Tag Archives: การศึกษา

การศึกษาไทยมีแอบแฝงยาพิษ 8 อย่าง

รศ. ดร.วรากรณ์  สามโกเศศ ชี้การศึกษาไทยมีแอบแฝงยาพิษ 8 อย่าง อันตรายเทียบได้กับ “ปรอท” เพราะให้เด็กไทยตายลงช้าๆ ซึ่งต้องแก้ปัญหาร่วมกันทั้งครู พ่อแม่ สังคม และสื่อ พร้อมเสนอว่าทักษะวิชาชีพ และทักษะ 4C จะช่วยให้เด็กไทยปลอดยาพิษ ในงาน 100 ปี ชาตกาล ศ. ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 6 “การศึกษากับยาพิษแอบแฝง” ณ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ติดตามรายละเอียดได้ที่ http://thaipublica.org/2015/09/varakorn-14-9-2558/

 

ก่องแก้วก่อเกื้อการศึกษา เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 (หนังสือเฉลิมพระเกียรติฯ 60 พรรษา 2 เมษายน 2558)

ก่องแก้วก่อเกื้อการศึกษา
ก่องแก้วก่อเกื้อการศึกษา

ก่องแก้วก่อเกื้อการศึกษา เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558  เป็นหนังสือจัดพิมพ์เป็นอักษรไทยควบคู่กับอักษรเบรลล์ ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วันที่ 2 เมษายน 2558 เนื้อหาเป็นพระราชกรณียกิจอันทรงคุณค่าในการพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดพิมพ์เป็นอักษรเบรลล์สำหรับผู้พิการทางสายตา และคนปรกติสามารถอ่านได้ พร้อมคลิปเสียงสามารถเปิดฟังได้ทั้งเล่ม

หนังสือเล่มนี้ มีคณะทำงานประกอบด้วย กิ่งไผ่ เอกคณาปราชญ์  พงศกร รุจินิยมกุล และ สิทธิศักดิ์ สาลีผล  และมีประพีร์พรรณ ภาณวะวัฒน์ เป็นผู้เรียบเรียงและเสียงบรรยาย

คลิปเสียงของหนังสือ
คลิปเสียงของหนังสือ

รายการอ้างอิง
ก่องแก้วก่อเกื้อการศึกษา เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558.  กรุงเทพฯ : ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อคนตาบอด : วัฒนาพานิช.

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่ 105)

60 พรรษา เทพรัตนราช ปราชญ์ศึกษา

60 พรรษา เทพรัตนราช ปราชญ์ศึกษา
60 พรรษา เทพรัตนราช ปราชญ์ศึกษา

60 พรรษา เทพรัตนราช ปราชญ์ศึกษา เป็นปฏิทินที่จัดทำขึ้นโดย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสพระชนมายุครบ 60 พรรษา วันที่ 2 เมษายน 2558 โดยในแต่ละเดือนจะอัญเชิญพระราชนิพนธ์ พระราโชวาท พระราชดำรัส ปาฐกถา ฯลฯ เกี่ยวกับการศึกษา (พร้อมแหล่งที่มา) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพและปรีชาสามารถทางด้านการศึกษา เช่น

เดือนกุมภาพันธ์
“… ทางไปสู่เกียรติศักดิ์มิใช่ทางอันราบเรียบและหอมหวลประดุจประดับด้วยสุคันธมาลา แต่เป็นทางที่เต็มไปด้วยอุปสรรค อันบุคคลอาจชนะได้ด้วยกำลัง ซึ่งหมายถึงทั้งกำลังกายและใจที่ประกอบด้วยพละ คือ ธรรมอันเป็นกำลัง 5 ประการ คือ ศรัทธา ความเชื่อ วิริยะ ความเพียร สติ ความระลึกได้ สมาธิ ความตั้งใจมั่น และปัญญ คือ ความรอบรู้…”

เดือนพฤษภาคม
“… ข้าพเจ้าได้จดบันทึกมาเก็บไว้เพื่อทราบว่าวันหนึ่งๆ ข้าพเจ้าได้รับความรู้ใหม่อะไรบ้าง ความทรงจำนี้เป็นของที่ระลึกที่มีค่ามากกว่าของอื่น จะได้จดจำไว้เล่าให้ลูกหลานฟังยามแก่เฒ่า ถ้ามีโอกาสจะได้นำมาปรับปรุงใช้ในประเทศของเราบ้าง …”

เดือนมิถุนายน
“… หน้าที่ของหอสมุดฯ คือ สิ่งเสริมความก้าวหน้าในการพัฒนาด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และด้านจิตใจของชาติ ให้การศึกษามวลชนถึงอุดมการณ์ของชาติ เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมในหมู่ประชาชน…”

รายการอ้างอิง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2558. 60 พรรษา เทพรัตนราช ปราชญ์ศึกษา. (ปฏิทิน).

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่ 94)

รางวัล Princess Maha Chakri Award

เหรียญรางวัล
เหรียญรางวัล

รางวัล Princess Maha Chakri Award หรือ “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี” เป็นรางวัลที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานชื่อรางวัล เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2549 ให้เป็นรางวัลนานาชาติ และให้คุรุสภาเป็นหน่วยงานในการดำ เนินการ

การมอบรางวัล Princess Maha Chakri Award ยกย่องเชิดชูเกียรติครูผู้ทุ่มเทปฏิบัติงานและมีผลงานดีเด่นอันก่อให้เกิดคุณประโยชน์ต่อการศึกษา และการพัฒนาคนในวงกว้าง ในกลุ่มประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ รวม 11 ประเทศๆ ละ1 รางวัล กำ หนดให้รางวัลทุก 2 ปี รางวัลประกอบด้วย เหรียญรางวัล ประกาศนียบัตร และเงินรางวัล รางวัลละ 10,000 เหรียญสหรัฐ

รายการอ้างอิง

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. รางวัล Princess Maha Chakri Award. สารคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์งานคุรุสภา 7 มีนาคม 2557.

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  57)

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อโรงเรียนในชนบท

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของโรงเรียนในชนบท (ทรสช.) เป็นโครงการตามพระราชดำริ เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เพื่อพัฒนาศักยภาพของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสโดยเฉพาะโรงเรียนในชนบท ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอซีที เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ กิจกรรมในโครงการฯ ครอบคลุม ในด้านการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน การสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ เนื้อหา และสื่อ การพัฒนาศักยภาพครู และผู้บริหาร นักเรียน และการประยุกต์ใช้ไอซีทีเพื่อจัดการเรียนรู้: เพื่อให้ครูสามารถประยุกต์ใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้

รายการอ้างอิง:
โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. ไอซีทีเพื่อการศึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2558 จาก http://www.princess-it.org/project/iteducation/edltv/39-project-hrhit/itforeducation.html

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  35)

การอุดมศึกษาในญี่ปุ่น : ความรุ่งเรืองและความล้มเหลว (Higher Education in Japan : Its Take-off and Crash)

japaneseeducation_01 (1)

การอุดมศึกษาในญี่ปุ่น : ความรุ่งเรืองและความล้มเหลว (Higher Education in Japan : Its Take-off and Crash) ผู้เขียน นางามิ มิชิโอะ (Nagai Michio) แปลโดย ชนิดา รักษ์พลเมือง เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางการศึกษาของญี่ปุ่นในอดีต จนถึงการเป็นสังคมอุตสาหกรรม ถือเป็นบทเรียนสำหรับประเทศไทยในช่วงที่เริ่มปฏิรูปทางการศึกษา สามารถติดตามรายละเอียดที่นี่

วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานพระราชดำริแก่มหาวิทยาลัยมหิดลเกี่ยวกับการจัดตั้งสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อสนับสนุนและให้โอกาสด้านประกอบอาชีพ ตลอดจนเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนพิการ ทรงพระราชทานพระนาม “ราชสุดา” สำหรับชื่อวิทยาลัย

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  15 )

การอ่านเพื่อความพร้อมในการเป็นพลเมืองอาเชียน

เมื่อวันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 ได้เข้าร่วมฟังบรรยาย เรื่อง การอ่านเพื่อความพร้อมในการเป็นพลเมืองอาเซียน ณ ห้องประชุม 7-10 อาคารห้องสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต วิทยากรในวันนั้น คือ คุณวรพันธ์ อุไรรัตน์ กรรมการผู้จัดการบริษัทสถาพรบุ๊คส์ จำกัด และอดีตนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

ประเด็นของการพูด ก็คือ ทำอย่างไรจะให้เด็กไทยอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น เพราะถ้าจะว่าไปแล้วความสามารถของประเทศไทยก็ไม่ได้ด้อยกว่าประเทศในแถบอาเซียน วิทยากรได้อ้างข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลกสิกรไทยโดยเปรียบเทียบไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ในหัวข้อต่างๆ ดังนี้

  • อันดับความสามารถในการแข่งขันของไทย หากปรียบเทียบกับประเทศในอาเซียนยังเป็นรองสิงคโปร์และมาเลเซีย แต่สูงกว่าอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
  • สถานะการแข่งขันของไทยลดลงมาเป็นลำดับ         ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่มีการพัฒนาในทิศทางที่ดีขึ้น โดยอุปสรรคที่สำคัญของไทยคือ การพัฒนาด้านการศึกษา เทคโนโลยีและนวัตกรรม ปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง รวมทั้งประสิทธิภาพของกลไกภาครัฐ
  • สิ่งที่ไทยต้องปรับปรุงเพื่อขีดความสามารถในการแข่งขัน                ต้องเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ เทคโนโลยีและสารสนเทศ  ศักยภาพของคน และเครือข่ายธุรกิจตลอดจนสร้างความโปร่งใสของกลไกรัฐ

แอบหวังเล็กๆ จากอาเซียน

แอบหวังว่าผู้นำหรือพรรคการเมืองแต่ละชาติ ในอาเซียนจะมีนโยบายร่วมกัน สนับสนุนให้ประชาชนใช้พลังงานจากธรรมชาติ จากแสงแดด น้ำ หรือลม ให้เป็นจริงเป็นจัง และมากกว่าการใช้ก๊าซหรือถ่านหินซึ่งนับวันจะหมดไป หรือนิวเคลียร์ เป็นต้น เช่น รัฐซื้อโซลาร์เซลล์ราคาต้นทุนมาขายให้กับประชาชนในแต่ละครัวเรือน เพื่อจะได้ใช้พลังงานราคาถูกได้ในระยะยาว โดยไม่ต้องง้อน้ำมัน ถ่านหินหรือก๊าซอย่างทุกวันนี้ (ซึ่งอยากจะขึ้นก็ขึ้น อยากจะลงก็ลง อันนี้ไม่แน่ใจนักแต่แอบหวังไว้สูง) Continue reading แอบหวังเล็กๆ จากอาเซียน

ห้องประชุมกลุ่มย่อย (Study room )

ห้อง Study room เป็นบริการหนึ่งของหอสมุดปรีดี  พนมยงค์ที่ให้แก่นักศึกษา นักวิจัย อาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในการศึกษาค้นคว้า วิจัย ประชุมกลุ่มย่อย และบางครั้งอาจารย์ก็มาใช้เป็นห้องเรียนเพื่อสอนหนังสือแก่นักศึกษาที่เป็นกลุ่มเล็กประมาณ 10 คน

หอสมุดปรีดี พนมยงค์มีห้อง Study room  บริการอยู่ชั้น U 2 มีห้องใหญ่ 3 ห้อง  ห้องเล็ก 5 ห้อง  ชั้น U3 มีห้องใหญ่ 4 ห้อง ห้องเล็ก 4 ห้อง  ห้องใหญ่สามารถให้บริการนักศึกษาได้ถึง 10 คน และห้องเล็กบริการนักศึกษาได้ถึง 4 คน  การขอใช้บริการนั้น  นักศึกษาต้องมาขอแบบฟอร์มเพื่อเขียนรายการการขอใช้พร้อมให้บัตรประจำตัวประชาชนและบัตรนักศึกษาทุกคน
เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบความถูกต้องคืนบัตรนักศึกษาเก็บบัตรประชาชนไว้และให้กุญแจห้องแก่นักศึกษาไปเปิดห้องเอง เมื่อเลิกใช้ห้องนักศึกษาจะต้องนำกุญแจมาคืนเจ้าหน้าที่คืนบัตรประจำตัวประชาชนให้ บุคคลภายนอกไม่มีสิทธิขอใช้ห้อง Study room

การขอใช้ห้องผู้รับบริการต้องติดต่อขอใช้ห้องได้ที่ห้องวัสดุลักษณะพิเศษ 2 ชั้น U 1 เวลาเปิดบริการ

วันจันทร์-วันศุกร์ 8.00-20.30 น.

วันเสาร์-วันอาทิตย์8.00-20.30น.

ปิดตามวันหยุดนักขัตฤกษ์