หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มธ.ศูนย์รังสิต (Puey Ungphakorn Library)

 

คลิปแนะนำ หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มธ.ศูนย์รังสิต (ภาษาไทย)

Puey Ungphakorn Library (English Version)

คู่มือการใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha ในโมดูลต่างๆ

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดทำคู่มือการใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha ในโมดูลต่างๆ  เพื่อเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์การใช้งานระบบห้องสมุดดังกล่าว โดยมีรายละเอียดของแต่ละโมดูล ดังนี้

 

 

หลักเกณฑ์การลงรายการเมทาดาทาสิ่งพิมพ์ประเภท ดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ หรือการค้นคว้าอิสระ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดทำหลักเกณฑ์การลงรายการเมทาดาทาสิ่งพิมพ์ประเภท ดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ หรือการค้นคว้าอิสระ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขึ้นเพื่อใช้เป็นคู่มือในการลงรายการเมทาดาทาสำหรับเอกสารประเภทดังกล่าว โดยกำหนดการลงตามมาตรฐานดับลินคอร์ (Dublin Core) รวมทั้งกำหนดการลงรายการเมทาดาทาในไฟล์ วิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยเช่นกัน

รายละเอียดของหลักเกณฑ์การลงเมทาดาทาฯ

เลขหมู่ระบบใหม่ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปรับกระบวนการทำงานในการกำหนดเลขหมู่หนังสือเพื่อให้สามารถทำตัวเล่ม ออกให้บริการโดยเร็ว และเพื่อสะดวกในการเข้าถึงหนังสือ รวมทั้งเพื่อง่ายต่อผู้ปฏิบัติงานในการจัดเรียงหนังสือบนชั้น โดยจำแนกหมวดหมู่ตามสาขาวิชาของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ทั้งสาขาวิชาหลัก และสาขาวิชาย่อย 61 สาขาวิชา เลขหมู่ระบบใหม่จะประกอบด้วย อักษรย่อสาขาวิชา อักษรหมวดในสาขาวิชา ปีพิมพ์ และหมายเลขระเบียนของทรัพยากรสารสนเทศ (คือ หมายเลขระเบียนบรรณานุกรมหรือ Bib No.)

ตัวอย่าง

EDU  หมายถึง  สาขาวิชาหลัก

LA      หมายถึง  สาขาวิชาย่อ History of Education

2014  หมายถึง  ปีพิมพ์

699999  หมายถึง  Bib.No.

รายละเอียดการกำหนดเลขหมู่ใหม่

ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 16 (The 16th Congress of Southeast Asian Librarians – CONSAL XVI 2015)

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 7 สิงหาคม 2557 นายเอนก สีหามาตย์ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานการแถลงข่าวการจัดประชุมสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 16 (The 16th Congress of Southeast Asian Librarians – CONSAL XVI 2015) ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 10-13 มิถุนายน 2558 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม BITEC โดยมีศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต นายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ และ นางสาวกนกอร ศักดาเดช รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ ร่วมในการแถลงข่าวครั้งนี้ด้วย

ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมดังกล่าวขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมพรรษา 60 พรรษา โดยหอสมุดแห่งชาติและสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกันเป็นเจ้าภาพ โดยมีหัวข้อของการประชุมครั้งนี้ว่า “ความมุ่งหวังอาเซียน : ห้องสมุดเพื่อความก้าวหน้าที่ยั่งยืน” (ASEAN Aspirations : Librarians for Sustainable Advancement) เพื่อต้อนรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ข้อมูลการประชุมสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักหอสมุดแห่งชาติ โทร. 0 2628 5192 หรือที่ www.consalxvi.org

อนึ่ง การเป็นเจ้าภาพการประชุมสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นี้ ประเทศไทยเคยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมมาแล้ว 2 ครั้ง คือ

ครั้งที่ 4 เรื่อง Regional cooperation for the Development of National Information Services ระหว่างวันที่ 5-9 มิถุนายน พ.ศ. 2521 กรุงเทพมหานคร (5-9 June 1978)

ครั้งที่ 9 เรื่อง Future Dimensions and Library Development ระหว่างวันที่ 2-7 พฤษภาคม 2536 กรุงเทพมหานคร ( 2-7 May 1993)

รายการอ้างอิง:

กรมศิลปากร. กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์. ประเทศไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพการประชุมสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 16 The 16th Congress of Southeast Asian Librarians (CONSAL XVI 2015. สืบค้นเมื่อ วันที่ 7 สิงหาคม 2557 จาก http://www.finearts.go.th/promotion/ข่าวกรมศิลปากร-2/item/ประเทศไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพการประชุมสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้-ครั้งที่-๑๖-the-16th-congress-of-southeast-asian-librarians-consal-xvi-2015.html

Set up Knowledge-based ใน WorldCat Local

WorldCat_Logo_H_Color

Set up Knowledge-based ใน WorldCat Local โดย คุณสมยศ กาญจนพิบูลย์ บริษัท แอ้ดวานซ์ มีเดีย ซัพพลายส์ จำกัด  วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2556 เวลา 9.00-11.30 น. ณ ห้องส่งเสริมการรู้สารสนเทศ 1 ชั้น U1 หอสมุดปรีดี พนมยงค์  สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

เอกสารประกอบการบรรยาย

RDA กับการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ: กรณีสำนักงานหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน

RDA กับการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ: กรณีสำนักงานหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน โดย ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ วันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2556 เวลา 9.30-15.30 น. ณ ห้องส่งเสริมการรู้สารสนเทศ 1 ชั้น U1 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

เอกสารประกอบการบรรยาย

WordShare ILL : การยืมระหว่างห้องสมุดผ่านระบบ OCLC

ตามที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปิดตัว WordShare ILL ไปเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2557 นั้น บริการดังกล่าวเป็นการบริการยืมระหว่างห้องสมุดที่เราคุ้นเคยกันนั่นเอง แต่เป็นการระหว่างห้องสมุดของสมาชิกในเครือข่าย OCLC ทั่วโลก การจะให้บริการยืมดังกล่าวได้ สมาชิกจะต้องนำข้อมูลทางบรรณานุกรมของห้องสมุดเข้าในระบบ OCLC นับเป็นห้องสมุดในประเทศไทยแห่งแรกที่เริ่มเปิดการให้บริการดังกล่าว

เมื่อผู้ใช้ของสมาชิกในเครือข่ายสืบค้นรายการที่ต้องการแต่ปรากฏอยู่ในห้องสมุดแห่งอื่นๆ สามารถติดต่อห้องสมุดเพื่อขอสำเนาเอกสารหรือวัสดุอื่นๆ ได้ โดยปฏิบัติตามระเบียบการยืม ซึ่งเป็นการตกลงร่วมกันระหว่างห้องสมุดผู้ให้ยืมและห้องสมุดผู้ขอยืม ผ่านระบบส่วนกลางของ OCLC ทำให้ห้องสมุดในเครือข่ายสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ โดยมีระบบการคิดค่าใช้จ่ายที่ตั้งค่าในส่วนของค้าใช้จ่ายต่างๆ อย่างชัดเจนเป็นสากลทั้งในฝั่งที่เป็นผู้ให้ยืม และผู้ขอยืม มีความปลอดภัยในเรื่องลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ เอกสาร หรือเอกสารออนไลน์ต่างๆ ทาง OCLC จะเป็นตัวกลางในการทำ Contact Publisihng อีกทั้งยังมีระบบ Article Exchange ที่สามารถส่งไฟล์เอกสารได้ขนาดที่มากถึง 60 MB รองรับทุกนามสกุลและจะลบโดยอัตโนมัติหากมีการแล้วใน 5 วัน และถ้ายังไม่ได้เปิดอ่าน ระบบจะเก็บไว้ 30 วัน ในส่วนของระบบ Article sharing นั้น ระบบเอื้อให้สามารถแบ่งปันการใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ได้อีกด้วย รวมทั้งมีระบบขอยืมAutomatic Deflection สำหรับกรณีที่มีผู้ต้องการยืมมากกว่า 1 แห่ง ห้องสมุดแห่งที่ 1 ไม่สามารถให้ยืมได้ ระบบจะดำเนินการหาห้องสมุดแห่งต่อไปให้โดยอัตโนมัติ และมีการจัดทำรายงานสรุปในภาพรวมเพื่อการวางแผนในการบริหารจัดการสารสนเทศต่อไปได้

รายการอ้างอิง:

OCLC. บริการยืมระหว่างห้องสมุดผ่านระบบ (OCLC Interlibrary Loan Service). [2557] (เอกสารสำเนาแจกในงานเปิดตัวห้องสมุดดิจิทัลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 26 มิถุนายน 2557)

ธรรมศาสตรานุกรม 80 ปี

ธรรมศาสตรานุกรม
                                          ธรรมศาสตรานุกรม

ธรรมศาสตรานุกรม 80 ปี รวบรวมเหตุการณ์ต่างๆ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วงปี พ.ศ. 2477-2557 และนับจากการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองในปี พ.ศ.2477 มหาวิทยาลัยก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษา อันเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญตามหลักหกประการของคณะราษฎร ที่ว่าด้วย “จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร” และนับแต่นั้นมา ประวัติศาสตร์ลและเรื่องราวของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงไม่อาจแยกขาดจากสังคมไทย หนังสือเล่มนี้ จึงได้รวบรวมเหตุการณ์สำคัญทางสังคมการเมืองของไทยเข้าไว้ด้วย โดยนำเสนอเนื้อหาตามลำดับเวลา