เมื่อปลายปี 2556 ดิฉันและครอบครัวพี่ชายกลับบ้านที่ต่างจังหวัด เพื่อที่จะไปสวัสดีปีใหม่แม่และญาติ ๆ ที่ต่างจังหวัดตอนกลางคืนที่วัดสวดมนต์ข้ามปี ครอบครัวดิฉันและญาติ ๆ รวมทั้งคนในหมู่บ้านส่วนหนึ่งไปสวดมนต์ที่วัดกัน บทสวดมนต์ข้ามปีที่สำคัญอยู่ในหนังสือสวดมนต์หลายเล่ม เวลาสวดมนต์ก็ต้องเปิดหนังสือหลายเล่ม กว่าจะหาบทที่สวดเจอก็สวดไม่ทัน พอถึงช่วงพักทานอาหารว่าง ก็ปรึกษากันว่า ถ้าบทสวดมนต์อยู่ในเล่มเดียวกันน่าจะดีกว่านี้ ก็มีญาติโยมบอกจะช่วยกันสมทบทุนในการจัดทำหนังสือคู่มือไหว้พระสวดมนต์ โดยไวยาวัจกร (มัคทายก) รับผิดชอบเป็นผู้รวบรวมบทสวดมนต์นี้ ดิฉันจึงอาสาเป็นผู้พิมพ์และถ่ายภาพ น้องชายรับหน้าที่จัดรูปเล่มและติดต่อสำนักพิมพ์ คู่มือไหว้พระสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น เล่มนี้เสร็จสมบูรณ์ก่อนเข้าพรรษา ปี 2557 ญาติโยมอุบาสกอุสิกาได้ใช้บทสวดมนต์ต่าง ๆ ระหว่างเข้าพรรษา และเมื่อสวดมนต์ข้ามปี 2557 ครอบครัวดิฉันและญาติ ๆ รวมทั้งคนในหมู่บ้าน มาสวดมนต์ที่วัดปีนี้มีประมาณ 60 คน พอมีคู่มือไหว้พระสวดมนต์อยู่ในเล่มเดียวกันก็สวดมนต์ตามกันได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันวัดในจังหวัดที่ดิฉันอยู่เริ่มสวดมนต์ข้ามปี นับว่าเป็นการปลูกฝังค่านิยมให้เยาวชนและบุคคลทั่ว ๆ ไปสวดมนต์ข้ามปี เพื่อเป็นสิริมงคลต้อนรับปีใหม่ Continue reading ความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการทำหนังสือสวดมนต์
Tag Archives: ธรรมะ
ธรรมะจากสามเณรน้อย
บรรยากาศภายในวัดเงียบสงบ ร่มรื่น มีต้นไม้สูงใหญ่ ให้ความร่มเย็นแก่ผู้คนในละแวกนั้น และผู้คนที่ไปทำบุญ วันนี้มีคนมาทำบุญกันเยอะมาก โดยเฉพาะพ่อแม่ผู้ปกครองของเด็ก ๆ ที่เข้ารับการบรรพชาบวชสามเณรภากฤดูร้อน จึงนับได้ว่าเป็นกลยุทธที่แยบยลดึงพ่อแม่ผู้ปกครองเข้าวัด บางคนบอกว่านานแล้วที่ไม่ได้เข้าวัดทำบุญทำทาน ถ้าลูกไม่บวชก็ไม่มีโอกาสได้เข้าวัด ผู้ปกครองบางคนเป็นเจ้าภาพเลี้ยงถวายภัตราหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์
หนังสือที่ชอบอ่าน
ตามปกติแล้วชีวิตบรรณารักษ์จะมานั่งๆ นอนๆ อ่านหนังสือตามที่คนส่วนใหญ่กล่าวอ้างเห็นท่าจะมีน้อยคน เพราะวันหยุดก็ต้องใช้เวลากับครอบครัว วันทำงานก็ต้องอ่านหนังสือเพื่อคัดเลือกเข้าห้องสมุดมากกว่าที่จะอ่านเพื่อหาความสุข ถ้าต้องการทำวิจัยก็ต้องอ่านเพื่อหาความรู้ไปใช้งาน หนังสือเพื่อทำวิจัยนี้อ่านแล้วมีความรู้สึกเครียดมากกว่าพักผ่อน หนังสือที่ชอบอ่านจะเป็นหนังสือเกี่ยวกับสุขภาพและธรรมะ หนังสือเหล่านี้อ่านแล้วสบายใจนำมาปฏิบัติในชีวิตจริงได้ และหนังสือที่อยากจะแนะนำในที่นี้คือ หนังสือเรื่อง “ตัวกู-ของกู” นี้เป็นการรวบรวมธรรมบรรยาย 17 บท ของท่านพุทธทาส รวบรวมมาไว้ด้วยกัน ท่านพุทธทาสจะบรรยายธรรม โดยใช้คำที่เข้าใจง่ายแก่คนทั่วไปนำมาปฏิบัติได้ ใช้คำภาษาบาลีน้อยมาก ถ้าท่านจะใช้คำบาลีก็จะมีคำบรรยายให้เข้าใจเสมอ
หนังสือเล่มนี้สำนักพิมพ์เพชรประกาย ผู้รวบรวมและตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2549 เนื่องในวันครบ 100 ปีของท่านพุทธทาส เนื้อเรื่องกล่าวถึงความสำคัญของ “ตัวกู-ของกู” ว่าเป็นเหตุแห่งทุกข์ ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิด ตัวกู-ของกู การดับตัวกูในรูปแบบต่างๆ หรือการดับทุกข์นั่นเอง การสร้างความรู้ความเข้าใจให้เท่าทันความทุกข์ทั้งปวง อ่านจบแล้วก็จิตก็จะไม่ตกไปพักใหญ่ๆ มีกำลังใจทำงาน มองปัญหาต่างๆให้ได้ชัดเจน
7 วันปฏิบัติธรรม วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี (ตอนที่ 2 การปฏิบัติธรรม)
วัดอัมพวันเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่เงียบ สงบ มีผู้สนใจไปปฏิบัติธรรมกันเยอะ ทุกคนรู้หน้าที่ในการไปนั่งรอพิธีการในศาลาเพื่อรอพระอาจารย์ท่านจะมาให้ศีล และท่านจะเริ่มสอนการเดินจงกลม นั่งสมาธิ แล้วแต่พระอาจารย์จะให้นั่ง 2 บังลังก์ (1คน / 2 ชั่วโมง) ต้องทำให้ครบ ห้ามออกก่อนกำหนด เวลามีเวทนาเกิด (การปวดเมื่อย) เราต้องกำหนดปวดหนอ เกิดตรงไหนกำหนดตรงนั้น ทำใจให้เป็นกุศล ตั้งใจที่ลิ้นปี่คิดสิ่งที่เป็นกุศล แล้ววอโหสิกรรมในใจ เมื่อเสร็จก็ยังตั้งความรู้สึกที่ลิ้นปี่ และแผ่เมตตา โดยการเปร่งเสียง
หลังจากที่ได้ปฏิบัติมาก็ได้ฝึกความอดทนอดกลั้น จากการนั่งสมาธิ เพราะทางวัดจะเน้นเรื่องการฝึกลมหายใจเพื่อทำสมาธิ และเดิมจงกลม ภาวนายุบหนอ พองหนอ คือหายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องยุบ แรกๆ ก็ยังทำไม่ได้ ยุกยิกอยู่เหมือนกัน และจะต้องบอกว่าสำหรับท่านใดยังไม่เคยนั่งจะปวดขามากเหมือนที่ดิฉันเคยเป็น เมื่อกลับมาถึงบ้านดิฉันยังคงต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตามที่ท่านพระอาจารย์สอนมา
สำหรับท่านใดสนใจสามารถดูรายละเอียดของทางวัดได้ที่
- เว็บไซต์ http://www.jarun.org/
- Facebook https://th-th.facebook.com/amphwan
7 วันปฏิบัติธรรม วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี (ตอนที่ 1 การเตรียมตัว)
ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ชอบเข้าวัด ปฏิบัติธรรม ชอบทำบุญใส่บาตรพระ ทุกเช้า และถ้ามีวันหยุดติดต่อกันหลายๆ วัน ดิฉันมักจะเข้าวัด ซึ่งวัดที่ดิฉันเข้าเป็นไปปฏิบัติธรรมเป็นประจำคือ วัดอัมพวัน อ. พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี แต่วันนี้ดิฉันไม่ได้พูดถึงการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน แต่จะพูดถึงการเตรียมตัวไปปฏิบัติธรรม สำหรับน้องๆ เพื่อนๆ ที่สนใจที่อยากจะไปปฏิบัติธรรมแต่ไม่รู้ว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไร วันนี้จะแจ้งรายละเอียดที่สำคัญให้ทราบ Continue reading 7 วันปฏิบัติธรรม วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี (ตอนที่ 1 การเตรียมตัว)
9 วิธีใช้หนี้บิดา มารดา
กว่ามนุษย์เราจะเกิดขึ้นมาดูโลกได้เราต้องเป็นหนี้บุญคุณอันยิ่งใหญ่เหลือจะประมาณได้ นั่นคือหนี้บุญคุณของบิดามารดา
9 วิธีใช้หนี้บิดา มารดา
- จงสร้างความดีให้กับตัวเอง ก็ถือเป็นการใช้หนี้ตัวเอง (เพราะพ่อให้หัวใจ แม่ให้น้ำเลือ น้ำเหลืองอยู่ในตัวเราแล้ว) จะไปแสวงหาพ่อ แม่ที่ไหน บางคนรังเกียจแม่ ว่าไม่สวย แก่เฒ่า พอตัวเองแก่ก็เลยถูกลูกหลานรังเกียจ
- ใครที่พ่อ แม่ ล่วงลับไปแล้ว ก็ให้หมั่นทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ท่าน การทำเช่นนี้ถือว่าได้บุญทั้งฝ่ายผู้ให้และผู้รับ
3. ผู้ใดก็ตามที่ พ่อและแม่ ยังมีชีวิตอยู่ ให้กลับไปหาท่าน ไปกราบเท้าขอพรจากท่าน ล้างเท้าให้ท่าน ถือเป็นการขอขมาลาโทษ ท่านจะได้มั่งมีศรีสุข
4. อย่าคิดไม่ดีกับพ่อและแม่เลย แค่คิดว่าพ่อแม่เราไม่ดี จะทำมาหากินอะไรก็ไม่ขึ้น ไม่เจริญก้าวหน้า
5. บางคนลืมพ่อลืมแม่ เถียงพ่อเถียงแม่ ชีวิตจะไม่ก้าวหน้า มีแต่จะก้าวถอยหลัง
6. ลูกหลานโปรดจำไว้ เมื่อแยกครอบครัวไปมีสามีภรรยาแล้ว อย่าลืมไปหาพ่อและแม่ ถึงวันว่างเมื่อไรต้องไปหาท่าน อย่าลืมเอาของไปให้ท่านทาน (อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง) เท่านี้ท่านก็สุขใจแล้ว
7. ชื่อที่พ่อแม่ตั้งให้เป็นมงคลนาม ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน เพราะชื่อเป็นเพียงนามสมมุติแทนตัวเรา
8. อย่าไปทำลายเลย ของที่พ่อแม่ให้ไว้ พ่อแม่ให้อะไรเอาไว้ก่อน ถึงจะเป็นของชิ้นเล็กๆที่พ่อแม่ให้มาก็ก็บไว้เป็นที่ระลึกก็ยังดี อย่าเอาไปทิ้งขว้าง ในวันข้างหน้าสิ่งที่ท่านให้ไว้อาจมีประโยชน์หาไม่ได้ที่ไหนเลย
9. ถ้าต้องการเจริญก้าหน้าให้นึกถึงว่า คนเรามี 2 ก้าว จะก้าวขึ้นหรือก้าวลง ก้าาวลงมันง่ายดี ก้าวขึ้นมันต้องยาก ของชั่วมันมาง่าย หลั่งไปตามที่ต่ำ
ติดตามหาอ่านได้จาก
วิธีใช้หนี้พ่อแม่ – หลวงพ่อ จรัญ (วัดอัมพวัน สิงห์บุรี) สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558. จาก http://pha.narak.com/topic.php?No=21406