Tag Archives: แนวปฏิบัติ

การประชุมเชิงปฏิบัติการ “วิธีการออกแบบห้องสมุดดิจิทัล : สิ่งที่ (อาจ) ไม่ได้เรียนจากโรงเรียนบรรณารักษศาสตร์”

DSC_0411

เมื่อวันศุกร์ที่ 23 มกราคม 2558 เวลา 13.00-15.00 น. สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับภาควิชาบรรณารักษศาตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “วิธีการออกแบบห้องสมุดดิจิทัล : สิ่งที่ (อาจ) ไม่ได้เรียนจากโรงเรียนบรรณารักษศาสตร์” มีการบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยวิทยากรคือคุณ Emil Levina ที่ปรึกษาด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ สมาคมวิชาชีพสารสนเทศศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสหรัฐอเมริกา

DSC_0410

ในการบรรยายมีการพูดถึงวิธีการและขั้นตอนต่างๆในการบริหารงานห้องสมุด โดยจะขอเล่าประเด็นที่น่าสนใจสั้นๆดังนี้

  • วิธีคิดในเรื่องการจัดหาทรัพยากรและวัสดุโดยการสอบถามสัมภาษณ์จากกลุ่มผู้มีความรู้หรือจากกลุ่มผู้ใช้ในองค์กร
    เมื่อมีการจัดซื้อจัดหาวัสดุหรือทรัพยากรที่จะนำมาให้บริการ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ห้องสมุดควรที่จะปรึกษาหรือสัมภาษณ์หน่วยงานภายในองค์กรเดียวกันที่จะสามารถให้ข้อมูลที่จำเป็น
    “จงมองว่าเจ้าหน้าที่ในองค์กรเป็นส่วนประกอบของทีมวิเคราะห์ทรัพยากรที่จำเป็น”
  • การนำเอานวัตกรรมต่างๆมาใช้ในการพัฒนาต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น
    • การจัดหาทั้งหมดต้องมาจากความต้องการของผู้ใช้แทนที่จะเป็นการจัดหาโดยบรรณารักษ์
    • ห้องอ่านหนังสือควรเปิดบริการ 24 ชั่วโมง โดยการใช้กล้องวงจรปิดราคาถูก แทนการใช้เจ้าหน้าที่

หลักเกณฑ์การลงรายการเมทาดาทาสิ่งพิมพ์ประเภท ดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ หรือการค้นคว้าอิสระ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดทำหลักเกณฑ์การลงรายการเมทาดาทาสิ่งพิมพ์ประเภท ดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ หรือการค้นคว้าอิสระ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขึ้นเพื่อใช้เป็นคู่มือในการลงรายการเมทาดาทาสำหรับเอกสารประเภทดังกล่าว โดยกำหนดการลงตามมาตรฐานดับลินคอร์ (Dublin Core) รวมทั้งกำหนดการลงรายการเมทาดาทาในไฟล์ วิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยเช่นกัน

รายละเอียดของหลักเกณฑ์การลงเมทาดาทาฯ

เลขหมู่ระบบใหม่ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปรับกระบวนการทำงานในการกำหนดเลขหมู่หนังสือเพื่อให้สามารถทำตัวเล่ม ออกให้บริการโดยเร็ว และเพื่อสะดวกในการเข้าถึงหนังสือ รวมทั้งเพื่อง่ายต่อผู้ปฏิบัติงานในการจัดเรียงหนังสือบนชั้น โดยจำแนกหมวดหมู่ตามสาขาวิชาของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ทั้งสาขาวิชาหลัก และสาขาวิชาย่อย 61 สาขาวิชา เลขหมู่ระบบใหม่จะประกอบด้วย อักษรย่อสาขาวิชา อักษรหมวดในสาขาวิชา ปีพิมพ์ และหมายเลขระเบียนของทรัพยากรสารสนเทศ (คือ หมายเลขระเบียนบรรณานุกรมหรือ Bib No.)

ตัวอย่าง

EDU  หมายถึง  สาขาวิชาหลัก

LA      หมายถึง  สาขาวิชาย่อ History of Education

2014  หมายถึง  ปีพิมพ์

699999  หมายถึง  Bib.No.

รายละเอียดการกำหนดเลขหมู่ใหม่

แนวปฏิบัติ เรื่่อง การกำหนดหัวเรื่องและเลขหมู่ทางการแพทย์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แนวปฏิบัติ เรื่่อง การกำหนดหัวเรื่องและเลขหมู่ทางการแพทย์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วยแนวปฏิบัติเรื่องการกำหนดหัวเรื่อง การกำหนดหัวเรื่องภาษาไทย การกำหนดเลขหมู่ เขตข้อมูลที่ใช้ลงรายการทางบรรณานุกรมแก่ทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และการแพทย์  เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้ปฏิบัติงานในงานจัดการข้อมูลให้มีความเข้าใจและมีแนวปฏิบัติในการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน

เนื้อหาของแนวปฏิบัติ