วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 10.00-12.00 น.
Category Archives: ศึกษาดูงาน
His Excellentcy Dr. Sohail Khan เอกอัครราชทูตปากีสถานประจำประเทศไทย และคณะ เยี่ยมชมมุมปากีสถาน หอสมุดปรีดี พนมยงค์
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 12.00-12.30 น.
His Excellentcy Dr. Sohail Khan เอกอัครราชทูตปากีสถานประจำประเทศไทย และคณะ จำนวน 3 คน เข้าเยี่ยมชม Pakistan Corner และหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ผู้บริหาร และอาจารย์ จาก Nigata University, Japan เข้าเยี่ยมชมหอสมุดปรีดี พนมยงค์
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 11.15-12.00 น.
ผู้บริหาร และอาจารย์ จาก , Japan จำนวน 2 คน เข้าเยี่ยมชมหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
Continue reading ผู้บริหาร และอาจารย์ จาก Nigata University, Japan เข้าเยี่ยมชมหอสมุดปรีดี พนมยงค์
คณะอาจารย์ นักศึกษา และเจ้าหน้าที่จาก Department of International Studies, Institute of Foreign Languages , Royal University of Phnom Penh (RUPP), Cambodia เข้าเยี่ยมชมหอสมุดปรีดี พนมยงค์
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13.15-14.15 น.
คณะอาจารย์ นักศึกษา และเจ้าหน้าที่จาก Department of International Studies, Institute of Foreign Languages , Royal University of Phnom Penh (RUPP), Cambodia จำนวน 72 คน เข้าเยี่ยมชมหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
Dr. Shri Ram, Deputy Librarian, Thapar University, India เข้าเยี่ยมชมหอสมุดปรีดี พนมยงค์
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 9.30-10.00 น.
เรื่องเล่าจากฮ่องกง
เมื่อวันที่ 21-23 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสได้เข้าร่วมโครงการ “IET Publishing – Inspec database training session and visits to HK academic libraries” ซึ่งเป็นโครงการที่จัดขึ้นเพื่อให้บรรณารักษ์จากห้องสมุดที่บอกรับฐานข้อมูล ได้ไปฝึกอบรมฐานข้อมูล Inspec Direct ที่สำนักงาน IET เขตปกครองพิเศษฮ่องกง พร้อมกันนี้ได้มีโอกาสเยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์รวมถึงการทำงานของห้องสมุด 2 แห่ง คือ Hong Kong Polytechnic university library และ Hong Kong University of Science & Technology library ซึ่งหลังจากที่ได้พูดคุยกันแล้ว รูปแบบและนโยบายการดำเนินงานบางอย่างก็เหมือนกับของสำนักหอสมุด มธ. แต่บางอย่างก็แตกต่างออกไป จึงอยากจะนำมาแบ่งปันต่อให้กับชาวสำนักฯ ดังนี้ค่ะ
ด้านการพัฒนาทรัพยากร
นโยบายการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่ HKUST จะจัดหาเพียง 1 ฉบับต่อหนึ่งชื่อเรื่อง กรณีรายวิชาที่มีผู้ลงทะเบียน 40 คนขึ้นไป จะเพิ่มเป็น 2 ฉบับ และสามารถจัดหาได้สูงสุด 6 ฉบับต่อ 1 ชื่อเรื่อง กรณีชั้นเรียนมีขนาดใหญ่ถึง 500 คน ส่วน Hong Kong Polytechnic มีแนวโน้มที่จะบอกรับในรูปแบบ e-Books เนื่องจากการใช้งานที่สะดวก สามารถเข้าถึงได้หลายคนพร้อมกัน รวมทั้งแก้ปัญหาชั้นเก็บหนังสือไม่เพียงพอด้วย
ส่วนการบอกรับวารสารและฐานข้อมูลออนไลน์ ค่อนข้างจะเป็นปัญหากับห้องสมุดทั้งสองแห่ง เนื่องจากงบประมาณที่ได้รับมีจำนวนจำกัด และไม่ได้รับงบประมาณเพิ่มเติมจากแต่ละคณะที่เปิดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย หากคณะต้องการให้บอกรับวารสารชื่อใหม่ๆ ห้องสมุดก็จำเป็นต้องยกเลิกชื่อเก่าไป
ด้านสนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัย
Hong Kong Polytechnic มีส่วนงาน Research Support ด้วย ซึ่ง เป็นส่วนงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ เริ่มดำเนินการได้ประมาณ 6 เดือน ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพัฒนาฐานข้อมูลนักวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยการจัดเก็บข้อมูล Scopus ID, ORCID ID และ Researcher ID เข้าไว้ในระบบ
ส่วนที่ HKUST ทุกๆ การเปิดภาคการศึกษาใหม่ จะมีการจัด Event แนะนำฐานข้อมูลออนไลน์ โดยเชิญตัวแทนจากแต่ละบริษัทมาแนะนำฐานข้อมูลให้กับนักศึกษา อาจารย์และบุคลากรได้ทราบ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมร่วมตอบคำถามชิงรางวัล (ตัวแทนเป็นผู้สนับสนุนรางวัล เช่น iPad ) วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมนี้คือ ต้องการให้ผู้ใช้ได้รู้จักกับฐานข้อมูลที่ห้องสมุดบอกรับว่ามีอะไรบ้าง เนื้อหาครอบคลุมสาขาวิชาใด อย่างน้อยๆ เมื่อเวลาที่นักศึกษาต้องการค้นข้อมูล จะได้นึกถึงและสืบค้นจากฐานข้อมูลเหล่านี้แทนที่จะไปหาจากแหล่งอินเทอร์เน็ตทั่วๆ ไป
ด้านการเข้าถึงทรัพยากรนอกเครือข่าย
HKUST ใช้ EZProxy ในการเข้าถึงข้อมูลจากนอกเครือข่าย ส่วน Hong Kong Polytechnic ใช้ VPN
ด้าน Learning spaces
ทั้งสองห้องสมุดเปิดพื้นที่ให้นักศึกษาได้อ่านหนังสือกันตลอด 24 ชั่วโมง โดยเป็นการเปิดเฉพาะโซน ไม่ได้เป็นการเปิดพื้นที่ทั้งหมดของห้องสมุด นักศึกษาจะต้องใช้บัตรห้องสมุด (บัตรนักศึกษา) ในการเข้า-ออก ส่วนการดูแลความเรียบร้อยจะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานรักษาความปลอดภัยของมหาวิทยาลัย
KYOTO UNIVERSITY : Main Library
CSEAS Library : ห้องสมุดศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
จากการเข้าร่วมโครงการ “Sakura Exchange Program in Science : Japan-Asia Youth Exchange Program in Science” ได้มีโอกาสเยี่ยมชมห้องสมุดศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา หรือ Center for Southeast Asian Studies Kyoto University ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดให้มีโครงการนี้ขึ้นมา นับได้ว่าเป็นห้องสมุดเฉพาะที่มีความน่าสนใจมากค่ะ รายละเอียดมีดังนี้
Continue reading CSEAS Library : ห้องสมุดศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
Institute of Developing Economies, Library: IDE
การศึกษาดูงาน Institute of Developing Economies, Library : IDE เป็นกิจกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Japan-Asia Youth Exchange Program in Science
ห้องสมุด IDE เป็นห้องสมุดเฉพาะ เก็บรวบรวมหนังสือที่จะช่วยให้การวิจัย การจัดการ เศรษฐกิจ การเมืองและปัญหาสังคมของประเทศกำลังพัฒนาและภูมิภาคในเอเชีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และประเทศในคาบสมุทรแปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นในปี 1958 ปัจจุบันห้องสมุด IDEมีหนังสือมากกว่า 450,000 รายการ มีข้อมูลสถิติ มากกว่า 100,000 รายการ นอกจากนี้ยังมีหนังสือพิมพ์วารสารเย็บเล่ม แผนที่ ไมโครฟิล์ม ไมโครฟิช และซีดีรอม ให้บริการด้วย
จำนวนหนังสือที่เกี่ยวกับประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มี 61,000 เล่ม เอกสารเกี่ยวกับสถิติ 24,000 เล่ม วารสาร 151 เล่ม หนังสือพิมพ์ 22 ชื่อ ซึ่งมีทั้งที่พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส และภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอินโดนีเซีย ภาษามาเลย์ ภาษาพม่า ภาษาเวียดนาม ภาษาลาว เป็นต้น Continue reading Institute of Developing Economies, Library: IDE
Historical Material Preservation Kojima Hall, Library of Economics, University of Tokyo
ฟังบรรยายเรื่อง Historical Material Preservation โดย คุณ Kojima Hiroyuki, the Resources and Historical Collections Office, The University of Tokyo เป็นกิจกรรมหนึ่งของ โครงการ Japan-Asia Youth Exchange Program in Science
เนื่องจากห้องสมุดมีเอกสารเก่าและหนังสือเยอะมากจึงต้องแยกเอกสารที่ไม่ค่อยได้ใช้งานออกมาเก็บต่างหาก เพราะถ้าเก็บไว้นานอาจเกิดความเสียหายได้จากการหักงอ หรือถูกวางทับกัน จึงเป็นภารกิจสำคัญของห้องสมุดที่จะทำหน้าที่ในการเก็บรักษาสมบัติของชาติเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา
IFLA มีมาตรฐานในการเก็บรักษาหนังสือเริ่มจากปี 1979 ระเบียบการเก็บรักษาหนังสือเก่าจะระบุคำว่า Conservationกับ Restoration
ปี 1986ระเบียบจะเปลี่ยนไปใช้คำว่า Principles for the Preservation and Conservation of library materials
ปี 1998 เป็นต้นไป ระเบียบจะเปลี่ยนจาก เสียก็ซ่อม เป็น ทำยังไงไม่ให้มันเสีย คนที่ทำหน้าที่นี้คือ Conservator ทำหน้าที่ Conservation Continue reading Historical Material Preservation Kojima Hall, Library of Economics, University of Tokyo