เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2559 เวลา 9.30 – 11.00 น. ผู้เขียนมีโอกาสได้เข้าฟังการแนะนำผลิตภัณฑ์จากสำนักพิมพ์ SAGE Publications โดยคุณ Rosalia Garcia
Continue reading แนะนำผลิตภัณฑ์จากสำนักพิมพ์ SAGE Publications
เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2559 เวลา 9.30 – 11.00 น. ผู้เขียนมีโอกาสได้เข้าฟังการแนะนำผลิตภัณฑ์จากสำนักพิมพ์ SAGE Publications โดยคุณ Rosalia Garcia
Continue reading แนะนำผลิตภัณฑ์จากสำนักพิมพ์ SAGE Publications
วันที่ 30 มิถุนายน 2558 บุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วย สุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ ขวัญชนก สถาพรพิบูลย์ อิสริ์ยา หมีเงิน กนกวรรณ พานิชเจริญ เจนจิรา อาบสีนาค นัชฐภรณ์ อ่อนแก้ว สุกัญญา คำภาศรี กฤตนันท์ ดุษฎีเมธานนท์ วริศรา วีระสัมพันธ์ และพิมพ์ชนก สิริพงศ์ทักษิณ เข้าร่วมฟังการบรรยาย การนำบทความวิจัย R2R ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ ณ ห้องประชุมหลวงดำริอิศรานุวรรต ชั้น 5 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตรลดา อมรวัฒนา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยมหิดล และ บรรณาธิการ วารสาร Mahidol R2R e-Journal ได้บรรยายในหัวข้อ เรื่อง Mahidol R2R e-Journal ทางเลือกใหม่สู่ความก้าวหน้าในสายอาชีพ คุณสแกวรรณ พูลเพิ่ม และ คุณนัตตุลา ชัยเกตุ นักทรัพยากรบุคคลและ ฝ่ายจัดการ วารสาร Mahidol R2R e-Journal บรรยายและสาธิต ระบบการดำเนินงานจัดทำวารสาร Mahidol R2R e-Journal
Mahidol R2R e-Journal จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นช่องทางในการเผยแพร่ผลงานที่เป็นบทความทางวิชาการ บทความวิจัย ที่เกิดจากโจทย์วิจัย (หรือ Routine to Research (R2R) เพื่อเป็นการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย โดยมีเป้าหมายเพื่อนำผลงานวิจัยไปใช้ในการพัฒนาประจำนั้นๆ) ขณะนี้ เพิ่งดำเนินการมาได้ 1 ปี เริ่มเข้าสู่ปีที่ 2 มีโครงการจะผลักดันในการนำเข้า TCI ต่อไป
Continue reading Mahidol R2R e-Journal: วารสารสำหรับบุคลากรสายสนับสนุน
ร็อบ คอร์เรา (Rob Corrao) ประธานฝ่ายปฏิบัติการของ LAC Group ได้นำเสนอการจัดอันดับทักษะที่จำเป็นสำหรับบรรณารักษ์ในปัจจุบันและอนาคตห้าอันดับแรก ได้แก่
บรรณารักษ์ที่นำทักษะเหล่านี้มาใช้จะทำให้สามารถอยู่ในอาชีพบรรณารักษ์อย่างมีความสุข เพิ่มความสามารถและความก้าวหน้าในวิชาชีพ ตลอดจนเป็นผู้มีคุณค่าและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการข้อมูลที่สำคัญ
สรุปความจาก:
Corrao, Rob. “Top Five Skills Required for Librarians Today & Tomorrow.” lac-group. http://lac-group.com/blog/2013/08/06/top-five-skills-required-for-librarians-today-tomorrow/ (accessed May 9, 2015)
e-Research Support โดย รองศาสตราจารย์ ดร. สมพร พุทธาพิทักษ์ผล อาจารย์ประจำแขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 7 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยพูดถึง e-Research ตั้งแต่ความหมาย และองค์ประกอบ สถานปัจจุบันของการวิจัย ประกอบด้วย การสื่อสารทางวิชาการ กระบวนการวิจัย ห้องสมุด และ e-Research support นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงช่องทางของวิชาชีพ ได้แก่ ทักษะความรู้บรรณารักษ์และนักสารสนเทศที่ต้องเปลี่ยนไปจากเดิม บริการใหม่ที่เข้ามาแทนที่ การจัดการข้อมูลวิจัย ที่มาแทนที่การจัดการสิ่งพิมพ์วิจัย รวมทั้งสรุปประเด็นที่น่าสนใจ คือ ประเด็นที่ 1 ขาดความรู้ ความเข้าใจด้านสถิติเชิงอ้างอิงที่ซับซ้อน การที่มีภูมิหลังด้านการศึกษามนุษยศาสตร์ และไม่คุ้นเคยกับสถิติ ข้อมูลเชิงปริมาณ ประเด็นที่ 2 การวิจัย การติดตามงานวิจัย และการใช้งานวิจัย ประเด็นที่ 3 สมรรถนะเดิม และสมรรถนะใหม่ คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด
Ruth A. Ragel ได้เขียนถึง 2 ค่ายยักษ์ใหญ่ฐานข้อมูล อย่าง Web of Science ซึ่งเป็นของบริษัท Thomson Reuters และ Scopus ซึ่งเป็นของสำนักพิมพ์ Elsevier ทางด้าน Web of Science ซึ่งครองความน่าเชื่อถือด้วยค่า impact factor ของบทความมายาวนาน การตรวจสอบค่า impact factor จากฐานข้อมูล Journal Citation Reports (JCR) ขณะที่ Scopus ก็ออกวิธีการคำนวณค่า SJR (SCImago Journal Rank) ในบทความนี้ Ragel นำเสนอหลายๆ มุมมอง เลยอยากแนะนำให้อ่านดูค่ะ http://librarylearningspace.com/ruths-rankings-4-big-two-thomson-reuters-scopus/
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้สารสนเทศให้แก่ บุคลากรของสำนัก โดยจัดอบรมการใช้ฐานข้อมูล InCites และ SciVal เมื่อ วันที่ 22 ตุลาคม 2557 โดยวิทยากร คือ Dr. Ning Ning จาก Thomson Reuters (InCites) และ Mr. Alexander Van Servellen จาก Elsevier (SciVal) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจการใช้โปรแกรมวิเคราะห์สมรรถนะด้านการวิจัย
ฐานข้อมูล InCites และ SciVal นั้น เป็น เครื่องมือประเมินผลงานวิจัย เพื่อการวิเคราะห์ผลการวิจัยและเปรียบเทียบ ผลงานในด้านต่างๆ โดยใช้ข้อมูลการอ้างอิง สถิติที่ครอบคลุมทั่วโลก ข้อมูลจากหลายหลากแง่มุมเพื่อใช้ในการกำหนดทิศทางของสถาบันการวิจัย ครอบคลุมข้อมูลต่างๆ ทั้งในด้านประสิทธิภาพ และความร่วมมือระหว่างสถานบัน โดยการแสดงผลภาพที่ชัดเจน และมีเครื่องมือรายงานผล ทำให้หน่วยงานสามารถสร้างผลการรายงานต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและสะดวกมากยิ่งขึ้น