Tag Archives: นิทาน

การอ่านหนังสือนิทาน

ตอนเราเป็นเด็กๆ เรามักจะชอบฟังนิทาน ไม่ว่าคุณพ่อ คุณแม่ หรือพี่ๆ หรือผู้ใหญ่ ท่านอื่นเล่าให้ฟัง ก็จะนั่งฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ เรื่องนิทานเป็นของคู่กันกับเด็กหลายทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเด็กชาติไหนๆ ก็ตาม

นิทานมักจะเป็นหนังสือสำหรับเด็กที่มีการพิมพ์อย่างมีสีสรรพ์ ดึงดูดใจ พร้อมเนื้อเรื่องที่จะจูงให้เด็กๆ เข้าไปอยู่ในจินตนาการของเนื้อหา เด็กๆ สมัยโน้น (คำว่า โน้น คงแทนความหมายได้ว่า รุ่นไหน) ก็จะมีนิทานอีสป (แต่เดี๋ยวนี้เห็นมีการนำมาพิมพ์ในรูปแบบใหม่ กระทัดรัด และน่าอ่านกว่าเดิม) ชอบตรงที่ว่า ในตอนลงท้าย นิทานเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า …

เด็กๆ ที่ยังอ่านหนังสือไม่ออก ต้องอาศัยการเล่านิทานจากคุณพ่อ คุณแม่ หรือคุณครู พี่ๆ เป็นหลัก หรือบรรณารักษ์ หรือแม้แต่ร้านขายหนังสือเด็ก วิธีการเล่านิทานหรือการอ่านนิทานให้สนุก ก็ต้องอาศัยเคล็ดลับ เช่น ต้องเล่าให้สนุก  คอยสังเกตความสนใจของเด็กๆ  อาจจะไม่ต้องอ่านจนจบก็ได้ เวลาเล่าหรืออ่าน อาจจะต้องทำเสียงให้คล้อยไปกับตัวละคร หรือใส่เสียง ให้สนุก เป็นต้น ทั้งนี้ ยังมีเทคนิคในการเล่านิทานให้สนุกอีกค่ะ ติดตามอ่านได้ที่  https://www.facebook.com/BBAchiangmai?ref=profile

รายการอ้างอิง:

ภัทริยา เลิศชีวกานต์. การอ่านหนังสือนิทาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2558 จาก https://www.facebook.com/BBAchiangmai?ref=profile

 

มหัศจรรย์นิทานก่อนนอน…

st1

รู้ไหม… ที่จริงเด็กอยากฟังนิทานมากกว่าดูโทรทัศน์
รู้ไหม… นิทานก่อนนอนทำให้เด็ก “หลับสนิท”
รู้ไหม… เด็กช่วง 3-4 ขวบเป็นช่วงที่กระหายอยากฟังนิทานก่อนนอนจากพ่อแม่มากที่สุด
รู้ไหม… ถ้าได้คุยกันหลังฟังนิทานด้วย เด็กจะมีพัฒนาการทางภาษาเร็วขึ้นถึง 6 เท่า

Continue reading มหัศจรรย์นิทานก่อนนอน…

ห้องสมุดตามบ้าน (Home library)

พระราชนิพนธ์ เรื่อง โรมัญสัญจร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงขึ้นเมื่อครั้งเสด็จเยือนประเทศอิตาลีระหว่างวันที่ 3-16 เมษายน พ.ศ. 2531 เพื่อทรงร่วมเป็นกรรมการตัดสินหนังสือเด็กของ International Board on Books for Young People (IBBY) ณ เมืองโบโลญญา ด้วยความสนพระทัยในการส่งเสริมการอ่านและห้องสมุดเด็ก พระองค์ได้มีพระราชดำรัสถามคุณเพลลูสกี้ (Ms. Anne Pellewski) ผู้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินฯ ชาวอเมริกัน ให้อธิบายเรื่อง Home library หรือห้องสมุดตามบ้าน ซึ่งคุณเพลลูสกี้ไปจัด workshop ที่ไนจีเรีย ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี พระองค์ทรงบันทึก ดังนี้ [1]

“ระบบห้องสมุดแบบนี้ คือ การหัดให้ชาวบ้าน (ส่วนใหญ่เป็นพวกแม่บ้าน) ให้รู้จักเล่านิทาน เขาจัดเป็น workshop ประมาณ 5-7 วัน บรรยากาศไม่ให้เคร่งเครียดนักเป็นการคุยกันเล่น ไม่ต้องมีพิธีรีตองอะไร เขามีวิธีการ คือ ชาวบ้านจะรวบรวมหนังสือส่วนตัวหรือหนังสือที่มีผู้บริจาค หรืออาจจะยืมจากห้องสมุด แล้วป่าวประกาศให้คนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆ มาอ่านหนังสือกัน ผู้ที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์จะต้องมีเทคนิคในการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เล่าเรื่องให้เด็กสนใจอยากฟังและอยากอ่านต่อเอง เขาแนะนำให้ทำหนังสือขึ้นมาเอง โดยการนำเรื่องที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นมาเขียนบันทึกไว้” Continue reading ห้องสมุดตามบ้าน (Home library)