋วย (A Man Called Puey)

นิทรรศการ คนชื่อป๋วย (A Man Called Puey) เป็นนิทรรศการชั่วคราวที่บอกเล่าเรื่องราวเกร็ดประวัติสำคัญของ ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในแง่มุมต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาและประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะเยาวชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ถึงการดำเนินชีวิตของท่านที่เป็นแบบอย่างทั้งในด้านความเรียบง่าย ความซื่อสัตย์ และการเป็นคนดีของสังคม  ซึ่งมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ได้จัดทำขึ้น ในโอกาสรำลึก 99 ปี ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์

ทั้งนี้ ในพิธีเปิดนิทรรศการเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมา ทางมูลนิธิโครงการตำราฯ ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องกับ ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์มาร่วมงาน พร้อมกับกล่าวถึง อาจารย์ป๋วย ในความทรงจำซึ่งล้วนแล้วแต่น่าสนใจ จึงได้สรุปความพร้อมเป็นเกร็ดที่น่าสนใจเพื่่อรำลึกถึง ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์

Continue reading เกร็ดจาก “คนชื่อป๋วย (A Man Called Puey)”

หนังสือบริจาคของหอสมุดปรีดี พนมยงค์

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ได้รับบริจาคหนังสือจากหน่วยงานราชการ บุคลากรของมหาวิทยาลัย    นักศึกษาปัจจุบัน ศิษย์เก่า หน่วยงานและบุคลากรภายนอก โดยส่วนใหญ่จะมาที่หอสมุดปรีดีฯ ทั้งนี้เพราะสะดวกในการติดต่อด้วยตนเองหรือโทรศัพท์ติดต่อแจ้งความจำนงกับหอสมุด ทางหอสมุดปรีดีฯก็จะไปรับบริจาคหนังสือที่ทำงานหรือที่บ้านของผู้บริจาคเอง หนังสือบริจาคเหล่านี้บางชื่อเรื่องก็ไม่มีจำหน่ายในท้องตลาดเพราะเป็นหนังสือที่ผลิตใช้เฉพาะกิจ เช่น หนังสืองานศพหรือหนังสือรายงานประจำปี เป็นต้น หอสมุดปรีดีฯ ดำเนินการคัดเลือกหนังสือตามหลักเกณฑ์ดังนี้

  1. หนังสือทั่วไปที่มีรูปเล่มในสภาพที่ดี ไม่มีฉีกขาด ไม่มีรอยขีดเขียน
  2. ไม่รับหนังสือที่ถ่ายเอกสาร เอกสารประเภทชีท
  3. หนังสือด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีที่ล้าสมัย
  4. ไม่รับหนังสือที่มีสภาพเล่มเก่า ชำรุด กระดาษเป็นสีเหลือง หรือเปียกน้ำและขึ้นรา ถ้าหนังสือเก่าที่มีสภาพที่ดี มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และการเรียนการสอน หรือเกี่ยวกับประวัติ เหตุการณ์สำคัญของประเทศจะพิจารณาเป็นหนังสือหายาก
  5. รับบริจาคหนังสืองานศพ เพราะเนื้อหาบอกประวัติผู้วายชนม์และข้อมูลด้านต่างๆที่ให้ความรู้กับผู้อ่าน
  6. รับบริจาคด้านโสตทัศนวัสดุต่างๆ ที่เป็นแผ่นมาสเตอร์ ไม่รับแผ่นปลอม แผ่นหนังโป๊ฃ
  7. การรับบริจาคหนังสือ ทางหอสมุดปรีดี พนมยงค์ จะถือเป็นกรรมสิทธิ์โดยชอบธรรม และขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาโดยสามารถดำเนินการในลักษณะต่างๆ ได้ตามความเหมาะสมโดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้บริจาคทราบล่วงหน้า
  8. กรณีที่มาบริจาคหนังสือด้วยตนเอง เจ้าหน้าที่ที่จะขอที่อยู่ของผู้บริจาค เพื่อดำเนินการตอบขอบคุณ

รับบริจาควันจันทร์-ศุกร์ ระหว่าง เวลา 8.00 น.- 16.00 น. และสามารถโทรศัพท์ติดต่อที่ 02-6133539 หรือ 02-6133544

ห้องละหมาด

ละหมาด เป็นการประกอบกิจบูชาสักการะอัลลอหฺ ด้วยการอ่านบทสรรเสริญ และการวิงวอนในอาการต่างๆ เช่น ยืน ก้ม กราบและนั่ง การละหมาดเป็นการฝึกฝนให้เป็นคนตรงต่อเวลา มีความอดทน และไม่ประพฤติสิ่งใดในทางชั่วร้าย ผู้นับถือศาสนาอิสลามต้องปฏิบัติการละหมาดเป็นเวลาและเป็นกิจวัตรประจำวัน

แต่เดิมหอสมุดปรีดี พนมยงค์ ไม่มีห้องละหมาดให้บริการกับบุคลากรและนักศึกษาที่นับถือศาสนาอิสลาม ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะไปละหมาด ที่ห้องวัสดุลักษณะพิเศษ 2 หรือห้องเก็บวารสารฉบับย้อนหลัง

หอสมุดปรีดี พนมยงค์  เห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดทำห้องละหมาดเพื่อความเป็นสัดส่วนในการปฏิบัติพิธีทางศาสนาของอิสลาม อยู่ที่ชั้น U1 ใกล้ห้องวัสดุสารสนเทศลักษณะพิเศษ 2  เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติศาสนกิจของบุคลากรและนักศึกษาที่นับถือศาสนาอิสลาม

บริการวารสารและหนังสือพิมพ์

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ได้จัดบริการวารสารและหนังสือพิมพ์ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ที่ครอบคลุมเนื้อหาหลากหลายสาขาวิชา มีบริการในรูปซื้อตัวเล่ม E-journals และวัสดุย่อส่วน บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเป็นผู้จัดซื้อ และทำดรรชนีวารสาร ลงในฐานข้อมูลของสำนักหอสมุด เมื่อผู้ใช้บริการห้องสมุดต้องการบทความจากวารสารและหนังสือพิมพ์ ก็สามารถค้นหาบทความได้จากเว็บไซต์ (http://koha.library.tu.ac.th)

opac

และคลิกที่คำว่า Articles จะได้หน้าจอค้นบทความได้ตามต้องการ

clip_image002

ถ้าผู้ใช้บริการห้องสมุดต้องการบทความวารสารและหนังสือพิมพ์เพิ่มเติม ก็สามารถค้นหาได้จาก  E-Resources ฐานข้อมูล NewSCenter และฐานข้อมูล Matichon E-library ได้   บริการวารสารและหนังสือพิมพ์ ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อได้ที่ชั้น U1 ห้องวัสดุสารสนเทศลักษณะพิเศษ 2

นักวิจัยจากประเทศอินเดีย ศึกษาดูงานสำนักหอสมุด

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2558 Dr. Shilpa Satish Waghchoure นักวิจัยจาก Gokhale Education Society’s College of Education and Research ประเทศอินเดีย ซึ่งได้รับทุนแลกเปลี่ยนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสภาวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศอินเดีย (Indian Council of Social Science Research หรือ ICSSR) ในการทำวิจัยเรื่อง “Use of Electronic Resources by Social Scientists in University Libraries of Thailand and India : A Comparative Study ”
ได้เข้าศึกษาดูงาน และเก็บข้อมูลในการทำวิจัยด้วยการสัมภาษ์บุคลากรของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยคุณจุฑาทิพย์ โอสนานนท์ รองผู้อำนวยการสายบริการและส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นผู้ให้สัมภาษณ์

Dr. Shilpa Satish Waghchoure ให้ความสนใจในค้นหาทรัพยากรสานสนเทศที่ให้บริการในรูปอิเล็กทรอนิกส์
Dr. Shilpa Satish Waghchoure ให้ความสนใจในค้นหาทรัพยากรสานสนเทศที่ให้บริการในรูปอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Continue reading นักวิจัยจากประเทศอินเดีย ศึกษาดูงานสำนักหอสมุด

ศูนย์บริการสารสนเทศว่าด้วยประเด็นการค้ามนุษย์ (HUMAN TRAFFICKING CORNER)

 

1
ศูนย์บริการสารสนเทศว่าด้วยประเด็นการค้ามนุษย์   (HUMAN TRAFFICKING  CORNER)  เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ (UNIAP) กับ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำว่า การค้ามนุษย์  หมายถึง การจัดหา การขนส่ง การส่งต่อ การกระทำต่อผู้อื่นโดยเจตนาอีกทั้งยังแสวงหาผลประโยชน์จากบุคคลนั้น ๆ โดยมิชอบ รวมหมายถึงการถูกทารุณกรรมและตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ของเด็กและสตรีทั่วโลก Continue reading ศูนย์บริการสารสนเทศว่าด้วยประเด็นการค้ามนุษย์ (HUMAN TRAFFICKING CORNER)