Tag Archives: หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

แม่น้ำโขง : จากต้าจู – ล้านช้าง – ตนเลธม ถึง กิ๋วล่อง (The Mekong : From Dza Chu – Lancang – Tonle Thom to Cuu Long)

แม่น้ำโขง
แม่น้ำโขง

แม่น้ำโขง : จากต้าจู – ล้านช้าง -ตนเลธม ถึง กิ๋วล่อง (The Mekong : From Dza Chu – Lancang – Tonle Tom to Cuu Long) บรรณาธิการ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ อัครพงษ์ ค่ำคูณ ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่

อยุธยา : ประวัติศาสตร์และการเมือง (Ayutthaya : History and Politics)

อยุธยา : ประวัติศาสตร์และการเมือง
อยุธยา : ประวัติศาสตร์และการเมือง

อยุธยา : ประวัติศาสตร์และการเมือง (Ayutthaya : History and Politics) ผู้เขียน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ บรรณาธิการ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์  เป็นการรวมบทความที่ผู้เขียนได้เขียนไว้ในโอกาสต่างๆ ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 2510 เป็นต้นมา ประกอบด้วย 2 ภาค ภาคแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และบุคคลสำคัญ ภาคที่สองเน้นการวิเคราะห์เรื่องเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของอยุธยา ติดตามอ่านได้ที่นี่ 

อยุธยา (Discovering Ayutthaya)

อยุธยา
อยุธยา

อยุธยา (Discovering Ayutthaya) บรรณาธิการ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ผู้เขียน กาญจนี ละอองศรี, ธีรภาพ โลหิตกุล, ภูธร ภูมะธน, ทรงยศ แววหงษ์, ธีรวัต ณ ป้อมเพชร, ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, ศุภรัตน์ เลิศพาณิชกุล, สายชล สัตยานุรักษ์, สุเนตร ชุตินธรานนท์ ฯลฯ คำนำโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ประกอบด้วยเรื่องราวในแง่มุมต่างๆ ของราชอาณาจักรอยุธยา เป็นเสมือน สารคดีท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ หรือ คู่มือนำเที่ยว ติดตามอ่านได้ที่นี่

นี่ เสียมกุก (Syam Kuk)

นี่ เสียมกุก
นี่ เสียมกุก

นี่ เสียมกุก (Syam Kuk) ผู้เขียน Bernard-Philippe Groslier ผู้แปล (ภาษาอังกฤษ) Benedict Anderson ผู้แปล (ภาษาไทย) กุลพัทธ์ มานิตยกุล, เอเลียต แฮร์ส และ อัครพงษ์ ค่ำคูณ บรรณาธิการแปล ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เชื่อต่อกันมาว่า เสียม คือ คนไทย แต่ผู้เขียน คือ ศาสตราจารย์ โกลิเยร์ มีข้อสรุปที่อาจแตกต่างกันไป ติดตามอ่านได้ที่นี่

อยุธยากับเอเชีย (Ayutthaya and Asia)

อยุธยากับเอเชีย
อยุธยากับเอเชีย

อยุธยากับเอเชีย (Ayutthaya and Asia) บรรณาธิการ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เป็นการรวมบทความที่เสนอในการสัมมนาทางวิชาการนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 ติดตามได้ที่นี่

From Japan to Arabia : Ayutthaya’s Maritime Relations with Asia

 

fromjapan_01
From Japan to Arabia : Ayutthaya’s Maritime Relations with Asia

From Japan to Arabia : Ayutthaya’s Maritime Relations with Asia บรรณาธิการ Kennon Breazeale คำนำโดย Yoneo Ishii และ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เป็นเรื่องเกี่ยวกับอาณาจักรอยุธยากับความสัมพันธ์ประเทศอาหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่

ห้องสมุดตามบ้าน (Home library)

พระราชนิพนธ์ เรื่อง โรมัญสัญจร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงขึ้นเมื่อครั้งเสด็จเยือนประเทศอิตาลีระหว่างวันที่ 3-16 เมษายน พ.ศ. 2531 เพื่อทรงร่วมเป็นกรรมการตัดสินหนังสือเด็กของ International Board on Books for Young People (IBBY) ณ เมืองโบโลญญา ด้วยความสนพระทัยในการส่งเสริมการอ่านและห้องสมุดเด็ก พระองค์ได้มีพระราชดำรัสถามคุณเพลลูสกี้ (Ms. Anne Pellewski) ผู้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินฯ ชาวอเมริกัน ให้อธิบายเรื่อง Home library หรือห้องสมุดตามบ้าน ซึ่งคุณเพลลูสกี้ไปจัด workshop ที่ไนจีเรีย ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี พระองค์ทรงบันทึก ดังนี้ [1]

“ระบบห้องสมุดแบบนี้ คือ การหัดให้ชาวบ้าน (ส่วนใหญ่เป็นพวกแม่บ้าน) ให้รู้จักเล่านิทาน เขาจัดเป็น workshop ประมาณ 5-7 วัน บรรยากาศไม่ให้เคร่งเครียดนักเป็นการคุยกันเล่น ไม่ต้องมีพิธีรีตองอะไร เขามีวิธีการ คือ ชาวบ้านจะรวบรวมหนังสือส่วนตัวหรือหนังสือที่มีผู้บริจาค หรืออาจจะยืมจากห้องสมุด แล้วป่าวประกาศให้คนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆ มาอ่านหนังสือกัน ผู้ที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์จะต้องมีเทคนิคในการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เล่าเรื่องให้เด็กสนใจอยากฟังและอยากอ่านต่อเอง เขาแนะนำให้ทำหนังสือขึ้นมาเอง โดยการนำเรื่องที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นมาเขียนบันทึกไว้” Continue reading ห้องสมุดตามบ้าน (Home library)

ร.5 เสด็จอินเดีย (India in 1872 : As seen by the Siamese)

ร.5 เสด็จอินเดีย (India in 1872 : As seen by the Siamese) ผู้เขียน ดร.สาคชิตอนันท สหาย แปลโดย กัณฐิกา ศรีอุดม บรรณาธิการโดย ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์  การเสด็จอินเดียในปี พ.ศ. 2414 เป็นรากฐานสำคัญในการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน การดูงาน 47 วันในอินเดีย ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้แบบอย่างสำหรับประเทศสยาม ติดตามอ่านได้ที่นี่ 

พระศรีมหาโพธิ์ จากชมพูทวีปสู่สุวรรณภูมิ (Bodhi : As the Tree of Knowledge from Jambudvipa to Suvannabhumi)

พระศรีมหาโพธิ์ จากชมพูทวีปสู่สุวรรณภูมิ (Bodhi : As the Tree of Knowledge from Jambudvipa to Suvannabhumi) ผู้เขียน สุจิตต์ วงษ์เทศ, เผ่าทอง ทองเจือ, สุรีย์ ภูมิภมร, อัครพงษ์ ค่ำคูณ, พระภิกษุณีธัมมนันทา บรรณาธิการ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ  พระศรีมหาโพธิ์ เป็นความพยายามที่จะอธิบายและให้ความรู้แห่งความเลื่อมใสศรัทธา ต่อสัญลักษณ์การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าสืบเนื่องมากว่า 2,500 ปี ติดตามอ่านได้ที่นี่

การอุดมศึกษาในญี่ปุ่น : ความรุ่งเรืองและความล้มเหลว (Higher Education in Japan : Its Take-off and Crash)

japaneseeducation_01 (1)

การอุดมศึกษาในญี่ปุ่น : ความรุ่งเรืองและความล้มเหลว (Higher Education in Japan : Its Take-off and Crash) ผู้เขียน นางามิ มิชิโอะ (Nagai Michio) แปลโดย ชนิดา รักษ์พลเมือง เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางการศึกษาของญี่ปุ่นในอดีต จนถึงการเป็นสังคมอุตสาหกรรม ถือเป็นบทเรียนสำหรับประเทศไทยในช่วงที่เริ่มปฏิรูปทางการศึกษา สามารถติดตามรายละเอียดที่นี่