All posts by นางสาวพิณทิมา เลิศสมบูรณ์

ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาอิศรพงศ์พิพัฒน

 

Page_01

     ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาอิศรพงศ์พิพัฒน

หนังสือที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาอิศรพงศ์พิพัฒน์ (ม.ล. สิริ อิศรเสนา)     ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒  เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพอีกเล่มหนึ่งที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ โดยเริ่มจากชีวประวัติของผู้วายชนม์  ส่วนของเนื้อหาซึ่งเขียนโดยนายนัดดา อิศรเสนา ณ อยุธยา ผู้เป็นบุตร ซึ่งกล่าวไว้ในคำปรารภ ว่า “ความรู้ในการเขียนเรื่องเหล่านี้  ข้าพเจ้าสามารถกล่าวได้ว่า ได้มาจากคุณพ่อของข้าพเจ้าไม่น้อยเพราะคุณพ่อเป็นคนช่างจำช่างเล่า”   ปกและภาพประกอบภายในเล่มเป็นฝีมือของอาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๓

หน้าปกสีชมพูกลีบบัวเป็นรูปตราพัด-เย็น ประจำตัวเจ้าพระยา       วรพงศ์พิพัฒน์ –บิดา และรูปดอกบุนนาค สัญลักษณ์ของสกุลบุนนาค –มารดา   พระยาอิศรพงศ์พิพัฒน์ เป็นหนึ่งในสามพระยาท่านสุดท้ายแห่งสยาม ซึ่งประกอบด้วย พระยาอิศรพงศ์พิพัฒน์  พระยารัตนพิมพา (ม.ร.ว. สวัสดิ์ อิศรางกูร) และพระยาพหลพลพยุหเสนา(พจน์ พหลโยธิน) Continue reading ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาอิศรพงศ์พิพัฒน

กาพย์เห่เรือ พุทธประทีปบูชา พยุหยาตรา ทางชลมารค


กาพย์เห่เรือ พุทธประทีปบูชา พยุหยาตราทางชลมารค   เป็นหนังสือที่พิมพ์แจกในงานฌาปณกิจศพ นายกมุท กมลนาวิน ณ ฌาปณสถาน กองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๓

กาพย์เห่เรือ พุทธประทีปบูชา พยุหยาตราทางชลมารค นี้เป็นคำประพันธ์    ของนายฉันท์ ขำวิไล ประพันธ์ ขึ้นในวาระฉลอง 25 พุทธศตวรรษ   ในการจัดขบวน   พยุหยาตราชลมารค เมื่อวันที่ ๑๔ พษภาคม ๒๕๐๐ ตรงกับวันเพ็ญเดือน ๖  ซึ่งนับ เป็นขบวนเหเรือพยุหยาตราทางชลมารค ครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน Continue reading กาพย์เห่เรือ พุทธประทีปบูชา พยุหยาตรา ทางชลมารค

หนังสือ “ยาขอบอนุสรณ์”

       หน้าปก “ยาขอบอนุสรณ์”

ในการพิมพ์ครั้งแรก และ ครั้งที่ ๒ และครั้งที่ ๓

spd_2013050313516_b                                       

spd_20130515225950_b

 

spd_20120524213742_b

กล่าวกันว่าหนังสืออนุสรณ์งานศพจะเป็นหนังสือที่พิมพ์ขึ้นเพียงครั้งเดียว  แต่ไม่ใช่สำหรับ ยาขอบ หรือโชติ แพร่พันธุ นักเขียนผู้มีชีวิตที่ไม่ธรรมดา ผู้ได้รับการขนานนามว่า “ผู้ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน”  ผู้ที่สามารถเขียนอมตะนิยายรักอิงประวัติศาสตร์  “ผู้ชนะสิบทิศ”  ได้ ๘ เล่ม จากเรื่องราวในพงศาวดารเพียง ๘ บรรทัด Continue reading หนังสือ “ยาขอบอนุสรณ์”

ชั่วชีวิตหนึ่ง ก.สุรางคนางค์

spd_20130710223450_b

ชั่วชีวิตหนึ่ง ก.สุรางคนางค์  เป็นหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ เป็นกรณีพิเศษ นางกัณหา (บูรณปกรณ์) เคียงศิริ  ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปีพ.ศ. ๒๕๒๙    โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชทานเพลิงศพ ณ ฌาปนสถานวัดธาตุทอง วันพุธที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๒

Continue reading ชั่วชีวิตหนึ่ง ก.สุรางคนางค์

คิดถึง “ชาวกรุง”

หากย้อนเวลากลับไปประมาณ 48 ปีที่แล้ว เป็นช่วงเวลาที่ฉันได้รู้จักกับ  “ชาวกรุง” ฉันจะมีความสุขที่สุดและอยู่นิ่ง ๆได้นานๆ หากได้อยู่กับเขา แต่ด้วยความที่พ่อของฉันค่อนข้างหวงและห่วงมากหรือเกรงในความไม่เรียบร้อยของฉันก็หาทราบได้ไม่ พ่อมักจะเก็บ”ชาวกรุง”ไว้บนหลังตู้เสื้อผ้าใบใหญ่เสมอ

Continue reading คิดถึง “ชาวกรุง”

ของสะสมชิ้นแรก

     ย้อนหลังไปถึงปี 2514  เมื่อครั้งยังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมต้น เป็นครั้งแรกที่ฉันเห็นภาพเขียนของศิลปินที่มีชื่อว่า จักรพันธุ์  โปษยกฤต*  เป็นภาพเขียนจากปฏิทินของสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช ในความรู้สึกเด็กหญิงในขณะนั้นมันเป็นภาพที่สวยงามอ่อนหวานมากเกินบรรยาย  ภาพทุกภาพสวยเหมือนมีชีวิตทำให้หลงรักภาพเหล่านั้นจนไม่อาจถอนตัวได้เลย ดังนั้นจากวันนั้นเป็นต้นมา หากพบเห็นภาพเขียนของอาจารย์จักรพันธุ์ ที่ไหน  ในรูปลักษณ์ใดๆไม่ว่าจะ  ภาพประกอบในหนังสือ วารสาร บัตรอวยพร  บันทึกไดอารี่  โปสเตอร์ ดวงตราไปรษณีย์ยากร หรือแม้ภาพจากสังคมออนไลน์ ก็จะพยายามเก็บสะสมภาพเขียนของอาจารย์  จักรพันธุ์  โปษยกฤต มาตลอดจวบจนปัจจุบัน
     ปฏิทินของสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช ในปี พ.ศ.๒๕๑๔ จะเป็นปฏิทินแบบแขวน ภาพชุดอิเหนา มี  ๖  ภาพ
hobbit_1_crop
พักตร์น้องนวลละอองปลั่งเปล่ง   ดังดวงจันทร์วันเพ็ญประไพศรี

Continue reading ของสะสมชิ้นแรก

ห้องสมุดกลางมหาวิทยาลัยนิวเดลลี

เป็นการเล่าจากความทรงจำของผู้เขียน  เนื่องจากในเดือนตุลาคม ปี 2009 ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปร่วมการประชุม International Conference on Academic libraries TCAL 2009  ในเดือนตุลาคม และการเดินทางครั้งนั้นเกิดขึ้นได้ด้วยความกรุณาของท่านอาจารย์ชุติมา สัจจานันท์ ที่กรุณาชักชวนรวมถึงให้พักร่วมกับอาจารย์ ซึ่งผู้เขียนยังระลึกถึงในความกรุณาของท่านอาจารย์อยู่เสมอ

นอกจากเข้าร่วมการประชุมแล้วผู้เขียนยังได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมห้องสมุดอีกหลายแห่ง และหนึ่งในนั้นคือห้องสมุดกลางมหาวิทยาลัยนิวเดลลี ที่ทำให้ตัวผู้เขียนรู้สึกถึงความพอเพียงเรียบง่าย

1
ผู้เขียนหน้าป้ายต้อนรับการประชุม

Continue reading ห้องสมุดกลางมหาวิทยาลัยนิวเดลลี