การจัดการความรู้ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การจัดการความรู้ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็น 1 ใน 9 นิทรรศการที่นำเสนอในวันเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม 2558

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำบริการ ส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยสารสนเทศและเทคโนโลยีนำสมัย สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในระดับนานาชาติ  จึงใช้กลยุทธ์การจัดการความรู้ของบุคลากรในสำนักหอสมุดฯ เป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการ เพื่อให้บรรลุถึงวิสัยทัศน์ข้างต้น ดังนี้

  • การใช้ Blog ในการนำเสนอบทความด้วยการเล่าเรื่องทางวิชาการ การปฏิบัติงาน ประสบการณ์ต่างๆ แนวปฏิบัติที่ดี  เป็นต้น ผ่านการจัดหมวดหมู่และการทำดัชนี เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึง และยังได้เผยแพร่ความรู้เหล่านั้น สู่สาธารณะเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ห้องสมุด และบุคคลทั่วไปในวงกว้างต่อไปทาง http://main.library.tu.ac.th/km/
  • การสร้างชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) ได้แก่ Training the trainers และ Digital literacy  เพื่อฝึกทักษะให้กับบุคลากรจากผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่าในการเป็นวิทยากรที่ดีในการให้บริการและส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศต่อไป
  • การสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีในการส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ รวมทั้งการอบรมจากวิทยากรภายนอก เช่น การนำเสนออย่างทรงพลัง  Smart Click คลิกทันสื่อ เป็นต้น20141216-Presentation4
    การอบรมวิทยากรจากภายนอก
     

    คลิก Knowledge Management เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์  KM
    คลิก Knowledge Management เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ KM

    คลิก  Knowledge Management ที่หน้าเว็บไซต์สำนักหอสมุดฯ (http:// library.tu.ac.th/) หรือ http://main.library.tu.ac.th/km/  จะเข้าสู่เว็บไซต์การจัดการความรู้ของสำนักหอสมุดฯ

    ตัวอย่างผลงานบทความที่เผยแพร่

  • GUIDE TO WRITING ACADEMIC ARTICLES เป็นชุดเผยแพร่การเขียนทางวิชาการ
  • PATHFINDER เส้นทางการหาสารสนเทศ
  • PLAGIARISM AND HOW TO AVOID IT
  • OVERVIEW OF INFORMATION LITERACY RESOURCES WORLDWIDE
  • แหล่งสารสนเทศวิทยานิพนธ์
  • ALTMETRIC 100 อันดับแรกของผลงานทางวิชาการ ของปี 2014
  • การแนะนำการใช้ฐานข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ที่นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร ควรทราบเพื่อ การเรียน การสอน การศึกษา ค้นคว้า วิจัย
  • ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ปัจจุบัน มีบทความเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้สารสนเทศ มากกว่า 200 บทความ และมีจำนวนยอดผู้ชมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง