Category Archives: โดมทัศน์

ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย The Australian National University Library

ผู้เขียน (คุณสุมนา วัสสระ และ คุณจันทนา มากมิตร)                                 ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมและดูงาน ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย The Australian National University Library ได้รับความรู้ต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่ข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย    โครงสร้างการบริหารห้องสมุดของมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย      หรือในด้านการบริการของห้องสมุด ที่มีความรู้และเป็นประโยชน์แก่การพัฒนางานเป็นอย่างดีสามารถ  ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง
สุมมนา วัสสระ และ จันทนา มากมิตร. 2552. วารสารโดมทัศน์ ปีที 30 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน) : 22-36.

หอสมุดแห่งชาติประเทศออสเตรเลีย (National Library of Australia)

ผู้เขียน (นางสาวพูลสุข ปริวัตรวรวุฒิ)ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมดูงานที่หอสมุดแห่งชาติประเทศออสเตรเลีย ซึ่งได้รับความรู้ต่าง ๆ มากมายตั้งแต่ความเป็นมาของหอสมุดแห่งชาติประเทศออสเตรเลีย การบริหารจัดการ และการให้บริการต่าง ๆ ของหอสมุดที่น่าสนใจเช่น การเข้าถึงสารสนเทศประเภทต่างๆ ทางออนไลน์ หรือการให้บริการสำหรับผู้ใช้นอกสถานที่ ซึ่งเป็นบริการที่มีประโยชน์และน่าสนใจ และยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่น่าสนใจเป็นพิเศษในหอสมุดแห่งชาติประเทศออสเตรเลีย

ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง
พูลสุข ปริวัตรวรวุฒิ.  หอสมุดแห่งชาติประเทศออสเตรเลีย (National Library of Australia). โดมทัศน์ 30,1 (มกราคม-มิถุนายน 2552)

ดิวอี้ เหมียวสมุด

คุณชูมานได้เล่าถึง ดิวอี้ แมวเหมืยวที่อยู่ในห้องสมุดได้อย่างน่ารักและน่าติดตามว่าแมวเหมียวทำไมถึงมาอยู่ในห้องสมุดได้อย่างไร
ห้องสมุดกับสัตว์เลี้ยง? ฟังแล้วน่าสยองพอๆ กับห้องสมุดมีไอติมโคนให้กินไปอ่านไป แต่ในห้องสมุดต่างประเทศ โดยเฉพาะในยุโรปและอเมริกามักมีแมว ประจำห้องสมุดเพื่อไว้กำจัดหนู นั่นคงเป็นสมัยโบราณก่อนการค้นพบสารหนู
ปัจจุบันมีแมวห้องสมุดอยู่ทั่วโลก พวกมันไม่ต้องทำงานหนักอะไรไปกว่าทำตัวน่ารักและไม่ลับเล็บกับสันหนังสือหรือเบาะเก้าอี้ นอกจากนี้ยังห้ามข่วนกัดพวกเด็กๆ ที่เล่นกับมันแรงๆ เป็นอันขาด หาเรื่องราวของเหมียวห้อง
สมุดเหล่านี้ได้ที่ http://www.ironfrog.com/catsmap.html
ดิวอี้ ก็เป็นอีกหนึ่งเหมียวห้องสมุด แต่เป็นเหมียวที่มีชื่อเสียง
ไปทั้งโลก ออกรายการโทรทัศน์ วิทยุมาแล้วมากมาย และมีรูปขึ้น
ปกนิตยสารสัตว์เลี้ยงมาแล้ว ขณะนี้ดิวอี้อยู่ตามชั้นหนังสือของร้าน
ขายหนังสือและในหน้าเว็บของ Amazon.com เป็นแมวสีส้มขนฟู
ดิวอี้ เหมียวสมุด

ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

ชูมาน ถิระกิจ. ดิวอี้ เหมียวสมุด. โดมทัศน์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2552)

การพัฒนาห้องสมุดมนุษย์ (Human Library) และเครือข่ายห้องสมุดมนุษย์ในประเทศไทย (Thailand Human Library Network):จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ

ผู้เขียน (ผศ.ดร.คงศักดิ์ สังฆมานนท์)  ได้กล่าวถึง การพัฒนาห้องสมุดมนุษย์ (Human Library) และเครือข่ายห้องสมุดมนุษย์ในประเทศไทย (Thailand Human Library Network)  ความหมาย และความเป็นมา  จากแนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดมนุษย์

ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง:
ผศ.ดร.คงศักดิ์ สังฆมานนท์   เรื่อง  การพัฒนาห้องสมุดมนุษย์ (Human Library) และเครือข่ายห้องสมุดมนุษย์ในประเทศไทย (Thailand Human Library Network):จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ  โดมทัศน์ 32,1 (มกราคม-มิถุนายน 2555)

การประเมินผลการใช้Œสื่อมัลติมีเดีย THE SMART ของ ครูบรรณารักษในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร

ผู้เขียน (คุณวริศรา กาสา)  ได้กล่าวไว้ว่า  สื่อการเรียนรู้เป็นเครื่องมือช่วยถ่ายทอดความรู้Œ ความเข้าใจ ความรู้Œสึก เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์    กระตุ้Œนให้Œเกิดการพัฒนาศักยภาพในการคิด เสริมสรŒ้างคุณธรรม จริยธรรม และค่‹านิยมแก่‹ผู้Œเรียน ในขณะเดียวกันสื่อไม่ใช่‹ ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่สามารถแก้Œปั˜ญหา หรือนำมาใชŒ้ได้Œเลย  แต่ทุกอย่างยอมขึ้นอยู่กับผูŒ้สอนว่‹าจะมีวิธีการนำเสนออย่‹างไรให้Œผู้Œเรียนบรรลุวัตถุประสงค์ในการรับรู้ และผู้เรียนนำมาใช้ให้ได้ประโยชน์อย่างไร

ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง:
คุณวริศรา กาสา เรื่อง การประเมินผลการใช้Œสื่อมัลติมีเดีย THE SMART ของ ครูบรรณารักษในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร.        โดมทัศน์ 32,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2554)

วัฒนธรรมองค์กรกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของห้องสมุดมหาวิทยาลัย

เมื่อกล่าวถึงการพัฒนาองค์การในยุคปัจจุบัน วัฒนธรรมองค์กรเป็นศัพท์ที่ต้องกล่าวถึง เพราะว่ามีบทบาทสำคัญทางการบริหาร เป็นกรอบวิธีการปฏิบัติสำหรับบุคคลากรในองค์การ ที่นอกเหนือจาก กฎ ระเบียบที่บังคับใช้ในองค์การ วัฒนธรรมองค์กรจึงมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของคนในองค์การ ที่สะท้อนภาพ กระบวนการทางความคิด การวางแผนยุทธศาสตร์การตัดสินใจขององค์การว่าควรมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร และองค์การที่ต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วนั้น ต้องใช้วัฒนธรรมองค์กรเป็นตัวกำหนดทิศทางของการพัฒนาโดยใช้ทรัพยากรมนุษย์เป็นกลไกในการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ภายใต้บริบทที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในสังคมโลกห้องสมุดมหาวิทยาลัย ควรกำหนดวัฒนธรรมตนเองอย่างไรในภาวะปัจจุบัน  ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง:
สุกัญญา มกุฏอรฤดี  เรื่อง วัฒนธรรมองค์กรกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของห้องสมุดมหาวิทยาลัย. โดมทัศน์ 32,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2554)

ในหลวงของหนู

ได้อ่านบทความในวารสารโดมทัศน์เรื่อง ในหลวงของหนู แล้วรู้สึกชื้นใจกับความบริสุทธิ์ของเด็ก ๆ ที่มีความจริงใจ คิดอย่างไรก็แสดงออกอย่างนั้น  แค่คำถามที่ว่า หนูรู้จักในหลวงไหม หนูรักในหลวงไหม และ หนูอยากให้อะไรเป็นของขวัญในหลวงในวันเกิดท่าน คำตอบมากมายที่อ่านแล้วพวกคุณจะยิ้มและหัวเราะในความคิดของเด็ก ๆ ลองมาอ่านกันดูสิว่าเด็กเหล่านี้เขาคิดอะไร   

ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง:
ชูมาน ถิรกิจ . เรื่อง ในหลวงของหนู. โดมทัศน์  32  ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2554).

 

หลังวิกฤตน้ำท่วม 2554

สรุปความเสียหายหลังเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี พ.ศ. 2554 ทั้ง ห้องสมุดศูนย์รังสิต หอสมุดปรีดี พนมยงค์ และหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ การแก้ปัญหาการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ด้วยการนำ CONTENTdm ซึ่งเป็น software ที่ผลิตโดย OCLC มาใช้ในการจัดเก็บและบริหารจัดการข้อมูล digital

ติดตามข้อมูลรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง
กนกวรรณ บัวงาม. หลังวิกฤตน้ำท่วม 2554. โดมทัศน์  33,1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) : 3-31.

โรงเรียนลอยน้ำ Makoko Floating School

Makoko เป็นชุมชนแออัดริมทะเลสาบที่เมือง Lagos ประเทศ
Nigeria ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของทวีปแอฟริกาติดอาว Gulf of Guinea
สภาพคงคล้ายกับสลัมคลองเตยเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว ชาวบัานส่วนใหญ่
เป็นชาวประมงที่หากินกับทะเลสาบ สร้างบ้านใต้ถุนสูงบนที่ชายเลนด้วย
วัสดุตามแต่จะหาได้ในพื้นที่ ชุมชนนี้ไม่มีถนนที่รถยนต์เข้าได้ ไม่มีระบบ
สาธารณูปโภค ไม่มีแม้แต่แผ่นดินที่มั่นคงแข็งแรงจะอาศัยอยู้ ในฤดูที่ฝนตก
และมีพายุก็เสี่ยงที่จะพังลงมาเมื่อใดก็ได้ชุมชนนี้มีผู้อยู่อาศัยประมาณ
80,000 คน มีโรงเรียนประถมเพียงโรงเรียนเดียวซึ่งก็ไม่มีสภาพดีไปกว่า
บ้านเรือนโดยรอบเท่าใด ในปีค.ศ. 2011 ได้เกิดโครงการ Makoko
Floating School ขึ้น โดยความร่วมมือระหว่างบริษัท Nle (www.
nleworks.com) ซึ่งมี Kunle Adeyemi สถาปนิกชาวไนจีเรียที่ไปมี
ชื่อเสียงโด่งดังในยุโรปเป็นหัวหน้าทีม, United Nations Development
Programme (UNDP), และมูลนิธิ Heindrich Boell Foundation
ประเทศเยอรมนี เพื่อเป็นอาคารต้นแบบที่สามารถทนต่อพายุและ
นํ้าท่วมได้ ใช้วัสดุท้องถิ่นที่ราคาไม่แพง ได้รับการออกแบบให้ประหยัด
พลังงาน และมีระบบจัดการสภาพแวดล้อมที่กลมกลืนกับธรรมชาติ

ติดตามข้อมูลรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง:
โรงเรียนลอยน้ำ Makoko Floating School. โดมทัศน์ 33,1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) : 32-41.

หนอนน่ารัก

แนะนำการส่งเสริมการอ่าน หนอนหนังสือนอกจากอ่านแล้วยังมีการพบปะหน้าตา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน จะทำอย่างไรให้หนอนหนังงสือเพิ่มมากขึ้นๆ

ติดตามข้อมูลรายละเอียดได้ที่นี้

ายการอ้างอิง:
ชูมาน ถิระกิจ. หนอนน่ารัก.  โดมทัศน์ 33,1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) : 48-53.