Tag Archives: การอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศ

จากวันวาน …สู่วันนี้ ของโสรัตน์ กาลออง

Guru (1)

สืบเนื่องจาก กิจกรรม เรื่องเล่าจาก … Guru สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา  คุณโสรัตน์ กาลออง  เจ้าหน้าที่ห้องสมุด สังกัดฝ่ายสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ 1 ใน Guru ที่มาเล่าเรื่องชีวิตการทำงาน ตั้งแต่แรกเริ่มที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ความภาคภูมิใจในการทำงาน รวมทั้งข้อคิดที่ฝากให้กับน้องๆ

คุณโสรัตน์ กาลออง เล่าถึงการทำงานที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า เริ่มต้นทำงานที่สำนักหอสมุด มธ.ตั้งแต่ปี 2528 ถือเป็นที่ทำงานแห่งแรกและแห่งเดียวหลังจากที่เปลี่ยนชีวิตมาเป็นฆราวาส เพราะก่อนหน้านี้บวชเป็นพระภิกษุมาตลอด Continue reading จากวันวาน …สู่วันนี้ ของโสรัตน์ กาลออง

ดิจิทัลคอลเล็คชั่นของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำนักหอสมุดเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นพร้อมการก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ในปี พ.ศ. 2477 ด้วยระยะเวลาการก่อตั้งที่ยาวนาน ทำให้สำนักหอสมุดได้สั่งสมทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่าในด้านเนื้อหาและการจัดพิมพ์เป็นจำนวนมาก

ด้วยการตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของทรัพยากรสารสนเทศ ความต้องการอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศให้คงอยู่ได้ด้วยรูปแบบการจัดเก็บและการนำเสนอที่แตกต่างออกไปโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาจัดการ การตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศโดยปราศจากข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ การส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำนักหอสมุดจึงมีมุ่งมั่นที่จะพัฒนาดิจิทัลคอลเล็คชั่นให้เข้มแข็ง เพื่อเป็นแหล่งจัดเก็บและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำนักหอสมุดเริ่มต้นพัฒนาดิจิทัลคอลเล็คชั่นด้วยการแปลงรูปทรัพยากรสิ่งพิมพ์เป็นรูปดิจิทัลในปี พ.ศ. 2544 โดยหนังสือหายากเป็นทรัพยากรสารสนเทศประเภทแรกที่ได้รับการพิจารณานำมาจัดทำ เนื่องจากเป็นสิ่งพิมพ์ที่ทรงคุณค่าด้านเนื้อหาและด้านการพิมพ์ ไม่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามท้องตลาดหรืออาจไม่มีในห้องสมุดอื่นๆ โดยมุ่งเน้นการทำสำเนาทรัพยากรในรูปดิจิทัลเพื่อให้เนื้อหายังคงอยู่ สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาค้นคว้าได้สืบไป ต่อมาสำนักหอสมุดมีการพัฒนาดิจิทัลคอลเล็คชั่นอย่างต่อเนื่อง โดยมีแนวทางในการพิจารณาทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์เพื่อนำมาแปลงรูปเป็นดิจัล 4 ประเด็นคือ คุณค่าของทรัพยากรสารสนเทศ ลักษณะทางกายภาพ คุณภาพของทรัพยากรสารสนเทศ และเรื่องของลิขสิทธิ์

ปัจจุบันสำนักหอสมุดจัดเก็บดิจิทัลคอลเล็คชั่นในระบบ CONTENTdm ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศที่สามารถรองรับการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลได้หลายรูปแบบ ได้แก่ ไฟล์ในรูปแบบ Microsoft office, .pdf, MP4, Image, Video เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นการทำงานที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบสืบค้นแบบบูรณาการ (Integrated search) ที่สำนักหอสมุดจัดหามาใช้งาน ได้แก่ ระบบ One Search ของบริษัท Ebscohost และระบบ WorldCat Local ของ OCLC ซึ่งช่วยให้ข้อมูลที่จัดเก็บในระบบ CONTENTdm สามารถสืบค้นผ่านระบบดังกล่าวได้แบบอัตโนมัติ ทำให้ข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลได้รับการเผยแพร่อย่างรวดเร็ว โดยบุคคลทั่วไปสามารถเข้าใช้บริการดิจิทัลคอลเล็คชั่นของสำนักหอสมุดโดยตรงได้ที่เว็บไซต์ http://beyond.library.tu.ac.th

Continue reading ดิจิทัลคอลเล็คชั่นของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คู่มือการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากรสารสนเทศที่มีค่าหายาก

คู่มือการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากรสารสนเทศที่มีค่าหายาก  โดย โสรัตน์ กาลออง ได้รวบรวมข้อมูลในด้านการป้องกันและวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศที่มีค่าหายาก และจัดทำเป็นคู่มือ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่า เนื้อหาประกอบด้วย ลักษณะของหนังสือหายาก ทำไมต้องอนุรักษ์หนังสือหายาก วัสดุอุปกรณ์ในการอนุรักษ์ การใช้ทำตัวทำละลายขจัดรอยเปื้อนบนเอกสาร การทำความสะอาด การลดกรด การซ่อมแซมเล็กน้อย การกำจัดแมลงในทรัพยากรสารสนเทศ การตรวจสอบอุณหภูมิและความชื้น การทำกล่องและซองเพื่อการเก็บรักษาเอกสารและหนังสือ

คู่มือการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากรสารสนเทศที่มีค่าหายาก