Service Foremost

วันนี้ไปงานเลี้ยงมุทิตาจิตของอาจารย์ที่เคารพท่านหนึ่ง อาจารย์เป็นผู้ที่ให้แนวทางในการให้บริการผู้ที่เข้ามาขอใช้บริการที่เป็นหลักๆ อยู่ 2 ข้อ คือ Service Foremost และอย่าให้โทรศัพท์ที่โทรเข้ามา ดังเกิน 2 ครั้ง จะต้องรับทันที เพราะเป็นเรื่องของการให้บริการ พวกเราที่ตอนนั้นเป็นอาสาสมัคร ใช้คำสอนหลักๆ ในการให้บริการมาโดยตลอด และคิดว่าใช้ได้กับทุกบริการค่ะ ไม่ว่าจะเป็นงานบริการแบบใด

งานบริการของห้องสมุดก็เช่นเดียวกันค่ะ หรืออาจจะเป็นงานอื่นๆ ก็สามารถนำไปปฏิบัติได้ค่ะ เพราะคนที่มาขอความช่วยเหลือหรืองาน/ฝ่าย ที่มาขอความช่วยเหลือจากเรา ก็ถือว่า เป็นลูกค้าของเราเหมือนกัน เป็นลูกค้าภายใน ไงคะ ส่วนผู้ใช้บริการ เช่น นักศึกษา อาจารย์ หรือบุคลากรอื่น คือ ลูกค้าภายนอก รวมกับจิตใจที่เปี่ยมด้วยบริการ หรือ Service mind ด้วยแล้ว ผู้ที่มารับบริการจากเรา จะได้รับความอิ่มเอมใจกลับไปอย่างแน่นอนค่ะ

คำคม ในแวดวงห้องสมุด บรรณารักษ์ และความรู้

ค้นพบคำคมที่มีผู้พูดถึงห้องสมุด บรรณารักษ์ และเรื่องความรู้ ไว้หลายเว็บไซต์ทีเดียว เช่น

  • Quotations about libraries ใน Welcome to the Quotes Garden ! เข้าถึงได้ที่ http://www.quotegarden.com/libraries.html ตัวอย่างเช่น
    – When I got my library card, that’s when my life began. ~Rita Mae Brown
    – If you have a garden and a library, you have everything you need. ~Cicero
  • Chicago Public Library Foundation เข้าถึงได้ที่ http://www.cplfoundation.org/site/DocServer/quotes.pdf?docID=221 ตัวอย่างเช่น
    – I’d be happy if I could think t hat the role of the library was sustained and even enhanced in the age of the computer.”—Bill Gates
  • IFLA จาก Quotations bout Libraries and Librarians: Subject List เข้าถึงได้ที่ http://archive.ifla.org/I/humour/subj.htm ตัวอย่างเช่น
    – A university is just a group of buildings gathered around a library
    — Shelby Foote
  • Top Ten Quotations about Libraries, Books and Knowledge เข้าถึงได้ที่ http://www.love-funny-quotes.com/2010/12/top-ten-quotations-about-libraries.html ตัวอย่างเช่น
    – “When I read about the way in which library funds are being cut and cut, I can only think that … society has found one more way to destroy itself.” Isaac Asimov
  • Council for Library and Information Development Nepal รวบรวม Famous Library Quotes เข้าถึงได้ที่ http://clidnepal.org.np/content/famous-library-quotes.html ตัวอย่างเช่น
    – The true university these days is a collection of books.- Thomas Carlyle
  • Library quotes จาก http://thinkexist.com/quotes/with/keyword/library/ ตัวอย่างเช่น
    – “Knowing I loved my books, he furnished me,
    From mine own library with volumes that
    I prize above my dukedom.” – William Shakespeare
  • จาก http://marylaine.com/exlibris/cool.html ตัวอย่างเช่น
    – Google doesn’t try to force things to happen their way. They try to figure out what’s going to happen, and arrange to be standing there when it does. That’s the way to approach technology– and as business includes an ever larger technological component, the right way to do business. — Paul Graham. “Web 2.0.” November, 2005. http://www.paulgraham.com/web20.html
  • จาก http://www.goodreads.com มีการรวบรวมคำคมทั้งบรรณารักษ์ และห้องสมุด แยก page ออกจาก คำคมเกี่ยวกับห้องสมุดอยู่ที่ http://www.goodreads.com/quotes/tag/libraries?page=1 ส่วนคำคมเกี่ยวกับบรรณารักษ์อยู่ที่ https://www.goodreads.com/quotes/tag/librarians เว็บไซต์มีรูปภาพของคนพูดประกอบไว้ด้วย ตัวอย่างเช่น
    – “In a good bookroom you feel in some mysterious way that you are absorbing the wisdom contained in all the books through your skin, without even opening them.” ― Mark Twain
  • Library Quotes จาก http://www.ilovelibraries.org/libraryquotes/libraryquotes เว็บนี้เป็นฐานข้อมูลเลยทีเดียวสนใจติดตามอ่านกันได้เลยค่ะ

    ท่านใดพบคำคมใด มาแบ่งปันกันนะคะ

 

 

บรรณารักษ์อยู่ในลำดับที่ 38 จาก 200 อาชีพที่น่าทำ

จากเว็บไซต์ http://www.careercast.com ได้วิเคราะห์ข้อมูลจากอาชีพต่างๆ จากการจัดอันดับ 200 อันดับ (http://www.careercast.com/jobs-rated/jobs-rated-2014-ranking-200-jobs-best-worst) โดยใช้เกณฑ์ 4 ประการในการวัด คือ สภาพแวดล้อม รายได้ ความก้าวหน้า และความกดดัน (http://www.careercast.com/jobs-rated/2014-jobs-rated-methodology) พบว่า บรรณารักษ์อยู่ในลำดับที่ 38 จาก 200 ค่ะ

ส่วนอาชีพที่น่าทำ ลำดับที่ 1-10 ได้แก่

งานที่น่าทำที่สุด (Best jobs) 10 อันดับแรก ได้แก่
1. นักคณิตศาสตร์ (Mathematician)
2. อาจารย์มหาวิทยาลัย (University professor)
3. นักสถิติ (Statistician)
4. นักวิเคราะห์ข้อมูลประกันภัย (Actuary)
5. นักโสตบำบัด (Audiologist)
6. ผู้ชำนาญการทันตกรรม (Dentist hygienist)
7. วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software engineer)
8. นักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer systems analyst)
9. นักกายภาพบำบัด (Occupational therapist)
10. นักบำบัดการพูด (Speech pathologist)

เป็นการอ้างอิงจากการจัดลำดับของต่างประเทศ แต่เมืองไทยต้องสืบค้นดูว่ามีการลำดับแบบนี้บ้างหรือไม่ อย่างไร และอาชีพบรรณารักษ์ จะอยู่ในลำดับที่เท่าไร
รายการอ้างอิง:

The Top 200 Jobs of 2014. Retrieve 2014-06-04 from http://www.careercast.com/content/top-200-jobs-2014-21-40

ว่าด้วยเรื่องของ DOI – ตัวระบุวัตถุดิจิทัล

ถ้าหากจะให้อธิบายอย่างรวบรัดที่สุดแล้ว DOI นั้นก็คือตัวระบุหนึ่งเช่นเดียวกับเลข ISSN และเลข ISBN ที่เราท่านน่าจะรู้จักกัน คือถูกใช้เพื่อจำแนกวัตถุหนึ่งออกมาจากกลุ่มของวัตถุ หรือก็คือเพื่อจำแนกแยกแยะวัตถุต่างๆออกจากกัน และยังสามารถใช้ DOI ร่วมกับตัวระบุเดิมอย่าง ISBN และ ISSN ได้อีกด้วย

banner-413

ระบบของตัวระบุวัตถุดิจิทัล หรือ (The digital object identifier – DOI®) นั้นเป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานในการจำแนกแยกแยะวัตถุต่างๆให้แตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยคำว่า digital object identifier นั้น มีความหมายไปในเชิงที่ว่าเป็น “ตัวระบุดิจิทัลของวัตถุ (digital identifier of an object)” มากกว่าที่จะเป็น “ตัวระบุของวัตถุดิจิทัล (identifier of a digital object)”

ระบบ DOI นั้นถูกออกแบบมาเพื่อการทำงานผ่านอินเทอร์เน็ต โดยกำหนดเลข DOI หนึ่งหมายเลขให้แก่วัตถุหนึ่งรายชื่อโดยถาวร เพื่อใช้เลข DOI นี้ในการเชื่อมโยงจากลิงค์ไปยังข้อมูลที่เป็นปัจจุบันของวัตถุนั้น ซึ่งรวมไปถึงจุดที่วัตถุชิ้นนั้นอยู่, ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุนั้น หรือแม้กระทั่งว่าวัตถุนั้นยังพบบนอินเทอร์เน็ตได้หรือไม่

ในขณะที่ข้อมูลของวัตถุเปลี่ยนได้ตลอดเวลา เลข DOI นั้นจะไม่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามเลข DOI จะถูกแก้ไขโดยระบบในกรณีที่ต้องกำหนดค่าให้แก่ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับวัตถุที่ถูกระบุโดยเลข DOI นั้น เช่น URL, อีเมล์, ตัวระบุอื่นๆ และคำอธิบายรายละเอียดของข้อมูล (metadata)

โดยขอบเขตของระบบ DOI นั้นจะอิงกับฟังก์ชันการทำงานที่กำหนดและบริบทของการใช้งาน ซึ่งก็คือการทำงานกับแอปพลิเคชั่นของเครือข่าย DOI เพื่อการระบุวัตถุอย่างชัดเจน เที่ยงตรง และละเอียด เพื่อคำอธิบายรายละเอียดของข้อมูล และเพื่อการทำงานแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน

 

รายการอ้างอิง

International DOI Foundation. (2013, November 13). DOI Handbook Introduction. Retrieved
September 26, 2014, from http://www.doi.org/doi_handbook/1_Introduction.html

กิจกรรมส่งเสริมการรู้สารสนเทศ ระบบบริหารจัดการและตรวจสอบวิทยานิพนธ์ (MyCat)

สรุปกิจกรรมส่งเสริมการรู้สารสนเทศ

เรื่อง ระบบบริหารจัดการและตรวจสอบวิทยานิพนธ์ (MyCat)

เดือน กันยายน 2557 สำนักหอสมุดจัดกิจกรรมให้แก่เจ้าหน้าที่  อาจารย์ และนักศึกษา  คณะต่างๆ  ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จำนวน  5 ครั้ง ดังนี้

3 กันยายน 2557 เวลา 10.00-12.00 น.

สถาบันภาษา ณ  ห้องคอมพิวเตอร์ ชั้น 4 สถาบันภาษา

16 กันยายน 2557 เวลา 11.00-12.30 น.

คณะนิติศาสตร์ ณ ห้องประชุมจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์

16 กันยายน 2557 เวลา 18.30-21.30 น.

โครงการปริญญาโททางการตลาด MIM คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ณ ห้อง 413 ตึกคณะ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี

20 กันยายน2557 เวลา 16.15-18.15 น.

โครงการปริญญาโทสาขาการบริหารจัดการสาธารณะ คณะรัฐศาสตร์ ณ ห้องศูนย์ประมวลข้อมูล ชั้น      4 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

27 กันยายน 2557 เวลา 10.00-12.00 น.

โครงการ MBA คณะพาณิชย์ฯ ณ  ห้องคอมพิวเตอร์ 413 ชั้น 4

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี


20140920_164120 20140920_164109 20140920_160745

20140920_160619

 

 

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการวางแผนกลยุทธ์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

การสัมมนาบุคลากรเพื่อการวางแผนกลยุทธ์
การสัมมนาเพื่อการวางแผนกลยุทธ์

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย ผู้บริหารและคณะกรรมการดำเนินงาน สำนักหอสมุด และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติ เรือง การวางแผนกลยุทธ์ ระหว่างวันที่ 28-30 กันยายน 2557 ที่ โรงแรมริเวอร์ไซด์ สวนสามพราน จังหวัดนครปฐม เพื่อทบทวนแผนกลยุทธ์ของสำนักฯ เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนา และเพื่อนำผลการพิจารณา ข้อคิดเห็นจากคณะกรรมการดำเนินงาน สำนักหอสมุด ไปจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติราชการประจำปีต่อไป

ระดมสมองกัน
ระดมสมองกัน
เริ่มได้แผนฯ
เริ่มได้แผนฯ
เตรียมนำเสนอ
เตรียมนำเสนอ

การประชุมวิชาการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การประชุมวิชาการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดอย่างต่อเนื่องมาทุกปี ตั้งแต่ปี 2550 ขอรวบรวมข้อมูลการประชุมดังกล่าว ดังนี้  (เรียงจากปีล่าสุด)

การประชุมวิชาการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2558 เรื่อง คิดใหม่ ทำใหม่ บรรณารักษ์ยุคใหม่ (Librarianship: the Next Generation)  ระหว่างวันที่ 2-4 กันยายน 2558 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ

เนื้อหา แบ่งออกเป็น 2 ช่วง กล่าวคือ เป็น Pre-conference 1 วัน และ Conference จำนวน 2 วัน โดยในปีนี้เป็นการจัดในลักษณะที่เป็น Workshop

วันที่ 2 กันยายน เป็น Pre-Conference เรื่อง การปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Process Improvement)

วันที่ 3 และ วันที่ 4 ประกอบด้วยหัวข้อจำนวน 4 หัวข้อ หัวข้อละ 3 ชั่วโมง ในรูปแบบของสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (workshop)  ได้แก่

1.  Applied Mind Map for KM

2.  Memory Techniques for 21st Century

3.  Service Design Essential

4.  Activities for Brain Training Continue reading การประชุมวิชาการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Overview of Information Literacy Resources Worldwide

International Information Literacy Logo
International Information Literacy Logo

ภาพจาก http://www.ifla.org/files/assets/information-literacy/Logo/new-ils-logo-79.jpg

United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO) หรือ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)  ในฐานะองค์กรที่มีบทบาทในการสร้างความตระหนักในการเรียนรู้ การรู้สารสนเทศ (Information Literacy – IL) ได้จัดทำหรือรวบรวมสารสนเทศสำคัญทาง IL ขึ้นจากแหล่งสารสนเทศ IL ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก  ภายใต้ชื่อว่า “Overview of Information Literacy Resources Worldwide” ซึ่งมีประโยชน์สำหรับการศึกษา การวิจัย และเป็นการสร้างความตระหนักให้เกิดกับคนทั่วไปและผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลาย พื้นฐานและเชื้อชาติ ท่านที่สนใจติดตามอ่านได้ที่

http://www.unesco.org/new/fileadmin/MULTIMEDIA/HQ/CI/CI/pdf/news/overview_info_lit_resources.pdf

 

แหล่งสารสนเทศวิทยานิพนธ์

การค้นหาวิทยานิพนธ์สามารถสืบค้นได้จากหลายแหล่งสารสนเทศ บางแหล่งฟรี บางแหล่งต้องเป็นสมาชิก

เริ่มต้นง่ายๆ สืบค้นจากฐานข้อมูลในห้องสมุด (Library catalogue) ของมหาวิทยาลัยก่อนขยับมาควรค้นจาก IR (Institutional repositories) ของมหาวิทยาลัย ซึ่งห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ดำเนินการกันอยู่ แหล่งนี้เป็นวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์

อีกแหล่งคือ Thai Digital Collection (TDC) ของ สกอ. หรือจะใช้ UC (Union Catalog) ของประเทศไทยคู่กับ OAIster ซึ่งเป็นสหบรรณานุกรม (Union Catalog) เช่นกัน ด้วยจำนวนระเบียนที่มากกว่า 30 ล้านระเบียน

ในส่วนของ IR ควรจะได้สืบค้นจาก IR ของประเทศอื่นๆ ด้วยเช่นกัน เพราะ IR จะเป็นแหล่งที่รวบรวมคลังความรู้ ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งมักจะรวมวิทยานิพนธ์ด้วย เช่น

Continue reading แหล่งสารสนเทศวิทยานิพนธ์

Koha in Thailand

จาก Koha Newsletter 5,7 (July 2014) ลงข่าวสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปลี่ยนการใช้ระบบห้องสมุดเชิงพาณิชย์มาเป็น Koha โดยถือโอกาสการเฉลิมฉลองมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครบรอบ 80 ปี เปิดตัวการใช้ระบบดังกล่าว เพื่อรองรับการให้บริการใน 4 วิทยาเขต ความสำเร็จในการย้ายระบบไป Koha ดังกล่าวนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ตั้งแต่การเตรียมความพร้อม การจัดอบรม) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ด้านโครงสร้างพื้นฐาน) บริษัท ปันสาร เอเซีย จำกัด (ในการติดตั้งและพัฒนาระบบ) และบริษัท Wiserf Technologies (ในการถ่ายโอนข้อมูล)

 

บรรณานุกรม:

Pongtawat Chippimolchai. Koha in Thailand! Koha Community Newsletter: July 2014. Retreived 8 July, 2104 from http://koha-community.org/koha-community-newsletter-july-2014/