Tag Archives: การค้นหาหนังสือ

รู้หรือไม่ “ทำไมบรรณารักษ์ หาอะไรก็เจอ” เรียนรู้เทคนิคง่าย ๆ และได้ผลจริงในการค้นหาหนังสือที่ต้องการ

เทคนิคการค้นหาหนังสือโดยการใช้ Keywords

#เหมาะกับ ผู้ใช้บริการที่จำชื่อเรื่อง หรือ รายละเอียดของหนังสือที่ต้องการค้นหาไม่ได้ทั้งหมด

#ข้อดี หากกำหนด Keyword ได้อย่างถูกต้อง จะทำให้ได้ผลการค้นหาที่ต้องการอย่างรวดเร็ว

7B4E13FE-81CE-48FB-A407-6C50AB87BEB6

Continue reading รู้หรือไม่ “ทำไมบรรณารักษ์ หาอะไรก็เจอ” เรียนรู้เทคนิคง่าย ๆ และได้ผลจริงในการค้นหาหนังสือที่ต้องการ

จัดทำป้ายแจ้งหมวดหมู่หนังสือ

การจัดทำป้ายแจ้งหมวดหมู่หนังสือ (Guide card)  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้รับบริการและผู้ให้บริการทราบตำแหน่งในการจัดเก็บหนังสือแต่ละเล่ม เป็นการอำนวยความสะดวกในการค้นหาหนังสือและแยกประเภทของหนังสือให้ชัดเจน ขั้นตอนในการจัดทำป้ายแจ้งหมวดหมู่หนังสือ คือ

1.  หลังจากเจ้าหน้าที่ได้จัดชั้นหนังสือเรียบร้อยแล้ว จะจดเลขหมู่หนังสือแต่ละแถวมาให้เพื่อจัดพิมพ์ป้ายแจ้งหมวดหมู่หนังสือ
2.  เตรียมกระดาษสี เพื่อที่จะพิมพ์ป้ายแจ้งหมวดหมู่หนังสือเพื่อความสวยงามเป็นระเบียบและมองเห็นได้เด่นชัด
3.  เตรียมเทปใสเพื่อที่จะติดทับกับป้ายแจ้งหมวดหมู่หนังสือให้คงทนไม่ขาดง่าย
4.  ตัดหมวดหมู่หนังสือแต่ละแถว/ชั้นของหนังสือให้ต่อเนื่องกัน (ตัวอย่าง เช่น A – B , C – E )
5.  นำที่ตัดหมวดหมู่หนังสือมาพิมพ์ (ป้ายหมวดหมู่หนังสือจะมีป้ายเล็กกับป้ายใหญ่ที่ต้องพิมพ์) Continue reading จัดทำป้ายแจ้งหมวดหมู่หนังสือ

หาได้ไว หาได้เจอ

หนังสือที่ให้บริการในหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มีหลากหลายประเภท มีทั้งหนังสืออ้างอิง  วารสาร  หนังสือทั่วไป วิทยานิพนธ์  วิจัย เป็นต้น หนังสือมากมายเหล่านี้ จะหาพบได้อย่างไร

หอสมุดปรีดีฯ มีระบบห้องสมุดอัตโนมัติในการบริหารจัดการฐานข้อมูลบรรณานุกรมของหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ ที่มี เพราะฉะนั้น การค้นหาหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ ที่ต้องการนั้น จึงต้องค้นหาหรือสืบค้นผ่านระบบห้องสมุดฯ ดังกล่าว

การหาหนังสือในระบบห้องสมุดฯ ของหอสมุดปรีดีฯ มีวิธีง่ายๆ ดังนี้

  1. เข้าที่ http://main.library.tu.ac.th/tulib2013/ หรือ https://koha.library.tu.ac.th
  2. ใส่คำค้น ในช่องสืบค้น เช่น ต้องการค้นด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง หรือคำสำคัญ ฯลฯ ซึ่งถ้าค้นด้วยชื่อเรื่อง หรือชื่อผู้แต่ง จะเป็นกรณีที่ทราบชื่อมาอย่างแน่นอนแล้ว กรณีที่ไม่ทราบว่าจะชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง สามารถค้นได้ด้วยคำสำคัญ (keyword)  ซึ่งสามารถค้นได้แบบพื้นฐาน (basic search) และค้นแบบขั้นสูง (Advanced search)
  3. ขอยกตัวอย่าง วิธีการค้นหา ด้วยชื่อเรื่องที่เราต้องการ เช่น  พิมพ์คำว่า กาแฟ ลงไปในช่อง title (ชื่อเรื่อง)  แล้วคลิก ระบบจะประมวลผลออกมาเป็นรูปแบบดังภาพ ให้สังเกต 4 จุดตามหมายเลขดังนี้56
    หมายเลย 1
    Item Type   หมายถึง ชนิดของทรัพยากรสารสนเทศ เช่น Book,  Theses , Reference เป็นต้น
    หมายเลข 2
    Library หมายถึง ห้องสมุดที่มีทรัพยากรสารสนเทศให้บริการหมายเลย 3 Call number หมายถึง เลขเรียกหนังสือหมายเลข 4 Status หมายถึง สถานะของทรัพยากร ถ้าเป็น Available พร้อมให้บริการ (หนังสืออยู่ที่ชั้น ไม่ได้ถูกยืม) แต่ถ้าเป็น Checked out แปลว่า หนังสือถูกยืมออกไป เป็นต้น

    จากตัวอย่างข้างต้น หนังสือเล่มนี้ มีเลขหมู่ คือ  TX911.3.ค36 จ624 จัดเป็นประเภทหนังสือทั่วไป จะอยู่ที่ชั้น U3 (ดูแผนผังของชั้นหนังสือว่าอยู่ที่ชั้นใดของห้องสมุด) ให้ไปยังชั้นหนังสือและหาเลขหมู่ที่ค้นได้ (จากตัวอย่าง คือ TX911.3.ค36 จ624) จากระบบ

    กรณีที่หาตัวเล่มหรือหนังสือไม่พบ  ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์ให้บริการ เพื่อขอให้ติดตามตัวเล่มต่อไป