Tag Archives: แนวปฏิบัติที่ดี

ถอด…ความรู้จากภูมิปัญญา ครู/ศิลปิน/ปราชญ์พื้นถิ่นเพื่อการเรียนรู้และแบ่งปัน

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน 2558 บุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ รองผู้อำนวยการสายบริหารและพัฒนา และนางสาวนพวรรณ วัฒนะนนท์ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาห้องสมุด เข้าร่วมการสัมมนาโครงการการจัดการความรู้ (Knowledge Management) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ “ดี” ในการจัดการความรู้ของคณะ/หน่วยงาน/ส่วนกลาง มธ. ปีการศึกษา 2556 ณ ห้องประชุมแพทย์โดม 2 อาคารคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

วิทยากรภายนอกที่ได้ร้บเชิญมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “ถอด…ความรู้จากภูมิปัญญา ครู/ศิลปิน/ปราชญ์พื้นถิ่นเพื่อการเรียนรู้และแบ่งปัน” คือ อาจารย์วัลลภ ทองอ่อน จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร ซึ่งเป็นการแบ่งปันประสบการณ์ภาคสนาม ที่อาจารย์ได้ลงพื้นที่ในการนำศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เพื่อหาพื้นที่ๆ เหมาะสมในการปลูกพืช และต่อมามีการขยายขอบเขตมาในเรื่องการจัดการทรัพยากร/อุบัติภัย

ประสบการณ์แรกที่อาจารย์วัลลภ นำมาเล่าสู่กันฟัง คือ ความรู้การทำนาเหมืองฝาย ที่หมู่บ้านหนองปิ้งไก่ นาบ่อคำ กำแพงเพชร ของลุงแปง วงค์ตา เนื่องจากชุมชนในพื้นที่นี้ อพยพมาจากลำปาง จึงมีความรู้ในการทำนาเหมืองฝายในพื้นที่เชิงเขา ทำนาเหมืองฝายได้ปีละ 2 ครั้ง หรือ 3 ครั้ง ในการถอดความรู้การทำนาเหมืองฝาย จากชุมชน นั้น เริ่มจาก

  1. การเตรียม ตัวเรา เตรียมตัวคนที่จะไปขอความรู้
  2. เครื่องมือ “เรื่องเล่าของลุงแปง”
  3. พลังคำถาม เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะต้องตั้งคำถาม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ เช่น คืออะไร เป็นอย่างไร ทำไมต้องเป็นเช่นนั้น
    เมื่อได้รับเรื่องราวที่ถ่ายทอดจากลุงแปง ซึ่งเป็นความรู้ชุมชนแล้ว นำมาผนวกกับความรู้ทางสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อจะได้เป็นความรู้ใหม่ส่งต่อให้ชุมชนต่อไป

Continue reading ถอด…ความรู้จากภูมิปัญญา ครู/ศิลปิน/ปราชญ์พื้นถิ่นเพื่อการเรียนรู้และแบ่งปัน

Knowledge Sharing ครั้งที่ 2 แนวปฏิบัติที่ดีของกระบวนการจัดหาฐานข้อมูลออนไลน์และเครื่องมือสนับสนุนการบริการและการปฏิบัติงาน

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2557  เวลา 9.00-12.00  น. บุคลากรของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดหาฐานข้อมูลออนไลน์และเครื่องมือสนับสนุนการบริการและการปฏิบัติงาน (ตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อ จนถึงการตรวจรับ) ปีงบประมาณ 2558 ได้ร่วมหารือเพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีในกระบวนการดังกล่าว

เนื่องจากการบอกรับฐานข้อมูลและวารสาร เป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องและทุกปี แต่การบริหารงบประมาณ ในแต่ละไตรมาสนั้น ไม่สอดคล้องกัน โดยเฉพาะในไตรมาสแรก   จึงได้มีการพิจารณาถึงการบริหารการใช้จ่ายงบประมาณเรื่องดังกล่าว  และมีการทบทวนกระบวนการต่างๆ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในแต่ละกระบวนมีความเข้าใจในการปฏิบัติที่ตรงกันและเกิดเป็นแนวปฏิบัติงานที่ดีของการจัดหาฐานข้อมูลออนไลน์และเครื่องมือสนับสนุนการบริการและการปฏิบัติงานขึ้น โดยผู้ที่เกี่ยวข้องในแต่ละส่วนงานตั้งแต่ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ งานพัสดุ งานการเงิน และผู้ที่ต้องตรวจรับฐานข้อมูลได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ซึ่งจะสามารถจัดทำเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีในเรื่องดังกล่าวต่อไป